ประกาศข่าวประชาสัมพันธ์ ทุกองค์ความรู้ เกิดขึ้นจากความเชื่อและศรัทธา นำไปสู่การแสวงหาพระเครื่องมาเพื่อสะสมและบูชา

วันพุธที่ 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2561

มาตรฐานพระสมเด็จฯเรื่องขนาดของพระ...'อ.ตรียัมปวาย'

คัดลอกมาเพื่อศึกษา คม ชัด ลึก เรื่องและ ภาพโดย ไตรเทพ ไกรงู 0
 "ประเภทของหนังสือพระ" หากพิจารณาตามหลักความเก๊แท้ของภาพพระที่ปรากฏในหนังสือ สามารถแบ่งออกได้ ๓ ประเภท คือ
๑.หนังสือพระแท้ทั้งเล่ม
๒.หนังสือพระเก๊ทั้งเล่ม และ
๓.หนังสือพระแท้ปนกับพระเก๊
ซึ่งแน่นอนที่สุดว่า หนังสือพระแท้ทั้งเล่มมีจำนวนมากและครองส่วนแบ่งตลาดหนังสือพระมากที่สุด ***แต่ที่น่าสนใจคือ หนังสือพระเก๊ทั้งเล่มเริ่มเข้ามามีส่วนแบ่งในตลาดหนังสือพระ และนับวันจะเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ

การจัดพิมพ์หนังสือที่มีภาพพระเก๊ ทั้งเล่ม เท่าที่พบในปัจจุบันมากที่สุดต้องยกให้ การจัดพิมพ์หนังสือพระสมเด็จซึ่งมีอยู่ประมาณ ๑๐ เล่ม ส่วนพระอื่นๆ ยังไม่มีให้เห็น ทั้งนี้ หากพิจารณาเฉพาะคุณภาพหนังสือภายนอกไม่เกี่ยวกับภาพพระและเนื้อหาภายใน หนังสือพระเก๊ทั้งเล่มพิมพ์ได้ดีไม่แตกต่างจากหนังสือพระแท้ทั้งเล่ม ที่ยิ่งไปกว่านั้นคือ หนังสือพระเก๊ทั้งเล่มคุณภาพการพิมพ์และออกแบบดีกว่าด้วยซ้ำ

กรณีการจัดพิมพ์หนังสือ "พระสมเด็จวัดระฆังโฆสิตาราม จักรพรรดิแห่งพระเครื่องไทย" โดย "ชมรมนักอนุรักษ์สะสมพระเครื่องสยาม" ซึ่งมีนายกล้า เกษสุรินทร์ชัย หรือ "เสี่ยกล้า" เป็นประธานชมรม มีความหนากว่า ๔๐๐ หน้า สี่สีทั้งเล่ม เข้าเล่มเย็บกี่อย่างดี วางจำหน่ายตามแผงหนังสือชั้นนำ แม้ว่าเซียนพระของสมาคมพระเครื่องจะระบุว่าเป็นการเล่นพระผิดทาง รูปพระสมเด็จที่จัดพิมพ์ในหนังสือเป็นพระที่วงการไม่เล่นกัน แต่ก็มีคนจำนวนไม่น้อยสนใจการเล่นพระและซื้อหนังสือในแนวของชมรมนักอนุรักษ์สะสมพระเครื่องสยาม

ทั้งนี้ ถ้าอ่านเพื่อใช้เป็นข้อมูลในการศึกษาพระสมเด็จโดยไม่มีอคติใดๆ บางส่วนของข้อมูลใน "พระสมเด็จวัดระฆังโฆสิตาราม จักรพรรดิแห่งพระเครื่องไทย" ก็มีประโยชน์อยู่ไม่น้อย โดยเฉพาะข้อมูลที่เขียนถึงการวัดขนาดของพระสมเด็จด้วยเครื่องมือวัดทางวิทยศาสตร์ ซึ่งเมื่อครั้งที่ พ.อ.ผจญ กิตติประวัติ หรือ อ.ตรียัมปวาย ผู้ขนานนาม "พระเครื่องชุดเบญจภาคี" พิมพ์หนังสือ ปริอรรถาธิบายแห่งพระเครื่อง เล่ม ๑ เรื่อ พระสมเด็จ เมื่อ พ.ศ.๒๔๙๗ ซึ่งเป็นต้นตำรับแห่งหนังสือพระสมเด็จ ก็มีการใช้เครื่องมือวัดทางวิทยศาสตร์เช่นกัน

ในหนังสือปริอรรถาธิบายแห่งพระเครื่อง เล่ม ๑ เรื่อง พระสมเด็จ อ.ตรียัมปวาย ได้เขียนถึงขนาดของพระสมเด็จฯ ว่า “เป็นเรื่องยากที่จะกำหนดขนาดพระสมเด็จเป็นมาตรฐาน เพราะพระสมเด็จนั้นถูกสร้างด้วยพิมพ์หลายพิมพ์ ซึ่งแต่ละพิมพ์ก็มีขนาดแตกต่างออกไปบ้าง ขณะเดียวกันส่วนผสมของเนื้อไม่ได้เกณฑ์มาตรฐาน บางชนิดเวลาผ่านไปเนื้ออาจจะฟูขึ้น บางชนิดกลับหดตัวลง รวมทั้งการตัดพิมพ์บางคนก็ตัดชิด บางคนก็เหลือปีกไว้มาก ส่วนขนาดความหนาก็เอาความแน่นอนไม่ได้บางคนมือหนักบางคนมือเบา

ทั้งนี้ อ.ตรียัมปวาย ได้วัดนาดของพระไว้ ทุกพิมพ์เช่น
พระสมเด็จวัดระฆัง พิมพ์ทรงใหญ่ กว้าง ๒.๓๐ ซม. ยาว ๓.๓๕ ซม. หนา ๐.๔๐-๐.๖๕ ชม.
พระสมเด็จวัดบางขุนพรหม พิมพ์ทรงใหญ่ กว้าง ๒.๓๐ ซม. ยาว ๓.๓๕ ซม. หนา ๐.๔๐-๐.๗๐ ชม.
พระสมเด็จวัดระฆัง พิมพ์ทรงเจดีย์ กว้าง ๒.๒๐ ซม. ยาว ๓.๔๐ ซม. หนา ๐.๔๐-๐.๖๕ ชม.
พระสมเด็จวัดบางขุนพรหม พิมพ์ทรงเจดีย์ กว้าง ๒.๒๐ ซม. ยาว ๓.๔๐ ซม. หนา ๐.๔๐-๐.๖๕ ชม.

ส่วนการวัดขนาดของพระสมเด็จในหนังสือพระสมเด็จวัดระฆังโฆสิตาราม จักรพรรดิแห่งประเครื่องไทยก็มีเช่นกัน แต่วัดคนละจุดกันคือ วัดซุ้มครอบแก้ว ทั้งนี้เสี่ยกล้า ได้อธิบายว่า ขนาดกรอบนอกนั้นเป็นเรื่องยากที่จะกำหนดเป็นมาตรฐาน เพราะขึ้นอยู่กับการตัดในแต่ละครั้ง ขณะเดียวกันด้วยระยะเลาที่สร้างนานการหดตัวของมวลสารองพระแต่ละองค์ย่อมไม่เท่ากัน แต่ที่เป็นมาตรฐานเหมือนกันทุกองค์ คือ “ซุ้มครอบแก้ว” ซึ่งที่ผ่านมาไม่มีผู้รู้ ไม่มีหนังสือคู่มือพระสมเด็จเล่มใดเขียนถึง ทั้งนี้ไม่มีการวัดอย่างละเอียด เพียงบอกความสูงขององค์พระโดยประมาณ ทั้งนี้คำว่า “โดยประมาณ” ก็ไม่ได้มีการวัดไม่มีมาตรฐานที่แท้จริง จุดสำคัญนี้ไม่มีเปิดเผย เรียนรู้ยาก จึงเป็นที่มาของคำว่า “ผิดพิมพ์” หรือไม่ก็ “องค์นี้เล็กไป องค์นี้ใหญ่ไป” ทั้งนี้หากวัดเฉพาซุ้มขอบแก้ว จะได้ข้อยุติเรื่องขนาดของพระสมเด็จ ด้วยเหตุที่ว่า

๑.ซุ้มครอบแก้วเป็นแม่พิมพ์ส่วนหนึ่งซึ่งแกะพร้อมกับองค์พระ ความสูงของครอบแกวตั้งอยู่ระหว่าง ๓๔.๗ มิลลิเมตร - ๓๕.๓ มิลลิเมตร

๒.ความสูงของซุ้มครอบแก้ว เป็นส่วนสูที่สุดของแม่พิมพ์ ศึกษาและวิเคราะห์สังเกตได้ง่ายที่สุด

๓.เมื่อนำพระสมเด็จพิมพ์เดียวกันหลายองค์มาวัดอย่างละเอียด จะพบว่าจะมีขนาดเท่ากัน ใช้เป็นมาตรฐานสากล ส่วนขนาดขององค์นั้นพิมพ์เดียวกันถ้าตดขอบไม่เท่กัน รวมทั้งเก็บในสภาพต่างกันการหดตัวของมวลสารย่อมไม่ท่ากัน ขนาดภายถึงไม่เป็นมาตรฐาน

“ความสูงของซุ้มครอบแก้วเป็นขนาดที่วัดด้วยเครื่องมือวัดทางวิทยาศาสตร์ได้เพียงอย่างเดียว ถ้ามีความแม่นยำในจุดนี้ย่อมสามารถนำไปเปรียบเทียบเป็นต้นแบบในการพิจารณาพระสมเด็จได้เป็นประกรแรก จากนั้นก็พิจารณาเรื่องมวลสารซึ่งเป็นเรื่องยากยิ่งกว่า ด้วยเหตุที่ว่าในการจัดสร้างพระสมเด็จนั้น ใน ๑ พิมพ์ จะมีกันหลายเนื้อ เพราะว่าระยะเวลาการสร้างนั้นนาน” เสี่ยกล้ากล่าว

ทางเลือกของคนเล่นพระสมเด็จฯ

เมื่อครั้งที่ชมรมนักอนุรักษ์สะสมพระเครื่องสยามพิมพ์หนังสือเล่มแรกออกวางจำหน่าย มีเสียงสวดจากคนวงการพระเครื่องว่า ภาพพระสมเด็จในหนังสือไม่ใช่ของจริง ไม่ใช่พระที่คนในวงการพระเครื่องยอมรับกัน ไม่ใช่พิมพ์ที่นิยม ในฐานะที่คนทำหนังสือ เสี่ยกล้า บอกว่า “รู้สึกเฉยๆ ไม่ได้โกรธแค้นคนที่มาสวดหนังสือแต่อย่างไร ผมทำหนังสือเพื่อขายให้คนที่สนใจพระสมเด็จในแนวของผม ผิดด้วยหรือที่ผมจะซื้อขายพระสมเด็จที่ผมคิดว่าแท้ด้วยเงินของผม ซึ่งที่ผ่านมาผมไม่เคยโต้ตอบหรือสวดพระขององค์กรอื่นๆ น่าจะเปิดใจให้กว้างในเรื่องการเรียนรู้พระเครื่อง

วงการพระเครื่องจะอมรับหรือไม่ยอมรับนั้นไม่ใช่สาระสำคัญ ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน ต้องยอมรับว่า พระเครื่ององค์เดียวกันแท้ๆ ตาเซียนพระเครื่องแต่ละตาแต่ละคนยังมีมุมมองที่ต่างกัน เซียนกลุ่มหนึ่งที่เสียงดังกว่าอาจจะมองว่าปลอม แต่เซียนอีกกลุ่มหนึ่งมองว่าแท้ แต่เผอิญว่า เซียนกลุ่มแรกเสียงดังกว่า พระที่แท้ก็กลายเป็นพระปลอมได้ ขณะเดียวกันพระที่ปลอมก็กลายเป็นพระแท้ได้เช่นกัน

สำหรับความเห็นที่ไม่ตรงกันขระหว่างกลุ่มผู้เล่นพระนั้น เสี่ยกล้า บอกว่า มีมาอย่างต่อเนื่อง ข้อเท็จจริงในการจัดสร้างพระสมเด็จวัดระฆังของสมเด็จพระพุ ฒาจารย์ (โต พรหมรังสี) ยังหาข้อยุติไม่ได้ว่าท่านลงมือสร้างเมื่อใด แต่ก็มีผู้สันนิษฐานที่แอบอ้างว่ามีการสร้างจำนวนน้อย เช่น อ้างว่ามี ๔ พิมพ์ทรง แต่ละพิมพ์ทรงมีเพียง ๔-๕ แบบบล็อกแม่พิมพ์เท่านั้น ซึ่งมีปัญหาว่าทั้งๆ ที่ผู้แอบอ้างว่ารู้ดีนั้นก็เกิดไม่ทันเหมือนกัน ทำไมจึงไม่คิดว่าแนวการเล่นของกลุ่มตนเป็นการเล่นในแนวที่คับแคบ หลงผิด หรือเล่นเพื่อผูกขาดตัดตอน เคยคิดบ้างไหมว่าแนวทางที่เล่นนั้นผิด ซึ่งเท่ากับว่าเป็นการทำลายบล็อกแม่พิมพ์อื่นๆ ที่สมเด็จโตสร้างขึ้นมา

โปรดใช้้วิจารณญาณ ในการอ่าน เพื่อการศึกษาให้รอบด้าน  การเกิดความสับสน มากขึ้นเท่าไหร่ ความมีมาตราฐานของพระแท้ ที่มีหลักฐานอ้างอิง ก็มีน้อยลง เพราะพระที่สร้างไม่ได้มีใคร เกิดในสมัยนั้น แต่เมื่อหลักฐานที่ใช้อ้างอิง กลับไม่มีมาตราฐานที่แน่นอน วงการพระปลอม พระเก้ ย่อมได้รับผลดี ไปโดยปริยาย 

ต่อไปขอนำเสนอแบบพิมพ์ ตามลำดับการสร้างของ สมเด็จโตตั้งแต่เริ่มแรก ตามบันทึกคำบอกเล่าของหลวงปู่คำ และการดูพระสมเด็จโต ของ ตรียัมปวาย ที่พอจะเป็นหลักฐานอ้างอิงได้จากหนังสือที่พิมพ์ขึ้น

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น