ประกาศข่าวประชาสัมพันธ์ ทุกองค์ความรู้ เกิดขึ้นจากความเชื่อและศรัทธา นำไปสู่การแสวงหาพระเครื่องมาเพื่อสะสมและบูชา

วันพุธที่ 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2561

พระสมเด็จฯตามบันทึกหลวงปู่คำ วัดอัมรินทร์

การย่อเนื้อหาบันทึกของหลวงปู่คำ วัดอัมรินทร์ ในส่วนที่เกี่ยวกับการสร้างพระสมเด็จฯ

หลวงปู่คำมีความใกล้ชิดกับเจ้าประคุณสมเด็จฯโต วัดระฆังโฆษิตาราม เจ้าประคุณสมเด็จฯโต เรียกท่านว่าหลวงพี่ ท่านไปช่วยเจ้าประคุณสมเด็จฯโตทำพระสมเด็จอยู่เสมอ และอยู่จนท่านเจ้าประคุณสมเด็จฯโต สั่งเสียการจัดงานเอาไว้ก่อนมรณภาพ หลวงปู่คำ วัดอัมรินทร์ ได้จดบันทึกเรื่องราวต่างๆเอาไว้ และมีบางส่วนที่เกี่ยวข้องกับการสร้างพระสมเด็จฯ ซึ่งขอย่อเนื้อหาใจความ เพื่อให้อ่านและเข้าใจง่ายขึ้น

พิมพ์พระสมเด็จทรงนิยมที่ชาวบ้านทั่วไปรู้จัก
✨พิมพ์ที่ ๑ ทรงพระประธาน มี ๕ พิมพ์ ๆ คะแนน ๑ พิมพ์
✨พิมพ์ที่ ๒ ทรงชายจีวร มี ๑๕ พิมพ์ ๆ คะแนน ๒ พิมพ์
✨พิมพ์ที่ ๓ อกร่องหูยานฐานแซม มี ๓ พิมพ์ ๆ คะแนน ๑ พิมพ์
✨พิมพ์ที่ ๔ เกศบัวตูม มี ๔ พิมพ์ ๆ คะแนน ๑ พิมพ์
✨พิมพ์ที่ ๕ ปรกโพธิ์มีพิมพ์ที่ไม่แตกมี ๕ พิมพ์ ๆ คะแนน ๑ พิมพ์
✨พิมพ์ที่ ๖ ฐานคู่มีพิมพ์ที่ไม่แตก มี ๓ พิมพ์ ๆ คะแนน ๑ พิมพ์
✨พิมพ์ที่ ๗ เส้นด้าย มี ๑๕ พิมพ์ ๆ คะแนน ๒ พิมพ์
✨พิมพ์ที่ ๘ สังฆาฏิ มี ๗ พิมพ์ ๆ คะแนน ๑ พิมพ์
✨พิมพ์ที่ ๙ หน้าโหนกอกครุฑ มี ๑๖ พิมพ์ ทั้งพิมพ์ใหญ่
✨พิมพ์ที่๑๐ พิมพ์ทรงเจดีย์ มี ๒ พิมพ์ ๆ คะแนน ๑ พิมพ์

 พิมพ์ที่ไม่นิยมที่สร้างก่อนสร้างสมเด็จพระผง และเป็นพระพิมพ์แรกของท่านสมเด็จโตสร้าง
✨พิมพ์ ถ้ำชา มีสร้างประมาณ ๕,๐๐๐ องค์ เข้ากรุ ๓,๐๐๐ องค์ ที่วัดโพธิ์ บางประอิน และพิมพ์หลวงพ่อโต เข้ากรุวัดพิตเพียน หรือวัดกุฏีทอง จ.อยุธยา

พิมพ์ที่ทำจำนวนน้อยที่สุด เนื่องจากพิมพ์แตกก่อน
✨พิมพ์ ไกเซอร์ มีประมาณ ๕๐๐ องค์ เป็นพระที่มีสวยงามที่สุด ทำยากที่สุด ทำขึ้นเพื่อนำขึ้นถวาย ร.๕ ก่อนเสด็จประพาสยุโรป และแจกให้กับเจ้านายชั้นผู้ใหญ่ ที่ตามเสด็จ ลักษณะเด่น องค์พระนั่งบนบัว ๕ กลีบ คลิกอ่านรายละเอียดพิมพ์ไกเซอร์

พิมพ์พระผงที่ทำครั้งแรก
✨พิมพ์ ทรงเจดีย์ ทำขึ้นหลังจากที่กลับจากธุดง มีที่ วัดบางขุนพรหมนอก  วัดอินทร์ และวัดลครทำหรือวัดเจดีย์นอน เท่านั้น

พิมพ์ที่สร้างขึ้นตามที่ชาวบ้านขอให้สร้าง
✨พิมพ์ที่ทำเหมือนพิมพ์ไกเซอร์ เป็นพิมพ์เล็กกว่า
✨พิมพ์ล้อพิมพ์ไกเซอร์ เป็นการเลียนแบบ ขนาดเท่ากับพิมพ์ไกเซอร์ ข้อแตกต่าง องค์พระนั่งบนอาสนะ ๓ ชั้น เรียกว่าพิมพ์เศียรบาตร แต่ครั้งแรกเซียนพระเข้าใจว่าเป็นพิมพ์ไกเซอร์

พิมพ์พระสมเด็จที่สวยงามที่สุด
✨เป็นพิพม์ที่ ขุนหลวงวิจารย์เจียนัย หรือเจ้าสัวเฮง ทำแบบพิมพ์มาให้สมเด็จโต จำนวน ๙ พิมพ์ ได้แก่ พิมพ์พระประธาน  ทรงชายจีวร  เส้นด้าย

การเปิดกรุพระสมเด็จฯครั้งแรก เมื่อปี พ.ศ.๒๔๙๕
✨กรุเจดีย์วัดใหม่อมตรส สมัย พล.ต.อ.เผ่า ศรียานนท์ มีการเจาะกรุเจดีย์ เพียง ๑ ช่อง จากจำนวน ๔ ช่องได้พระสมเด็จเป็นจำนวนมาก นำไปแจกให้กับนายตำรวจนครบาลและภูธร

การสร้างพระสมเด็จหลังเปิดกรุ พ.ศ.๒๔๙๕


✨ส่วนพระที่แตกหัก ได้มีการรวบรวมและมาบดทำพิมพ์ สร้างเป็นพระสมเด็จฯ ที่วัดอินทร์ มีพล.ต.อ.เผ่า ศรียานนท์ เป็นประธานการสร้าง เป็นพิพพ์ พระประธาน และพิมพ์อกร่อง ขอบกระจก ด้านหลังเรียบตัน พระจะมีเนื้อสีขาวตุ่น เพราะมีผงของพระสมเด็จจากกรุจำนวนมาก

✨และมีการสร้างพระสมเด็จฯในปีเดียวกันที่วัดระฆัง โดยหลวงปู่นาค มีสีขาวอมเหลือง เพราะมีผงพระสมเด็จฯจำนวนน้อยกว่า ด้านหลังมีตราแผ่นดิน หรือตราโล่ห์ตำรวจ ซึ่งมีการเข้าใจผิดสับสน ในพระรุ่นนี้ เพราะสร้างในปีเดียวกัน และหลวงปู่นาค ปลุกเศก ทั้งสองรุ่น


การเปิดกรุสมเด็จฯครั้งใหญ่ เมื่อ ๒๔ พฤศจิกายน พ.ศ.๒๕๐๐
✨กรุเจดีย์ วัดวรามะตาราม(หรือ "วัดอมฤตรส" แต่ชาวบ้านนิยมเรียกว่า "วัดบางขุนพรหม" หรือ "วัดบางขุนพรหมใน" ) มี พล.อ.ประภาส จารุเสถียร เป็นประธานในการเปิดกรุ มีพระสมเด็จฯที่ทำการล้างแล้วอยู่ในสภาพดี เพียง ๒,๙๕๐ องค์  มีพระพิมพ์ต่าง ดังนี้
✬พิมพ์หน้าโหนกอกครุฑหรือเศีัยรบาตร
✬พิมพ์ชายจีวร หนา บาง เส้นลวด
✬พิมพ์เส้นด้าย ๑๐ พิมพ์
✬พิมพ์สังฆาฎิ
✬พิมพ์เกศบัวตูม ๑๐ พิมพ์
✬พิมพ์ฐานคู่ ๗-๘ พิมพ์
✬พิมพ์ทรงพระประธาน ๑๐ กว่าพิมพ์
✬พิมพ์ปรกโพธิ์
✬พระถ้ำชา ๑ องค์
✬พระสมเด็จฯ ๗ ชั้น ๓ องค์(อาจไม่ใช่ น่าจะเป็นปางพระนอน(ไสยาสน์)และตะกรุด ๑ ดอก
✸✸✸กรุนี้ จะไม่มีพระสมเด็จฯพิมพ์ ทรงเจดีย์✸✸✸


ในปี พ.ศ.๒๕๐๑ ลุงแฉล้ม บัวเปลี่ยนสี พระ เณร ในวัดช่วยกัน ขุดค้นหาพระสมเด็จฯที่ตกค้างอยู่ในก้นกรุ ตามซอกกรุ ที่มีสภาพไม่ค่อยสมบูรณ์ ออกมาให้ประชาชนเช่าอีกครั้ง โดยด้านหลังพระตีตราเจดีย์ใหญ่ มีอักษร มตรส และใต้เจดีย์ มีปี พ.ศ. ๒๕๐๐

คราบพระกรุสมเด็จโต
คราบกรุของพระสมเด็จฯ กรุวัดบางขุนพรหม แตกต่างจากวัดระฆัง เพราะพระที่สร้างมีส่วนผสมของผงปูนและเปลือกหอยจำนวนมาก จึงเกิดการทำปฏิกริยา กับน้ำและอากาศ ทำให้เกิดคราบกรุเกาะตามองค์พระที่บรรจุอยู่ในเจดีย์ และเนื่องจากได้มีการให้ประชาชน มาตกพระ หรือตกเบ็ดพระ เอาพระออกจากกรุ ตามช่องของเจดีย์ ด้วยดินเหนียวปั้น ทำให้มีเศษดินและน้ำที่กรอกลงไป ทับถมองค์พระอีกเป็นจำนวนมาก เกิดสภาพของคราบกรุที่ไม่เหมือนที่อื่น แบ่งสภาพของพระที่มีคราบกรุเกาะอยู่กับองค์พระในแต่ละชั้น ดังนี้

✨ชั้นที่ ๑ อยู่บนสุดของกรุ ดินที่เกาะองค์พระจะดูดเอาน้ำมันตังอิ๊วออกไปด้วย พระจะอยู่ในสภาพสมบูรณ์ เมื่อมาทำการล้างคราบของพระออก เนื้อพระจะขาวสวยงาม ถ้าพระวัดระฆังฝากกรุ หรือพระสองคลอง นำมาฝากใส่ลงไปในกรุวัดบางขุนพรหม จะมีสภาพที่สวยงามที่สุด

✨ชั้นที่ ๒ จะเห็นคราบน้ำมันตังอิิ๊ว เป็นเม็ดๆ ไข่ปลา ปุดเม็ดสีน้ำตาลเล้กๆขึ้นบนองค์พระ คล้ายหนังกระเบน บางองค์จะจับเป็นปื้นคล้ายฟองเต้าหู้ สภาพองค์พระเหมือนเดิมเพียงมีคราบคล้ายฟองเต้าหู้ เกาะอยู่เท่านั้น

✨ชั้นที่ ๓ เนื้อพระจะมีรอยเหมือนปูไต่ หรือหนอนตายซาก เกาะอยู่ตามผิวพระ แข็ง ล้างไม่ออกแต่พระยังไม่จับกันเป็นก้อน ผิวพระขลุขละ ไม่เรียบ เซียนพระเรียกว่า รอยปูไต่
พระบางองค์ที่จุ่มน้ำจะมีคราบสีเขียวเป็นทาง เอามาล้างออกแล้วตากแห้ง องค์พระจะออกเป็นสีเขียวอมดำ แต่ถ้าพระแช่อยู่ในน้ำ สีเขียวของตะไคร่เมื่อล้างออกเนื้อพระจะใสกว่า

✨ชั้นที่ ๔ เนื้อพระจะเกาะติดกันเป็นชั้น เพราะแช่อยู่ในน้ำ ผงปูนเกาะกัน ถ้าแซะคราบออกแรงพระจะแตกหักง่าย  ต้องค่อยแซะออก องค์พระจะมีขี้ตะไคร่ ขี้กรุ  องค์พระสีขาวตุ่น  หรือสีขาวอมเขียว เซียนบางคน เรียกว่า เนื้อก้านมะลิ ที่จริงไม่ใช่ เพราะเนื้อก้านมะลิ คือเนื้อเกษร ๑๐๘ ผงเกษรผสมน้ำเกษร สีม่วงอมดำเมื่อผสมออกมาแล้วจะเหมือนก้านมะลิ ไม่ใช่ขี้ตะไคร่ จับจนมีสีเขียว แล้วเรียกว่าเนื้อก้านมะลิ

✨ชั้นที่ ๕ อยู่่ลึกก่อนถึงชั้นดิน ก่อนจะนำพระลงไปเอาปูนรองพื้นก่อน จึงวางองค์พระ และระหว่างร่ององค์พระก็โรยผงปูนเอาไว้ ช่วงที่ชาวบ้านมาตกพระ เมื่อตกไม่ได้ ก็อัดและกรอกน้ำลงไปเพื่อให้องค์พระลอย จึงทำปูนที่โดนน้ำเกาะองค์พระเป็นก้อน แซะออก พระก้จะแตกหักเสียหายหมด แต่ถ้าไม่เสียหายก็จะมีขี้กรุจับหนาเกาะองค์พระเต็มไปหมด

ความแตกต่างของผิวคราบกรุของพระสมเด็จฯแต่ละวัด 
วัดระฆัง วัดบางขุนพรหม หรือวัดปากบาง  ผิวพระที่ลงกรุจะคล่ำแต่เนื้อสีของคราบกรุพระจะแตกต่างกันไป ตามเนื้อของพระ
✨เนื้อพระผสมด้วยน้ำมันตังอิ้ว เนื้อผิวพระมีคราบของกรุพระออกสีแดงออกน้ำตาล
✨เนื้อพระผสมด้วยน้ำอ้อยเคี่ยว เนื้อผิวพระมีคราบของกรุพระออกสีดำอมเทา

เมื่อรู้ที่มาเนื้อของพระ ล้างองค์พระ เห็นคราบกรุที่เกาะองค์พระ จะทราบทันทีว่าเป็นพระวัดอะไร
✸พระสมเด็จวัดปากบาง เนื้อไม่แน่น เนื้อผสมน้ำอ้อยผสมที่เคี่ยวพอเดือด ทำให้ ร่อนเป็นขุ่ยๆ
✸พระสมเด็จวัดอินทร์ เนื้อผสมน้ำอ้อยเคี่ยวจนเป็นยางมะตูม แต่คนกดพิมพ์พระซัดแป้งมากน้อยไม่เท่ากัน ทำให้เกิดรอยบุ๋มบนองค์พระ
✷✷✷แต่พระสมเด็จวัดระฆังนั้น เป็นพระที่สร้างขึ้นก่อนเป็นพระเก่าจะวางไว้ชั้นบนของกรุ เมื่อนำมาล้างเนื้อพระขาวใสสวยงาม ไม่มีคราบกรุติดบนผิวเนื้อพระ✸✸✸

พระสมเด็จฯสร้างใหม่ จากผงพระแตกหักของพระสมเด็จฯ
✨ลุงแฉล้ม บัวเปลียนสี ได้รวบรวมเศษพระหักก้นกรุ ผงปูน เปลือกหอย คัดพิมพ์ ๕-๖ พิมพ์ นำเศษพระหัก ผงปูน เปลือยหอย มาบดผสมกับน้ำมันตังอิ้ว มากดลงพิมพ์ เป็นพิมพ์พระตื้นๆ เนื้อหยาบ เนื้อพระขาวอมเทา ให้คนทั่วไปเช่าแต่ไม่ได้รับความนิยม จึงนำลงกรุเจดีย์เล็ก เปิดกรุ เมื่อปี พ.ศ.๒๕๐๖ มีประมาณ ๑๐,๐๐๐ องค์
✨ปี พ.ศ.๒๕๐๙ วัดบางขุนพรหม ได้ทำพระสมเด็จฯขึ้นใหม่ จากการนำผงพระเก่า เนื้อพระขาวคล้ายดินสอพอง ด้านหลังองค์ประทับตราบรรจุและตรารูปเจดีย์ จำนวน ๘๔,๐๐๐ องค์ ไม่ได้รับความนิยมจึงนำลงกรุ

การดูพระสมเด็จฯอย่างง่าย หลวงปู่คำได้บันทึกเอาไว้ 
ให้ดูผิวเนื้อพระเป็นหลักเพราะแบบพิมพ์มีมากมายหลายแบบ  เนื้อพระ ที่เป็นหลัก มี ๓ แบบ
✨๑.สีดอกจำปี  เนื้อพระขาวอมเขียว
✨๒.สีดอกจำปา  เนื้อพระเหลืองอมเขียว
✨๓.สีขาวตุ่น  เนื้อพระก้านมะลิ

สุดท้ายหลวงปู่คำ ได้บันทึกไว้ว่า จะมีปัญหาต่อไปในอนาคต ดังนี้
✨๑.พระสมเด็จฯจะหายาก ที่จะหาเอาไว้บูชา
✨๒.มีทำของเทียม
✨๓.เป็นสินค้าที่หายาก
✨๔.ผู้ที่มีโอ้อวด จะเป็นภัยแก่ตัวเอง
✨๕.พวกค้าขาย จะทำของเทียมมาขายให้กับผู้ที่แสวงหาพระสมเด็จ

1 ความคิดเห็น:

  1. พิจารณาแล้ว..มีข้อสงสัยว่าตามบันทึกของหลวงปู่คำท่านจะรู้จักพิมพ์ไกเซอร์ล่วงหน้าได้อย่างไรในเมื่อ ร.5 ทรงโปรดให้เรียกพิมพ์ไกเซอร์นี้ภายหลังที่ทรงเสด็จกลับจากประพาสยุโรป(เยอรมันนี)ราวปี พ.ศ.2444 แต่ที่หลวงปู่คำบันทึกไว้คือปี2415-2421ชึ่งก่อนหน้าเกือบ23ปี..สรุป..สมเด็จไกเซอร์มีจริงแน่แต่จะไม่ใช่พิมพ์ที่มีฐานรองรับเป็นดอกบัว5กลีบตามที่หลวงปู่คำบันทึกไว้แน่นอนหากแต่จะต้องเป็นพิมพ์หน้าโหนกอกครุฑเศียรบาตรมีพระเกศพิมพ์เขื่องเท่ากลักไม้ขีดขนาดประมาณ3.75×5.50ซม.เนื้อโปร่งเหลืองโหรดาลมวลสารจัดจ้านและมีคราบรักสีดำหลังพระลัญจกรตามแบบฉบับสกุลช่างหลวงวัดระฆังที่สมเด็จโตฯท่านมีดำริให้นำพิมพ์เก่าเมื่อปี2390มาปรับแก้ไขแล้วกดพิมพ์ใหม่ในปี2413(ที่ไม่ใช่พิมพ์แบบของกรุวัดบางขุนพรหมที่มีขนาดปกติและเล็กกว่าพิมพ์เขื่อง)..นั่นเอง

    ตอบลบ