ประกาศข่าวประชาสัมพันธ์ ทุกองค์ความรู้ เกิดขึ้นจากความเชื่อและศรัทธา นำไปสู่การแสวงหาพระเครื่องมาเพื่อสะสมและบูชา

วันจันทร์ที่ 12 มีนาคม พ.ศ. 2561

ประวัติพระผงสุพรรณ

พระผงสุพรรณ เป็นยอดพระเครื่องฯ ในชุดเบญจภาคีที่มีค่าเป็นอันดับหนึ่ง ในเมืองสุพรรณ แต่ปัจจุบันนี้หาได้ยาก (มีของปลอมจำนวนมาก )


ตำนานการสร้าง
ตำนานการสร้างพระผงสุพรรณนั้น ท่านอาจารย์กลิ่น วัดจักรวรรดิ์ ฯ จังหวัดพระนคร ได้บอกเล่าว่าท่านมหาชื้น วัดจักรวรรดิ์ ฯ เป็นผู้ตัดต่อจากลานทอง ที่ปรางวัดพระธาตุ อำเภอเมือง จังหวัดสุพรรณบุรี เมื่อปี พ,ศ ๒๔๕๓ มีใจความดังนี้ คือ

ศุภมัสดุ ๑๒๖๕ สิทธิการิยะแสดงบาทไว้ให้รู้ว่ามีฤาษีพิลาลัยเป็นประธาน เราจะทำด้วยฤทธิ์ ทำเครื่องประดิษฐ์มีสุวรรณ เป็นต้น คือ พระบรมกษัตริย์ พระศรีธรรมาโศกราชเป็นผู้ศรัทธา ฤาษีทั้ง ๔ ตน จึงพร้อมใจกันนำเอาแร่ว่านทั้งหลายอันมีฤทธิ์กับแร่ต่างๆ ครั้งได้แล้วพระฤาษี จึงอันเชิญเทพยดา เข้ามาช่วยกันทำพิธีเป็น พระพิมพ์สถานหนึ่ง สถานหนึ่งแดง ได้เอาว่านทำผงปั้นพิมพ์ด้วยลายมือ พระมหาเถรปิยทัสสะดิสศรีสาริบุตร คือเป็นใหญ่ เป็นประธานในที่นั้น ได้อาแร่ต่างๆ ซัดยาสำเร็จแล้วให้นามว่า “แร่สังฆวานร “ ได้หล่อเป็นพิมพ์ต่างๆ มีอานุภาพต่างๆกัน เสกด้วยมนต์คาถาครบ ๓ เดือน แล้วเอาไปประดิษฐานไว้ในสถูปใหญ่แห่งเมืองพรรธม ถ้าผู้ใดได้พบให้รีบเอาไปสักการบูชาเป็นของวิเศษนักแล ฯ

กรุแตกเมื่อปี พ. ศ. ๒๔๕๖
นาย พิน ฯ ได้เล่าว่า ในปี พ. ศ ๒๔๕๖ สมัยนั้นตนยังเป็นเด็กลูกวัดอยู่ ต่อมาได้มีพระดงค์รูปหนึ่งมาถามแกว่า วัด “พระธาตุไปทางไหน” นายพิน ฯ ก็ชี้บอกทางให้ ครั้งภายหลัง นายพินฯ จึงมาทราบว่าพระธุดงค์รูปนั้นได้ลายแทงมาขุดหาสมบัติ ของสำคัญได้ผอบทองคำไปใบหนึ่ง และมิได้นำอะไรไปจากกรุเลย แต่ชาวจีนที่พระธุดงค์จ้างมาขุด กับได้พระเครื่องฯ ต่างๆไปเป็นอันมาก อาทิเช่นพระผงสุพรรณ พระกำแพงศอก ฯลฯ แล้วนำออกเร่ขาย ความทราบถึงเจ้าหน้าที่ฝ่ายบ้านเมืองก็รีบไปจัดการอุดช่องที่เจาะพระปรางค์วัดพระศรีรัตนมหาธาตุเสีย

ในปี พ.ศ.๒๔๕๖ (ปีเดียวกับกรุแตก ) พระยาสุนทรบุรี (อี้ กรรณสูต ) ผู้ว่าราชการจังหวัด ได้นำเสด็จพระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัวไปเปิดกรุได้พบลายแทงแผ่นลายเงิน-ทอง จารึกอักษรขอม
ครั้งต่อมาพระยาสุนทรบุรี ได้นำเอาพระผงสุพรรณ ขึ้นถวายตลอดจนพระเครื่อง ฯ กรุพระปรางค์วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ แด่ล้นเกล้า ฯ ร. ๖

อภินิหาร
สมัยก่อนโน้น ชาวเมืองสุพรรณนิยม กีฬาชนควาย พนันกัน เอาเงินเอาทองและเล่นกันมาก ประจวบกับในระหว่างนั้น พระผงสุพรรณนั้นมีมาก และไม่มีมูลค่า(ราคาของเงิน )เหมือนเช่นปัจบันนี้ จึงได้นำเอาพระผงสุพรรณองค์ที่แตกหัก ไปป่นให้ละเอียด ผสมคลุกกับหญ้าให้ควายกิน แล้วนำควายไปชนกัน ปรากฏว่า ควายที่กินเศษผงพระผงสุพรรณเข้าไป ขวิดได้ดีมาก และหนังเหนียวเสียด้วย เป็นที่อัศจรรย์ยิ่งนัก

วิธีการอาราธนา-การใช้
ให้เอาพระผงสุพรรณสรงน้ำหอม นั่งบริกรรม พุทธคุณ, ธรรมคุณ, สังฆคุณ ๑๐๘ จบ สวดพาหุง ๓ จบ
ให้เก็บน้ำมันหอมไว้ใช้ได้เสมอ และถ้าจะให้เพิ่มความขลังให้ว่าบทดังนี้อีกกลั้นลมหายใจให้เป็นสมาธิเพื่อความขลังยิ่งขึ้นว่า คะเต ลิก เก กะระณังมะหา ชัยยังมังคะลัง นะมะพะทะ กิริมิติ กุรุมุธุ เกเรเมเถ กะระมะถะ ประสิทธิ์นักแลฯ

ลักษณะพระผงสุพรรณ
- กรอบ เป็นรูปสามเหลี่ยม ยอดตัด ( ตัดด้วยตอก )ตลอดจนขอบข้าง
- แบบชนิดคล้ายพระนางพญาก็มี แต่มีน้อยมาก พระวรกาย เป็นพระพุทธรูป ศิลป์สมัยอู่ทอง
- แบบพิมพ์ที่มารตฐาน มี ๓ แบบคือ พิมพ์หน้าแก่ พิมพ์หน้ากลาง และ พิมพ์หน้าหนุ่ม
- พระเกศ ซ้อนกัน ๓ชั้น พระกรรณ หย่อนยาน ปลายพระกรรณซ้ายหักเข้ามุมใน ต้นของพระกรรณติดกับพระเศียร คล้ายหูแพะ พระอุระ คล้ายหัวช้าง พระอุทร แฟบ ด้านหลังจะปรากฏรอยนิ้วมือเกือบทุกองค์
- พระผงสุพรรณ มีสีที่แตกต่างกัน ถึง ๔ สี คือ ๑ สีดำ ๒ สีแดง ๓ สีเขียว ๔ สีพิกุลแห้ง

**พระพุทธคุณนั้น ใช้ดีในทางเมตตามหานิยม คงกระพัน ตลอดจน แคล้ว และคงกระพันชาตรี**


พระผงสุพรรณ
พระผงสุพรรณ กรุวัดพระศรีรัตนมหาธาตุ สุพรรณบุรี
พระผงสุพรรณ เป็นพระเครื่องที่พบในกรุวัดพระศรีรัตนมหาธาตุ จ.สุพรรณบุรี เป็นพระเครื่องเนื้อดินเผา จำลองพุทธลักษณะองค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้าในลักษณะการปางมารวิชัย แบ่งแยกแม่พิมพ์ได้เป็นพิมพ์หน้าแก่ พิมพ์หน้ากลาง และพิมพ์หน้าหนุ่ม (สมัยโบราณเรียกพิมพ์หน้าหนู)

พระผงสุพรรณ พิมพ์หน้าหนุ่ม
เอกลักษณ์พระผงสุพรรณ

องค์พระประทับนั่งปางมารวิชัย บนฐานเชียงชั้นเดียว พระเกศคล้ายฝาละมี มีกระจังหน้า พระพักตร์เคร่งขรึม พระนาสิกหนาใหญ่ พระอุระหนา ส่วนพระการทอดเรียว แสดงออกถึงศิลปะสกุลช่างอู่ทองที่เน้นความละม้ายคล้ายคลึงกับมนุษย์มากที่สุด ด้วยเหตุนี้ เมื่อพบพิมพ์พระ ๓ ประเภท จึงเรียกชื่อตามลักษณะพระพักตร์และตามศิลปะสกุลช่างแห่งพระพุทธรูปที่พระพักตร์เหี่ยวย่นเหมือนคนแก่ เรียกว่า พิมพ์หน้าแก่ ที่พระพักตร์อิ่มเอิบเรียวเล็ก ปราศจากรอยเหี่ยวย่น เรียกว่าพิมพ์หน้าหนุ่ม พิมพ์หน้าหนุ่มพิมพ์หน้าหนุ่ม พิมพ์หน้ากลางพืมพ์หน้ากลาง พิมพ์หน้าแก่ พิมพ์หน้าแก่

พระผงสุพรรณ พิมพ์หน้ากลาง

การสร้างและมวลสาร
พระผงสุพรรณ เป็นพระเครื่องที่มีส่วนผสมวัสดุมวลสารจากดินละเอียด ว่าน และเกสรต่าง ๆ คนโบราณเรียกว่า “พระเกสรสุพรรณ” จะสังเกตได้ว่าเนื้อดินของพระผงสุพรรณเป็นเนื้อดินค่อนข้างละเอียด หากเปรียบเทียบกับพระนางพญากรุวัดนางพญา จ.พิษณุโลก แล้วจะเห็นว่าเนื้อพระผงสุพรรณจะละเอียดกว่า แต่ไม่ละเอียดมากเหมือน พระรอดกรุวัดมหาวัน จ.ลำพูน ซึ่งดินที่ใช้เป็นดินในบริเวณจังหวัดสุพรรณบุรี ซึ่งดินแต่ละที่จะมีเอกลักษณ์ไม่เหมือนกัน สำหรับปัญหาที่ว่า หากผสมว่านเมื่อพระผ่านการเผา มวลสารของว่านจะไม่สามารถทนอุณหภูมิความร้อนได้ ต้องย่อยสลายไปนั้น หากพิจารณาแล้วในองค์พระผงสุพรรณก็ไม่ปรากฏโพรงอากาศอันเกิดจากการย่อยสลายของเนื้อว่าน แต่อย่างใดนั้น ต้องพิจารณาถึงกรรมวิธีการสร้างพระของโบราณาจารย์เป็นสำคัญว่า มีหลายวิธี วิธีประการหนึ่งซึ่งพบหลักฐานในการนำว่านผงเกสรมงคล ๑๐๘ มาเป็นวัตถุมงคลในการสร้างพระ ได้แก่ การนำหัวว่านมงคลต่าง ๆ มาคั้นเอาน้ำว่านเป็นส่วนผสมเข้ากับมวลสารอื่น ๆ ซึ่งจะพบว่าพระผงสุพรรณนั้นมีความหนึกนุ่ม และซึ้งจัด หากได้โดนเหงื่อโคลนแล้ว ยิ่งขึ้นเป็นมันเงางามอย่างที่คนโบราณเรียกว่า “แก่ว่าน” ซึ่งได้แก่การคั้นน้ำว่านผสมลงไป ดังนั้น เมื่อผ่านการเผาจึงมิได้เกิดการย่อย สลายของเนื้อ

และเนื่องจากพระผงสุพรรณเนื้อดินเป็นพระที่ผ่านการเผาไฟ สีสันขององค์พระจึงเป็นเฉกเช่นเดียว กับพระเนื้อดินที่ผ่านการเผาประเภทอื่น ๆ คือ มีตั้งแต่สีเขียวที่ถูกเผาในอุณหภูมิสูงและนานที่สุด สีแดง สีมอย สีน้ำเงินเข้ม สีเทา ไปจนถึงสีดำ


พระผงสุพรรณ พิมพ์หน้าแก่

การเผาโดยวิธีควบคุมอุณหภูมิส่งผลให้พระผงสุพรรณมีสภาพความแกร่งคมชัด ไม่หักเปราะง่าย แม้จะผ่านกาลเวลาเป็นนาน คนโบราณ จะใช้วิธีสังเกตสีของเปลวไฟที่ลุกไหม้ เป็นหลักในการควบคุมอุณหภูมิการเผาจากการวิเคราะห์ทางวิทยาศาสตร์พบว่า

- ไฟที่มีสีแดงจัดจ้า อุณหภูมิประมาณ ๘๐๐ องศาเซนเซียส
- ไฟที่มีสีแดงธรรมดา อุณหภูมิประมาณ ๘๘๐ องศาเซนเซียส
- ไฟสีส้ม อุณหภูมิประมาณ ๙๕๐ - ๑๑๐๐ องศาเซนเซียส
- ไฟสีนวล อุณหภูมิประมาณ ๑,๓๐๐ องศาเซนเซียส
- ไฟสีเขียว อุณหภูมิประมาณ ๑,๓๐๐ - ๑,๔๐๐ องศาเซนเซียส

พระผงสุพรรณ จะใช้วิธีการเผา โดยควบคุมอุณหภูมิที่ ๑๑๐๐ - ๑๓๐๐ องศาเซนเซียส องพระจะแกร่งส่วนใหญ่จะมีสีแดง ส่วนสีอื่น ๆ ขึ้นอยู่กับการถูกความร้อนมาก - น้อย ต่าง ๆ กัน (ขอบคุณข้อมูลของ อิทธิปาฏิหารย์พระเครื่อง)

เหตุที่เรียกว่า “ผงสุพรรณ”ทั้งๆที่เป็นพระเนื้อดิน เนื่องจากการค้นพบจารึกลานทองกล่าวถึงการสร้างจากผงว่านเกสรดอกไม้อันศักดิ์สิทธิ์ จึงได้รับการเรียกขานกันว่า “ผงสุพรรณ”เรื่อยมา สามารถจำแนกได้เป็น ๓ พิมพ์

๑. พระผงสุพรรณ พิมพ์หน้าแก่
๒. พระผงสุพรรณ พิมพ์หน้ากลาง
๓. พระผงสุพรรณ พิมพ์หน้าหนุ่ม

วันศุกร์ที่ 9 มีนาคม พ.ศ. 2561

พระหลวงพ่อปาน

พระหลวงพ่อปาน พิมพ์ทรงหนุมาน นั้น ปรากฏพุทธคุณทางด้านการปกครอง แคล้วคลาด และคงกระพันชาตรี จึงเหมาะอย่างยิ่งสำหรับ ข้าราชการ ทหาร และตำรวจ

พระหลวงพ่อปาน พิมพ์ทรงหนุมาน ยังแบ่งแยกพิมพ์ย่อยออกไปอีก เป็น พระหลวงพ่อปาน พิมพ์ทรงหนุมานใหญ่, พระหลวงพ่อปาน พิมพ์ทรงหนุมานเล็ก หาวเป็นดาวเป็นเดือน และ พระหลวงพ่อปาน พิมพ์ทรงหนุมานแบกแท่น ซึ่งในแต่ละพิมพ์ก็จะมีจุดตำหนิการพิจารณาที่แตกต่างกันไป



พระหลวงพ่อปาน พิมพ์ทรงหนุมานใหญ่ มีจุดชี้ตำหนิดังนี้
✨ องค์พระประธานแลดูล่ำสัน
✨พระเกศจะเป็นตุ่มนูน เกยพาดเส้นซุ้มด้านบน
✨ มีเส้นพิมพ์แตกที่ตัว ‘อะ’ ทางด้านขวาขององค์พระ รูปร่างคล้ายนกบิน และเส้นพิมพ์แตกจากขอบแม่พิมพ์โค้งขึ้นไปชนหัวตัว ‘อะ’
✨ ด้านซ้ายขององค์พระ ปลายหางตัว ‘มะ’ จะต่อติดกับพระกรรณ และมีเส้นต่อโค้งไปชนกับขอบแม่พิมพ์ด้านซ้ายมือขององค์พระ
✨ องค์ที่ติดชัด ที่หน้าหนุมาน จะสังเกตเห็นเส้นลากจากดั้งจมูกลงมาล้อมขอบตา
✨ นิ้วหัวแม่มือด้านซ้ายของหนุมานจะแหลมคมคล้ายหนาม และปลายนิ้วมือแอ่นโค้งชนเส้นขอบแม่พิมพ์
✨ เส้นขอบแม่พิมพ์ด้านล่างขวามือขององค์พระแกะเกิน และมีเนื้อเกินในวงกลมเล็ก - ปลายนิ้วเท้าด้านขวาของหนุมานจิกลงเชื่อมต่อกับเส้นปลายผ้า


ส่วน พระหลวงพ่อปาน พิมพ์ทรงหนุมานเล็ก หาวเป็นดาวเป็นเดือน หนุมานจะมีรูปร่างเล็กกว่าพิมพ์ใหญ่ และทำท่าทางคล้ายเหาะเหินในอากาศ สำแดงอิทธิฤทธิ์อ้าปากกว้างเหมือนกำลังหาว เป็นดาวเป็นเดือน การพิจารณาตำหนิแม่พิมพ์ มีดังนี้
✨ องค์พระประธานบอบบางกว่าพิมพ์ใหญ่
✨ พระเกศมาลาอยู่ห่างจากเกล้าพระเมาลี
✨ ลำพระองค์ทั้งสองด้านจะผายออกและเว้าโค้งด้านล่างปรากฏชัดเจน - หัวตัว ‘อุ’ ด้านขวาขององค์พระมีเส้นแตกเป็นขีด
✨ด้านข้างของตัว ‘มะ’ ทางด้านขวาขององค์พระจะมีเส้นแตกเฉียงลางๆ
✨ มุมขยักที่ตัว ‘อุ’ ด้านซ้ายขององค์พระเป็นเส้นขีดแหลมยาว
✨ กลีบบัวล่างกลีบที่ 2 ทางด้านขวาขององค์พระ จะเป็นกลีบเส้นคู่ขนาน
✨ ศีรษะด้านหลังของหนุมานจะมีติ่งแหลมคมและชัด
✨ หางหนุมานยาวจรดส้นเท้าขวา
✨ ระหว่างขาทั้งสองของหนุมาน จะมีตุ่มนูนอยู่ที่พื้น

 เหลือ พระหลวงพ่อปาน พิมพ์ทรงหนุมานแบกแท่น ติดตามดูจุดชี้ตำหนิแม่พิมพ์ได้ที่นี่

ที่มา : โดย อ.ราม วัชรประดิษฐ์

การดูพระหลวงพ่อปาน วัดบางนมโค
✨1.จำพิมพ์ให้แม่นจำก่อนครับ
✨2.มารู้จักกรรมวิธีการสร้าง
✸2.1 เตรียมดินพระท่านมีการกรองดินครับ
✸2.2 เอากรวดทรายเม็ดใหญ่ๆออก
✸2.3 กดพิมพ์ ก่อนกดโรยแป้งที่พิมพ์ สังเกตุองค์ที่สวยสมบูรณ์มีคราบแป้งให้เห็นครับ
✸2.4 ปาด จะสังเกตุได้คือด้านหลังจะมีรอยปาดอาจจะบนลงล่างหรือล่างขึ้นบนก็ได้ มีทุกองค์ **ข้อสังเกตุหลัก** เม็ดทราย ขาวๆเล็กที่เหลือจากการกรองดิน มีให้เห็นตามรอยปาด
✸2.5 รู ด้านบนนั้นคือการเสียบเอาออกจากพิมพ์ไปเผา
✸2.6 เผา เอาเข้าเตาเผาสำคัญคือถ้ารอยอุดผงเป็นเนื้อเดียวกันกับพระ อุดแล้วเผา (เก๊ครับ)
✸2.7 อุดผง ลำดับสุดท้ายครับ

แบ่งปันความรู้  โดย อ. ยศ พลับพลาชัย

วันพุธที่ 7 มีนาคม พ.ศ. 2561

ผู้นิยมพระเครื่องและพระแท้ พระปลอม พระอนุรักษ์

ขอเขียนเพื่อความรู้ ให้ผู้ที่สนใจ ได้รับรู้ เกี่ยวกับผู้นิยมพระเครื่อง พระบูชา เพื่อเป็นแนวทางว่าตนเองเป็นอย่างไร ขอแบ่งประเภทได้ตามนี้


✨1.เซียนพระ ผู้ที่มีความชำนาญ มีประสบการณ์ ในการดูพระเครื่อง รูปร่าง ลักษณะของพระเครื่องที่ตนศึกษามาอย่างดี แบ่งเป็น 2 กลุ่ม
1.1 กลุ่มสะสม เน้นให้ความรู้กับผู้ที่ศึกษาและสะสม ใหม่ ตามความรู้ ที่ตนเองมี เป็นครูผู้สอนให้เซียนรุ่นหลัง
1.2 กลุ่มสะสมและให้เช่าบูชา กลุ่มนี้เน้นเรื่อง ศึกษาพระเพื่อสร้างรายได้ให้กับตนเอง กลุ่มนี้มักไม่ได้ให้คำแนะนำที่เปิดเผยทั้งหมด เพราะต้องการพระมาเก็บสะสมไว้ในราคาถูกและปล่อยเช่าบูชาในราคาที่แพง




✨2.ผู้นิยมสะสมและอนุรักษ์ พระเครื่อง พระบูชา แบ่งเป็น
2.1 กลุ่มนิยมสะสม พระที่เป็นที่นิยมทั่วไป เน้นพระแท้ แบบพิมพ์สวยงาม ส่วนใหญ่เป็นพระมีราคาแพงๆ
2.2 กลุ่มนิยมสะสม พระที่ตนเองชื่นชอบ ทั้งพระเก่า พระใหม่ มักไม่เลือกเฉพาะเจาะจงว่าจะเป็นพระอะไร ขึ้นอยู่ที่ความพอใจเป็นหลัก แต่ขอให้เป็นพระแท้ที่รู้ที่มาของแหล่งกำเนิด เก็บสะสมเพื่อบูชา
2.3 กลุ่มนิยมสะสม เพื่อพุทธบูชา ชอบก็เก็บสะสมเอาไว้ อาจไม่ได้ศึกษาถึงรายละเอียดเกี่ยวกับรูปแบบลักษณะของพระแท้ ที่มีแหล่งกำเนิดที่แน่นอน
2.4 กลุ่มนิยมสะสมใหม่ เริ่มศึกษาและหาพระมาเก็บเอาไว้ อาจเพื่อบูชา หรืออื่นๆเพื่อเรียนรู้ หาประสบการณ์ก้าวต่อไป

✨3.ผู้นิยมตามกระแส เกิดความอยากที่จะสะสมหรือสะสมเพื่อเอาไว้ปล่อยเช่าบูชา เพราะคิดว่าอาจจะพบเจอพระดี พระแท้ ราคาแพง ที่สามารถหาเช่าได้ในราคาถูกและปล่อยขายได้ในราคาแพง บางคนอยากจะเป็นแบบเซียนพระ



พระแท้ พระปลอม พระอนุรักษ์
นิยามของคำว่า พระแท้ แบ่งเป็น 2 อย่าง
1.พระแท้ ที่มุ่งเน้นในเรื่องแบบพิมพ์ เนื้อมวลสาร ของพระเครื่องแบบพิพม์นิยมสากล ที่คนส่วนใหญ่นิยมสะสม ถ้าไม่ใช่ คือไม่ใช่พระแท้ ผู้นิยมสะสม เรียกว่า พระแท้แบบมาตราฐานสากล
2.พระแท้ ที่สร้างจากที่อื่น เกจิอื่น แต่อาจมีการเลียนแบบพิมพ์ เนื้อมวลสาร มีทั้งระบุที่แหล่งกำเนิด และไม่ระบุแหล่งกำเนิด ถ้าเน้นแบบที่ 1 ไม่ทราบแหล่งกำเนิด เรียกว่า พระปลอม แต่ถ้าระบุแหล่งกำเนิดหรือเกจิผู้สร้าง อาจเรียก พระอนุรักษ์ เพราะสร้างขึ้นที่หลังเลียนแบบ พระที่เป็นที่นิยม

พระอนุรักษ์ พระที่สร้างขึ้นภายหลัง มีทั้งเลียนแบบเหมือน หรือไม่เหมือนพระที่เป็นที่นิยม ระบุแหล่งกำเนิดผู้สร้าง หรือพอทราบแหล่งกำเนิดผู้สร้าง

พระปลอม  พระที่ มีผู้ทำเลียนแบบพระที่นิยม เพื่อหวังผลทางด้านการขายทำกำไร ไม่ผ่านพิธีการปลุกเศก มีทั้งเลียนแบบ พิมพ์  เนื้อมวลสาร  ทั้งใกล้เคียง และไม่ใกล้เคียง