พระแก้วมรกต หรือ พระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากร เป็นพระพุทธรูปปางสมาธิ สลักจากก้อนหยกขนาดใหญ่ ขัดสมาธิราบ อุษณีษะ หรือส่วนที่นูนขึ้นออกมากลางพระเศียรลักษณะทรงถ้วยคว่ำ มีเกตุมาลาเป็นรูปบัวตูม พุทธลักษณะใกล้เคียงพุทธรูปศรีลังกา พระแก้วมรกตถือว่าเป็นพระคู่บ้านคู่เมืองของประเทศไทย
ปัจจุบัน"พระแก้มรกต" ประดิษฐานอยู่ที่วัดศรีรัตนศาสดาราม (หรือวัดพระแก้ว) นับตั้งแต่พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ทรงสร้างกรุงเทพมหานครและอัญเชิญพระแก้วมรกตมาประดิษฐานในพระอุโบสถ เมื่อ พ.ศ. 2327 เป็นต้นมา
พระแก้วมรกตประดิษฐานครั้งแรกที่เมืองเชียงรายในตำนานได้กล่าวว่าเมื่อ พ.ศ. 1977 ฟ้าผ่าเจดีย์องค์หนึ่ง ณ เมืองเชียงราย ได้ค้นพบพระพุทธรูปองค์หนึ่งปิดทองคำทึบทั่วทั้งองค์ ก็สำคัญว่า เป็นพระพุทธรูปศิลาสามัญ จึงเชิญเข้าไปไว้ในวิหารที่วัดแห่งหนึ่ง แต่นั้นอีก 2-3 เดือน
ปูนที่ลงรักปิดทองหุ้มทั่วพระองค์นั้น กะเทาะออกที่ปลายพระนาสิก เจ้าอธิการในอารามนั้นได้เห็นเป็นแก้วสีเขียวงามคือ หยกชนิดหนึ่ง จึงแกะต่อออกไปทั้งพระองค์ คนทั้งปวงจึงได้เห็นและทราบความว่า เป็นพระพุทธรูปแก้วทึบทั้งแท่งบริสุทธิ์ดี ไม่มีบุบสลาย หน้าตักกว้าง 48.3 ซม. สูงทั้งฐาน 66 ซม.
คนชาวเชียงรายและเมืองอื่น ๆ ก็พากันไปบูชานมัสการมากมายประดิษฐานที่เมืองลำปาง 32 ปี
ผู้รักษาเมืองเชียงรายได้ส่งข่าวไปถึงพระเจ้าสามฝั่งแกน เจ้าเมืองเชียงใหม่ เจ้าเมืองเชียงใหม่จึงเกณฑ์ขบวนไปรับเสด็จพระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากรขึ้นหลังช้างแห่เพื่อมาประดิษฐาน ณ เมืองเชียงใหม่
ครั้นมาถึงทางแยกซึ่งจะไปเมืองนครลำปาง ช้างก็ตื่นหันไปทางนครลำปาง เมื่อหมอควาญบังคับช้างให้สงบลงแล้ว จึงพากลับมาทางแยกที่จะไปเมืองเชียงใหม่ ช้างก็ตื่นไปทางเมืองนครลำปางอีก จนภายหลังเมื่อนำช้างเชื่องรับเสด็จพระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากร ช้างนั้นเมื่อมาถึงที่นั้นก็ตื่นคืนไปทางเมืองนครลำปางอีก
ท้าวพระยาผู้ไปรับเห็นเป็นประหลาด จึงแจ้งไปถึงเจ้าเมืองเชียงใหม่ ครั้งนั้นเจ้าเมืองเชียงใหม่นับถือผีสางมาก จึงวิตกว่าชะรอยผีที่รักษาองค์พระจะไม่ยอมมาเมืองเชียงใหม่ ก็ยอมให้เชิญพระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากรไปประดิษฐานที่วัดในเมืองลำปางนานถึง 32 ปี
สันนิษฐานว่าคือ วัดพระแก้วดอนเต้าในปัจจุบันประดิษฐานที่เมืองเชียงใหม่ 84 ปี
ครั้น พ.ศ. 2011 พระเจ้าติโลกราช ผู้ครองเมืองเชียงใหม่ ดำริว่าเจ้าเชียงใหม่องค์ก่อน ยอมให้พระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากรไปประดิษฐานอยู่เมืองนครลำปางนั้นไม่สมควรเลย น่าจะอาราธนากลับมาเมืองเชียงใหม่ แล้วจึงไปอาราธนาแห่พระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากรมาเมืองเชียงใหม่ แล้วสร้างหอพระแก้วประดิษฐานไว้ในเมือง
พระเจ้าเชียงใหม่ได้พยายามจะทำพระวิหารที่ไว้พระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากรให้เป็นปราสาทมียอดให้สมควร แต่หาสมประสงค์ไม่ เนื่องจากอสุนีบาตตกลงต้องทำลาย ยอดที่สร้างขึ้นหลายครั้ง จึงได้เชิญพระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากรไว้ในพระวิหารมีซุ้มจระนำ อยู่ในผนังด้านหลัง
สำหรับตั้งพระพทุธมหามณีรัตนปฏิมากร กับทั้งเครื่องประดับอาภรณ์บูชาต่าง ๆ มีบานปิดดังตู้เก็บรักษาไว้ เปิดออกให้คนทั้งปวงมนัสการเป็นคราว ๆ (บางตำนานก็กล่าวว่า พระแก้วมรกตประดิษฐานอยู่ในซุ้มทางทิศตะวันออกของเจดีย์หลวง ณ วัดเจดีย์หลวง เมืองเชียงใหม่)
พระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากรประดิษฐานอยู่ที่เมืองเชียงใหม่นานได้ 84 ปีประดิษฐานที่เมืองหลวงพระบาง 12 ปี
เมื่อ พ.ศ. 2094 พระเจ้าเมืองเชียงใหม่องค์หนึ่งซึ่งครองเมืองในครั้งนั้นชื่อ พระเจ้าไชยเชษฐา เป็นบุตรพระเจ้าโพธิสาร ซึ่งเป็นพระเจ้ากรุงศรีสัตนาคนหุตหรือประเทศลาว ต่อมาพระเจ้าโพธิสารทิวงคต เกิดเหตุน้องพระเจ้าไชยเชษฐาชิงราชสมบัติกัน เสนาบดีกรุงศรีสัตนาคนหุต จึงเชิญพระเจ้าไชยเชษฐาให้กลับไปยังเมืองหลวงพระบาง เพื่อระงับเหตุจลาจล
เมื่อพระเจ้าไชยเชษฐาไปนั้นไม่แน่ใจว่า จะประทับอยู่เมืองหลวงพระบางต่อไปหรือจะกลับคืนมายังเมืองเชียงใหม่อีก จึงเชิญพระแก้วมรกตไปด้วย
เมื่อ พ.ศ. 2095 อ้างว่าจะเชิญไปให้ญาติที่เมืองหลวงพระบาง ได้มนัสการและบำเพ็ญการกุศลครั้นพระเจ้าไชยเชษฐาไปถึงเมืองหลวงพระบาง เสนาบดี พร้อมกันเชิญให้ครองกรุงศรีสัตนาคนหุต ทรงพระนามว่าพระเจ้าไชยเชษฐาธิราช เพราะเหตุที่ครองทั้งประเทศล้านช้างและล้านนาด้วยกัน ฝ่ายข้างท้าวพระยาเมืองเชียงใหม่ไม่พอใจที่จะเป็นเมืองขึ้นกรุงศรีสัตนาคนหุต
จึงไปเชิญเจ้าเมกฏิ ณ เมืองนาย ซึ่งเป็นเชื้อพระวงศ์ของพระเจ้าเชียงใหม่แต่ก่อน มาครองเมืองเชียงใหม่ก็เกิดรบกับกรุงศรีสัตนาคนหุต พระเจ้าไชยเชษฐาธิราชไม่สามารถจะปราบปรามเมืองเชียงใหม่ได้ จึงคงรักษาพระแก้วมรกตไว้ที่เมืองหลวงพระบางต่อมา 12 ปี ประดิษฐานที่เมืองเวียงจันทน์ 214 ปี
ถึง พ.ศ. 2107 พระเจ้าหงสาวดี บุเรงนอง ประเทศพม่ามีอำนาจมากขึ้น พระเจ้าไชยเชษฐาธิราชเห็นว่า ตั้งอยู่ที่เมืองหลวงพระบางจะสู้ศึกพม่าไม่ได้ จึงย้ายราชธานีลงไปตั้งอยู่ที่เมืองเวียงจันทน์ และเชิญพระแก้วมรกตไปด้วย พระแก้วมรกตจึงไปประดิษฐานอยู่ที่เมืองเวียงจันทน์ แต่นั้นมาอีก 214 ปี ประดิษฐาน ณ กรุงธนบุรี และกรุงรัตนโกสินทร์
เมื่อถึง พ.ศ. 2321 รัชกาลพระเจ้ากรุงธนบุรี เกิดสงครามขึ้นในระหว่างกรุงธนบุรีกับกรุงศรีสัตนาคนหุต พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช เสด็จดำรงพระยศเป็นเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึก ได้เป็นจอมพลยกทัพขึ้นไปตีกรุงศรีสัตนาคนหุต ได้เมืองเวียงจันทน์แล้ว เชิญพระแก้วมรกตกับพระบางลงมายังกรุงธนบุรี พระเจ้ากรุงธนบุรีทำการสมโภชแล้วโปรดให้ประดิษฐานไว้ ณ โรงพระแก้วในบริเวณพระราชวังเดิม ครั้นพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชทรงสร้างกรุงรัตนโกสินทร์เมื่อ พ.ศ. 2325 โปรดให้สร้างพระอารามขึ้นในพระราชวัง เป็นที่ประดิษฐานพระแก้วมรกต
พระอุโบสถสร้างเสร็จจึงโปรดให้เชิญพระแก้วมรกตแห่มาประดิษฐานในพระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม
เมื่อวันที่ 22 มีนาคม 2327 พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ทรงพระดำริสร้างเครื่องทรงถวายสำหรับฤดูร้อนและฤดูฝน เปลี่ยนเครื่องทรงตามฤดู ครั้นถึงรัชกาลที่ 3 พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระราชดำริสร้างเครื่องทรงฤดูหนาว จึงทรงเปลี่ยนเป็นเครื่องทรง 3 ฤดูกาลมาจนทุกวันนี้
ขนาดพระแก้วมรกต ปางสมาธิ นั่งขัดสมาธิราบ วางพระหัตถ์ขวาซ้อนพระหัตถ์ซ้าย หน้าตักกว้าง 48.3 เซนติเมตร สูงจากทับเกษตรถึงสุดพระเกตุมาลา 66 เซ็นติเมตร
พระราชพิธีเปลี่ยนเครื่องทรงพระแก้วมรกตนั้นกระทำกัน 3 ครั้งต่อหนึ่งปี คือ
✨1. เครื่องทรงฤดูร้อน ทรงเปลี่ยน วันแรม 1 ค่ำ เดือน 4
✨2. เครื่องทรงฤดูฝน ทรงเปลี่ยน วันแรม 1 ค่ำ เดือน 8
✨3. เครื่องทรงฤดูหนาว ทรงเปลี่ยน วันแรม 1 ค่ำ เดือน 12
พระแก้วมรกต พระพุทธรูปคู่บ้านคู่เมืองของไทย นอกจากนี้ยังรายล้อมด้วยสถาปัตยกรรมและศิลปกรรมอันทรงคุณค่า งดงาม ควรค่าแก่การชื่นชม สมกับความเป็นไทยอย่างแท้จริง