สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พฺรหฺมรํสี) นับเป็นพระเกจิเถราจารย์ผู้มีปฏิปทาจริยาวัตรน่าเลื่อมใส เป็นที่เคารพนับถือทั่วไปมาตั้งแต่ท่านยังมีชีวิตอยู่ ตั้งแต่พระมหากษัตริย์จนถึงสามัญชน และนอกจากจริยาวัตรด้านความสมถะอันโดดเด่นของท่านแล้ว ท่านยังทรงคุณทางด้านวิชชาคาถาอาคม เมตตามหานิยม โดยเฉพาะอย่างยิ่งวัตถุมงคล "พระสมเด็จ" ที่ท่านได้สร้างขึ้นเพื่อเป็นพุทธบูชา ได้ถูกจัดเข้าในพระเครื่องเบญจภาคี หรือสุดยอดของพระเครื่องวัตถุมงคล 1 ใน 5 ของประเทศไทยและมีราคาซื้อขายในปัจจุบันต่อองค์เป็นราคานับล้านบาท ด้วยปฏิปทาจริยาวัตรและคุณวิเศษอัศจรรย์ของท่าน ทำให้พุทธศาสนิกชนชาวไทยเคารพนับถือว่าท่านเป็นอมตะเถราจารย์รูปหนึ่งของเมืองไทย และมีผู้นับถือจำนวนมากในปัจจุบัน
หลวงพ่อโต (พระศรีอริยเมตไตรย) วัดอินทรวิหาร กรุงเทพ
ปูชนียสถานแห่งสุดท้ายที่สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พฺรหฺมรํสี) ได้สร้างไว้
สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พฺรหฺมรํสี) เป็นพระเกจิเถราจารย์ที่เป็นที่เคารพนับถือนอกจากด้านคาถาอาคมแล้ว ท่านยังได้ดำรงตนเป็นผู้สมถะ มักน้อยสันโดษ ไม่ปรารถนาลาภยศ การแสดงออกของท่านตามบันทึกหลักฐานในสมัยหลัง มักบันทึกถึงความเป็นพระเถระผู้มีเมตตา ดำรงศีลาจารวัตรเป็นที่เลื่อมใสศรัทธาของคนทั่วไป อย่างไรก็ตาม เอกสารที่บันทึกประวัติของสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พฺรหฺมรํสี) ไว้เป็นหมวดหมู่ชั้นเก่าสุด คือเอกสารฉบับของมหาอำมาตย์ตรีพระยาทิพยโกษา (สอน โลหนันท์) ซึ่งเป็นฉบับที่รวบรวมโดย ม.ล.พระมหาสว่าง เสนีย์วงศ์ ณ อยุธยา ที่รวบรวมขึ้นในปี พ.ศ. 2473 ไม่ได้บันทึกคำสอนของสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พฺรหฺมรํสี) ไว้เป็นหมวดหมู่ เพียงแต่กล่าวถึงเหตุการณ์ต่าง ๆ ในช่วงชีวิตของสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พฺรหฺมรํสี) ต่างกรรมต่างวาระกัน ตามที่ผู้รวบรวมได้บันทึกมาจากปากคำผู้มีชีวิตร่วมสมัยกับสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พฺรหฺมรํสี) เท่านั้น
รูปหล่อของสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พฺรหฺมรํสี)
ประดิษฐานที่วัดไก่จ้น อำเภอท่าเรือ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
✨อย่างไรก็ดี ในปัจจุบันได้ปรากฏมีคำสอนต่าง ๆ ซึ่งเชื่อกันว่าเป็นคำสอนของสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พฺรหฺมรํสี) ที่เป็นที่นิยมนับถือกันทั่วไป โดยไม่มีการอ้างอิงที่มาที่แน่ชัด เช่น
✷"บุญเราไม่เคยสร้าง...ใครที่ไหนจะมาช่วยเจ้า ..."✸
✸"ลูกเอ๋ย ก่อนที่จะเข้าไปขอบารมีหลวงพ่อองค์ใด เจ้าจะต้องมีทุนของตัวเอง คือบารมีของตนลงทุนไปก่อน เมื่อบารมีของเจ้าไม่พอจึงค่อยขอยืมบารมีคนอื่นมาช่วย มิฉะนั้นเจ้าจะเอาตัวไม่รอด เพราะหนี้สินในบุญบารมีที่ไปเที่ยวขอยืมมาจนพ้นตัว...เมื่อทำบุญทำกุศลได้บารมีมา ก็ต้องเอาไปผ่อนใช้หนี้เขาจนหมดไม่มีอะไรเหลือติดตัว...แล้วเจ้าจะมีอะไรไว้ในภพหน้า...หมั่นสร้างบารมีไว้...แล้วฟ้าดินจะช่วยเอง...จงจำไว้นะ... เมื่อยังไม่ถึงเวลาเทพเจ้าองค์ใดจะคิดช่วยเจ้าไม่ได้... ครั้นเมื่อถึงเวลา... ทั่วฟ้าจบดินก็ต้านเจ้าไม่อยู่...จงอย่าไปเร่งเทวดาฟ้าดิน เมื่อบุญเราไม่เคยสร้างไว้เลยจะมีใครที่ไหนมาช่วยเจ้า"✸
รูปเหมือนของสมเด็จโต
เนื่องจากสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พฺรหฺมรํสี) เป็นพระมหาเกจิเถราจารย์ผู้เป็นที่เคารพนับถือยิ่งนับแต่เมื่อครั้งที่ท่านยังมีชีวิตอยู่ จนถึงปัจจุบันผู้ศรัทธาในสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พฺรหฺมรํสี) ได้ทำการสร้างรูปเหมือน รูปเคารพจำลองของท่านไว้ตามสถานที่ต่าง ๆ มากมาย โดยเรียกอย่างไม่เป็นทางการว่า "รูปหล่อสมเด็จ" ตามหลักฐานฉบับของพระครูกัลยาณานุกูล (เฮง อิฏฐาจาโร) ระบุว่ารูปจำลองรูปแรกของสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พฺรหฺมรํสี) คือรูปหล่อที่ประดิษฐานที่วัดเกศไชโยวรวิหาร ในสมัยรัชกาลที่ 5 ปั้นหุ่นลงรักปิดทองโดยหลวงวิจิตรนฤมล (พึ่ง ปฏิมาประกร) หน้าตัก 40.2 เซนติเมตร หล่อขึ้นที่วัดระฆังโฆสิตาราม แต่ได้หล่อเมื่อปีใดไม่ปรากฏ แต่สันนิษฐานว่าสร้างก่อนปี พ.ศ. 2444
วิธีบูชา พระสมเด็จวัดระฆัง เพื่อให้เกิดพุทธคุณสูงสุด ควรปฏิบัติดังนี้
- อานุภาพพระสมเด็จวัดระฆัง
ผู้ที่มีจิตใจที่ดี บริสุทธิ์ผ่องใส จะได้รับอานุภาพที่ดี จากพระสมเด็จ ณ วัดแห่งนี้
๑. บูชาเพื่อความเจริญรุ่งเรืองในกิจการงาน และความผาสุขของชีวิต ผู้มีติดตัวไว้ จะทำให้เกิดโภคทรัพย์ ในสุจริตวิถี
๒. คุ้มครองป้องกันภัยอันตราย ให้แคล้วคลาดจากภัย ทั้งหลายทั้งปวง เฉพาะในผู้ที่เป็นสุจริตชน ผู้ทำมาหากินด้วยแรงกาย แรงสติปัญญา ในทำนองครองธรรม ในทางตรงกันข้าม พวกมิจฉาชีพดำรง ชีวิตด้วยความเดือดร้อนของบ้านเมืองและประชาชน ตลอดจนถึงการขัดต่อศีลธรรม อันดีงาม แม้มีพระสมเด็จไว้ครอบครอง หรือมีส่วนเกี่ยวข้องผ่านมือ ก็จะไม่พบความสุข หาความเจริญที่ยั่งยืนให้แก่ชีวิตได้ยาก
- วิธีอาราธนา พระสมเด็จวัดระฆัง
ตั้งนะโม ๓จบ ระลึกถึง เจ้าประคุณพระสมเด็จพุฒาจารย์ (โต) พรหมรังสี แห่งวัดระฆังโฆษิตาราม
หากสวดคาถาชินบัญชร บทเต็มได้ ควรสวด ๑จบ หรือหากมีเวลาน้อย ให้สวดบทย่อ ๑๐จบ มีดังนี้
" ชินะปัญชะระปะริตัง มังรักขะตุสัพพะทา "
ก่อนที่จะนำ พระสมเด็จติดตัวไป ให้ปฏิบัติดังต่อไปนี้
- ท่องคาถาแสดงความเคารพต่อองค์พระสมเด็จ
เมื่อยกสร้อยขึ้นจะคล้องคอ องค์พระอยู่ในอุ้มมือ พนมมือแล้วท่องคาถา อาราธนาดังต่อไปนี้
" โอมมะศรี มะศรี พรหมรังสี นามะเตโช มหาสมโณ มหาปัญโญ มหาลาโภ มหายะโส สัพพะโสตถี ภะวันตุเม "
- เมื่อจบแล้ว ให้ท่องคาถา ขอโชคลาภ ว่า
"ปุตตะกาโม ละเภปุตตัง ธนะกาโม ละเภธะนัง อัตถิ กาเย กายะยายะ เทวานัง ปิยะยัง สุตวา"
- เมื่อคล้องคอแล้ว ท่องคาถา คุ้มครองชีวิต ให้แคล้วคลาดปลอดภัยว่า
" อิติปิโสภะคะวา ยะมะราชาโน ท้าวเวสสุวัณโณ มรณังสุขัง อรหังสุคโต นะโมพุทธายะ "
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น