ประกาศข่าวประชาสัมพันธ์ ทุกองค์ความรู้ เกิดขึ้นจากความเชื่อและศรัทธา นำไปสู่การแสวงหาพระเครื่องมาเพื่อสะสมและบูชา

วันพฤหัสบดีที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2561

วิธีดูตำหนิพระสมเด็จวัดระฆังฯ พิมพ์ใหญ่

สามารถดูรายละเอียดได้ คลิกดูรายละเอียดพระสมเด็จวัดระฆัง พิพม์ใหญ่

วิธีดูตำหนิพระสมเด็จวัดระฆังฯ พิมพ์ฐานแซม

วิธีดูตำหนิพระสมเด็จวัดระฆังฯ พิมพ์ฐานแซม 1/2 แนวทางและขั้นตอนการพิจารณาจุดชี้ตำหนิด้านหน้าและด้านหลังของ พระสมวัดระฆังโฆสิตาราม พิมพ์ฐานแซม





วิธีดูตำหนิพระสมเด็จวัดระฆังฯ พิมพ์ฐานแซม 2/2 พระสมวัดระฆังโฆสิตาราม พิมพ์ฐานแซมมีทั้งหมด 4 พิมพ์ และพิมพ์ด้านหลัง 3 พิมพ์ ซึ่งแต่ละพิมพ์มีลักษณะเฉพาะที่จำเป็นต้องใช้การสังเกตอย่างละเอียด




วันพุธที่ 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2561

วิธีดูตำหนิพระสมเด็จวัดระฆังฯ พิมพ์ทรงเจดีย์

วิธีดูตำหนิพระสมเด็จวัดระฆังฯ พิมพ์ทรงเจดีย์ พิมพ์ที่ 2
แนวทางและขั้นตอนการพิจารณาจุดชี้ตำหนิด้านหน้าและด้านหลัง พระ สมวัดระฆังโฆสิตาราม พิมพ์ทรงเจดีย์ [พิมพ์ที่ 2 ด้านหน้า-ด้านหลัง ] พร้อมพระตัวอย่างไว้ประกอบในการพิจารณา





วิธีดูตำหนิพระสมเด็จวัดบางขุนพรหม พิมพ์ใหญ่

วิธีดูตำหนิพระสมเด็จวัดบางขุนพรหม พิมพ์ใหญ่ พิมพ์ที่ 3 
ศิลปะแม่พิมพ์จะคล้ายกับพระสมเด็จวัดระฆังฯ พิมพ์ใหญ่ พิมพ์ที่ 2 มากที่สุด ทั้งศิลปะองค์พระ ฐานทั้งสามชั้นก็เหมือนกันมาก ค่อนข้างจะหายาก เท่าที่ผ่านมาในวงการมีน้อยองค์




พระสมเด็จฯตามบันทึกหลวงปู่คำ วัดอัมรินทร์

การย่อเนื้อหาบันทึกของหลวงปู่คำ วัดอัมรินทร์ ในส่วนที่เกี่ยวกับการสร้างพระสมเด็จฯ

หลวงปู่คำมีความใกล้ชิดกับเจ้าประคุณสมเด็จฯโต วัดระฆังโฆษิตาราม เจ้าประคุณสมเด็จฯโต เรียกท่านว่าหลวงพี่ ท่านไปช่วยเจ้าประคุณสมเด็จฯโตทำพระสมเด็จอยู่เสมอ และอยู่จนท่านเจ้าประคุณสมเด็จฯโต สั่งเสียการจัดงานเอาไว้ก่อนมรณภาพ หลวงปู่คำ วัดอัมรินทร์ ได้จดบันทึกเรื่องราวต่างๆเอาไว้ และมีบางส่วนที่เกี่ยวข้องกับการสร้างพระสมเด็จฯ ซึ่งขอย่อเนื้อหาใจความ เพื่อให้อ่านและเข้าใจง่ายขึ้น

พิมพ์พระสมเด็จทรงนิยมที่ชาวบ้านทั่วไปรู้จัก
✨พิมพ์ที่ ๑ ทรงพระประธาน มี ๕ พิมพ์ ๆ คะแนน ๑ พิมพ์
✨พิมพ์ที่ ๒ ทรงชายจีวร มี ๑๕ พิมพ์ ๆ คะแนน ๒ พิมพ์
✨พิมพ์ที่ ๓ อกร่องหูยานฐานแซม มี ๓ พิมพ์ ๆ คะแนน ๑ พิมพ์
✨พิมพ์ที่ ๔ เกศบัวตูม มี ๔ พิมพ์ ๆ คะแนน ๑ พิมพ์
✨พิมพ์ที่ ๕ ปรกโพธิ์มีพิมพ์ที่ไม่แตกมี ๕ พิมพ์ ๆ คะแนน ๑ พิมพ์
✨พิมพ์ที่ ๖ ฐานคู่มีพิมพ์ที่ไม่แตก มี ๓ พิมพ์ ๆ คะแนน ๑ พิมพ์
✨พิมพ์ที่ ๗ เส้นด้าย มี ๑๕ พิมพ์ ๆ คะแนน ๒ พิมพ์
✨พิมพ์ที่ ๘ สังฆาฏิ มี ๗ พิมพ์ ๆ คะแนน ๑ พิมพ์
✨พิมพ์ที่ ๙ หน้าโหนกอกครุฑ มี ๑๖ พิมพ์ ทั้งพิมพ์ใหญ่
✨พิมพ์ที่๑๐ พิมพ์ทรงเจดีย์ มี ๒ พิมพ์ ๆ คะแนน ๑ พิมพ์

 พิมพ์ที่ไม่นิยมที่สร้างก่อนสร้างสมเด็จพระผง และเป็นพระพิมพ์แรกของท่านสมเด็จโตสร้าง
✨พิมพ์ ถ้ำชา มีสร้างประมาณ ๕,๐๐๐ องค์ เข้ากรุ ๓,๐๐๐ องค์ ที่วัดโพธิ์ บางประอิน และพิมพ์หลวงพ่อโต เข้ากรุวัดพิตเพียน หรือวัดกุฏีทอง จ.อยุธยา

พิมพ์ที่ทำจำนวนน้อยที่สุด เนื่องจากพิมพ์แตกก่อน
✨พิมพ์ ไกเซอร์ มีประมาณ ๕๐๐ องค์ เป็นพระที่มีสวยงามที่สุด ทำยากที่สุด ทำขึ้นเพื่อนำขึ้นถวาย ร.๕ ก่อนเสด็จประพาสยุโรป และแจกให้กับเจ้านายชั้นผู้ใหญ่ ที่ตามเสด็จ ลักษณะเด่น องค์พระนั่งบนบัว ๕ กลีบ คลิกอ่านรายละเอียดพิมพ์ไกเซอร์

พิมพ์พระผงที่ทำครั้งแรก
✨พิมพ์ ทรงเจดีย์ ทำขึ้นหลังจากที่กลับจากธุดง มีที่ วัดบางขุนพรหมนอก  วัดอินทร์ และวัดลครทำหรือวัดเจดีย์นอน เท่านั้น

พิมพ์ที่สร้างขึ้นตามที่ชาวบ้านขอให้สร้าง
✨พิมพ์ที่ทำเหมือนพิมพ์ไกเซอร์ เป็นพิมพ์เล็กกว่า
✨พิมพ์ล้อพิมพ์ไกเซอร์ เป็นการเลียนแบบ ขนาดเท่ากับพิมพ์ไกเซอร์ ข้อแตกต่าง องค์พระนั่งบนอาสนะ ๓ ชั้น เรียกว่าพิมพ์เศียรบาตร แต่ครั้งแรกเซียนพระเข้าใจว่าเป็นพิมพ์ไกเซอร์

พิมพ์พระสมเด็จที่สวยงามที่สุด
✨เป็นพิพม์ที่ ขุนหลวงวิจารย์เจียนัย หรือเจ้าสัวเฮง ทำแบบพิมพ์มาให้สมเด็จโต จำนวน ๙ พิมพ์ ได้แก่ พิมพ์พระประธาน  ทรงชายจีวร  เส้นด้าย

การเปิดกรุพระสมเด็จฯครั้งแรก เมื่อปี พ.ศ.๒๔๙๕
✨กรุเจดีย์วัดใหม่อมตรส สมัย พล.ต.อ.เผ่า ศรียานนท์ มีการเจาะกรุเจดีย์ เพียง ๑ ช่อง จากจำนวน ๔ ช่องได้พระสมเด็จเป็นจำนวนมาก นำไปแจกให้กับนายตำรวจนครบาลและภูธร

การสร้างพระสมเด็จหลังเปิดกรุ พ.ศ.๒๔๙๕


✨ส่วนพระที่แตกหัก ได้มีการรวบรวมและมาบดทำพิมพ์ สร้างเป็นพระสมเด็จฯ ที่วัดอินทร์ มีพล.ต.อ.เผ่า ศรียานนท์ เป็นประธานการสร้าง เป็นพิพพ์ พระประธาน และพิมพ์อกร่อง ขอบกระจก ด้านหลังเรียบตัน พระจะมีเนื้อสีขาวตุ่น เพราะมีผงของพระสมเด็จจากกรุจำนวนมาก

✨และมีการสร้างพระสมเด็จฯในปีเดียวกันที่วัดระฆัง โดยหลวงปู่นาค มีสีขาวอมเหลือง เพราะมีผงพระสมเด็จฯจำนวนน้อยกว่า ด้านหลังมีตราแผ่นดิน หรือตราโล่ห์ตำรวจ ซึ่งมีการเข้าใจผิดสับสน ในพระรุ่นนี้ เพราะสร้างในปีเดียวกัน และหลวงปู่นาค ปลุกเศก ทั้งสองรุ่น


การเปิดกรุสมเด็จฯครั้งใหญ่ เมื่อ ๒๔ พฤศจิกายน พ.ศ.๒๕๐๐
✨กรุเจดีย์ วัดวรามะตาราม(หรือ "วัดอมฤตรส" แต่ชาวบ้านนิยมเรียกว่า "วัดบางขุนพรหม" หรือ "วัดบางขุนพรหมใน" ) มี พล.อ.ประภาส จารุเสถียร เป็นประธานในการเปิดกรุ มีพระสมเด็จฯที่ทำการล้างแล้วอยู่ในสภาพดี เพียง ๒,๙๕๐ องค์  มีพระพิมพ์ต่าง ดังนี้
✬พิมพ์หน้าโหนกอกครุฑหรือเศีัยรบาตร
✬พิมพ์ชายจีวร หนา บาง เส้นลวด
✬พิมพ์เส้นด้าย ๑๐ พิมพ์
✬พิมพ์สังฆาฎิ
✬พิมพ์เกศบัวตูม ๑๐ พิมพ์
✬พิมพ์ฐานคู่ ๗-๘ พิมพ์
✬พิมพ์ทรงพระประธาน ๑๐ กว่าพิมพ์
✬พิมพ์ปรกโพธิ์
✬พระถ้ำชา ๑ องค์
✬พระสมเด็จฯ ๗ ชั้น ๓ องค์(อาจไม่ใช่ น่าจะเป็นปางพระนอน(ไสยาสน์)และตะกรุด ๑ ดอก
✸✸✸กรุนี้ จะไม่มีพระสมเด็จฯพิมพ์ ทรงเจดีย์✸✸✸


ในปี พ.ศ.๒๕๐๑ ลุงแฉล้ม บัวเปลี่ยนสี พระ เณร ในวัดช่วยกัน ขุดค้นหาพระสมเด็จฯที่ตกค้างอยู่ในก้นกรุ ตามซอกกรุ ที่มีสภาพไม่ค่อยสมบูรณ์ ออกมาให้ประชาชนเช่าอีกครั้ง โดยด้านหลังพระตีตราเจดีย์ใหญ่ มีอักษร มตรส และใต้เจดีย์ มีปี พ.ศ. ๒๕๐๐

คราบพระกรุสมเด็จโต
คราบกรุของพระสมเด็จฯ กรุวัดบางขุนพรหม แตกต่างจากวัดระฆัง เพราะพระที่สร้างมีส่วนผสมของผงปูนและเปลือกหอยจำนวนมาก จึงเกิดการทำปฏิกริยา กับน้ำและอากาศ ทำให้เกิดคราบกรุเกาะตามองค์พระที่บรรจุอยู่ในเจดีย์ และเนื่องจากได้มีการให้ประชาชน มาตกพระ หรือตกเบ็ดพระ เอาพระออกจากกรุ ตามช่องของเจดีย์ ด้วยดินเหนียวปั้น ทำให้มีเศษดินและน้ำที่กรอกลงไป ทับถมองค์พระอีกเป็นจำนวนมาก เกิดสภาพของคราบกรุที่ไม่เหมือนที่อื่น แบ่งสภาพของพระที่มีคราบกรุเกาะอยู่กับองค์พระในแต่ละชั้น ดังนี้

✨ชั้นที่ ๑ อยู่บนสุดของกรุ ดินที่เกาะองค์พระจะดูดเอาน้ำมันตังอิ๊วออกไปด้วย พระจะอยู่ในสภาพสมบูรณ์ เมื่อมาทำการล้างคราบของพระออก เนื้อพระจะขาวสวยงาม ถ้าพระวัดระฆังฝากกรุ หรือพระสองคลอง นำมาฝากใส่ลงไปในกรุวัดบางขุนพรหม จะมีสภาพที่สวยงามที่สุด

✨ชั้นที่ ๒ จะเห็นคราบน้ำมันตังอิิ๊ว เป็นเม็ดๆ ไข่ปลา ปุดเม็ดสีน้ำตาลเล้กๆขึ้นบนองค์พระ คล้ายหนังกระเบน บางองค์จะจับเป็นปื้นคล้ายฟองเต้าหู้ สภาพองค์พระเหมือนเดิมเพียงมีคราบคล้ายฟองเต้าหู้ เกาะอยู่เท่านั้น

✨ชั้นที่ ๓ เนื้อพระจะมีรอยเหมือนปูไต่ หรือหนอนตายซาก เกาะอยู่ตามผิวพระ แข็ง ล้างไม่ออกแต่พระยังไม่จับกันเป็นก้อน ผิวพระขลุขละ ไม่เรียบ เซียนพระเรียกว่า รอยปูไต่
พระบางองค์ที่จุ่มน้ำจะมีคราบสีเขียวเป็นทาง เอามาล้างออกแล้วตากแห้ง องค์พระจะออกเป็นสีเขียวอมดำ แต่ถ้าพระแช่อยู่ในน้ำ สีเขียวของตะไคร่เมื่อล้างออกเนื้อพระจะใสกว่า

✨ชั้นที่ ๔ เนื้อพระจะเกาะติดกันเป็นชั้น เพราะแช่อยู่ในน้ำ ผงปูนเกาะกัน ถ้าแซะคราบออกแรงพระจะแตกหักง่าย  ต้องค่อยแซะออก องค์พระจะมีขี้ตะไคร่ ขี้กรุ  องค์พระสีขาวตุ่น  หรือสีขาวอมเขียว เซียนบางคน เรียกว่า เนื้อก้านมะลิ ที่จริงไม่ใช่ เพราะเนื้อก้านมะลิ คือเนื้อเกษร ๑๐๘ ผงเกษรผสมน้ำเกษร สีม่วงอมดำเมื่อผสมออกมาแล้วจะเหมือนก้านมะลิ ไม่ใช่ขี้ตะไคร่ จับจนมีสีเขียว แล้วเรียกว่าเนื้อก้านมะลิ

✨ชั้นที่ ๕ อยู่่ลึกก่อนถึงชั้นดิน ก่อนจะนำพระลงไปเอาปูนรองพื้นก่อน จึงวางองค์พระ และระหว่างร่ององค์พระก็โรยผงปูนเอาไว้ ช่วงที่ชาวบ้านมาตกพระ เมื่อตกไม่ได้ ก็อัดและกรอกน้ำลงไปเพื่อให้องค์พระลอย จึงทำปูนที่โดนน้ำเกาะองค์พระเป็นก้อน แซะออก พระก้จะแตกหักเสียหายหมด แต่ถ้าไม่เสียหายก็จะมีขี้กรุจับหนาเกาะองค์พระเต็มไปหมด

ความแตกต่างของผิวคราบกรุของพระสมเด็จฯแต่ละวัด 
วัดระฆัง วัดบางขุนพรหม หรือวัดปากบาง  ผิวพระที่ลงกรุจะคล่ำแต่เนื้อสีของคราบกรุพระจะแตกต่างกันไป ตามเนื้อของพระ
✨เนื้อพระผสมด้วยน้ำมันตังอิ้ว เนื้อผิวพระมีคราบของกรุพระออกสีแดงออกน้ำตาล
✨เนื้อพระผสมด้วยน้ำอ้อยเคี่ยว เนื้อผิวพระมีคราบของกรุพระออกสีดำอมเทา

เมื่อรู้ที่มาเนื้อของพระ ล้างองค์พระ เห็นคราบกรุที่เกาะองค์พระ จะทราบทันทีว่าเป็นพระวัดอะไร
✸พระสมเด็จวัดปากบาง เนื้อไม่แน่น เนื้อผสมน้ำอ้อยผสมที่เคี่ยวพอเดือด ทำให้ ร่อนเป็นขุ่ยๆ
✸พระสมเด็จวัดอินทร์ เนื้อผสมน้ำอ้อยเคี่ยวจนเป็นยางมะตูม แต่คนกดพิมพ์พระซัดแป้งมากน้อยไม่เท่ากัน ทำให้เกิดรอยบุ๋มบนองค์พระ
✷✷✷แต่พระสมเด็จวัดระฆังนั้น เป็นพระที่สร้างขึ้นก่อนเป็นพระเก่าจะวางไว้ชั้นบนของกรุ เมื่อนำมาล้างเนื้อพระขาวใสสวยงาม ไม่มีคราบกรุติดบนผิวเนื้อพระ✸✸✸

พระสมเด็จฯสร้างใหม่ จากผงพระแตกหักของพระสมเด็จฯ
✨ลุงแฉล้ม บัวเปลียนสี ได้รวบรวมเศษพระหักก้นกรุ ผงปูน เปลือกหอย คัดพิมพ์ ๕-๖ พิมพ์ นำเศษพระหัก ผงปูน เปลือยหอย มาบดผสมกับน้ำมันตังอิ้ว มากดลงพิมพ์ เป็นพิมพ์พระตื้นๆ เนื้อหยาบ เนื้อพระขาวอมเทา ให้คนทั่วไปเช่าแต่ไม่ได้รับความนิยม จึงนำลงกรุเจดีย์เล็ก เปิดกรุ เมื่อปี พ.ศ.๒๕๐๖ มีประมาณ ๑๐,๐๐๐ องค์
✨ปี พ.ศ.๒๕๐๙ วัดบางขุนพรหม ได้ทำพระสมเด็จฯขึ้นใหม่ จากการนำผงพระเก่า เนื้อพระขาวคล้ายดินสอพอง ด้านหลังองค์ประทับตราบรรจุและตรารูปเจดีย์ จำนวน ๘๔,๐๐๐ องค์ ไม่ได้รับความนิยมจึงนำลงกรุ

การดูพระสมเด็จฯอย่างง่าย หลวงปู่คำได้บันทึกเอาไว้ 
ให้ดูผิวเนื้อพระเป็นหลักเพราะแบบพิมพ์มีมากมายหลายแบบ  เนื้อพระ ที่เป็นหลัก มี ๓ แบบ
✨๑.สีดอกจำปี  เนื้อพระขาวอมเขียว
✨๒.สีดอกจำปา  เนื้อพระเหลืองอมเขียว
✨๓.สีขาวตุ่น  เนื้อพระก้านมะลิ

สุดท้ายหลวงปู่คำ ได้บันทึกไว้ว่า จะมีปัญหาต่อไปในอนาคต ดังนี้
✨๑.พระสมเด็จฯจะหายาก ที่จะหาเอาไว้บูชา
✨๒.มีทำของเทียม
✨๓.เป็นสินค้าที่หายาก
✨๔.ผู้ที่มีโอ้อวด จะเป็นภัยแก่ตัวเอง
✨๕.พวกค้าขาย จะทำของเทียมมาขายให้กับผู้ที่แสวงหาพระสมเด็จ

มาตรฐานพระสมเด็จฯเรื่องขนาดของพระ...'อ.ตรียัมปวาย'

คัดลอกมาเพื่อศึกษา คม ชัด ลึก เรื่องและ ภาพโดย ไตรเทพ ไกรงู 0
 "ประเภทของหนังสือพระ" หากพิจารณาตามหลักความเก๊แท้ของภาพพระที่ปรากฏในหนังสือ สามารถแบ่งออกได้ ๓ ประเภท คือ
๑.หนังสือพระแท้ทั้งเล่ม
๒.หนังสือพระเก๊ทั้งเล่ม และ
๓.หนังสือพระแท้ปนกับพระเก๊
ซึ่งแน่นอนที่สุดว่า หนังสือพระแท้ทั้งเล่มมีจำนวนมากและครองส่วนแบ่งตลาดหนังสือพระมากที่สุด ***แต่ที่น่าสนใจคือ หนังสือพระเก๊ทั้งเล่มเริ่มเข้ามามีส่วนแบ่งในตลาดหนังสือพระ และนับวันจะเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ

การจัดพิมพ์หนังสือที่มีภาพพระเก๊ ทั้งเล่ม เท่าที่พบในปัจจุบันมากที่สุดต้องยกให้ การจัดพิมพ์หนังสือพระสมเด็จซึ่งมีอยู่ประมาณ ๑๐ เล่ม ส่วนพระอื่นๆ ยังไม่มีให้เห็น ทั้งนี้ หากพิจารณาเฉพาะคุณภาพหนังสือภายนอกไม่เกี่ยวกับภาพพระและเนื้อหาภายใน หนังสือพระเก๊ทั้งเล่มพิมพ์ได้ดีไม่แตกต่างจากหนังสือพระแท้ทั้งเล่ม ที่ยิ่งไปกว่านั้นคือ หนังสือพระเก๊ทั้งเล่มคุณภาพการพิมพ์และออกแบบดีกว่าด้วยซ้ำ

กรณีการจัดพิมพ์หนังสือ "พระสมเด็จวัดระฆังโฆสิตาราม จักรพรรดิแห่งพระเครื่องไทย" โดย "ชมรมนักอนุรักษ์สะสมพระเครื่องสยาม" ซึ่งมีนายกล้า เกษสุรินทร์ชัย หรือ "เสี่ยกล้า" เป็นประธานชมรม มีความหนากว่า ๔๐๐ หน้า สี่สีทั้งเล่ม เข้าเล่มเย็บกี่อย่างดี วางจำหน่ายตามแผงหนังสือชั้นนำ แม้ว่าเซียนพระของสมาคมพระเครื่องจะระบุว่าเป็นการเล่นพระผิดทาง รูปพระสมเด็จที่จัดพิมพ์ในหนังสือเป็นพระที่วงการไม่เล่นกัน แต่ก็มีคนจำนวนไม่น้อยสนใจการเล่นพระและซื้อหนังสือในแนวของชมรมนักอนุรักษ์สะสมพระเครื่องสยาม

ทั้งนี้ ถ้าอ่านเพื่อใช้เป็นข้อมูลในการศึกษาพระสมเด็จโดยไม่มีอคติใดๆ บางส่วนของข้อมูลใน "พระสมเด็จวัดระฆังโฆสิตาราม จักรพรรดิแห่งพระเครื่องไทย" ก็มีประโยชน์อยู่ไม่น้อย โดยเฉพาะข้อมูลที่เขียนถึงการวัดขนาดของพระสมเด็จด้วยเครื่องมือวัดทางวิทยศาสตร์ ซึ่งเมื่อครั้งที่ พ.อ.ผจญ กิตติประวัติ หรือ อ.ตรียัมปวาย ผู้ขนานนาม "พระเครื่องชุดเบญจภาคี" พิมพ์หนังสือ ปริอรรถาธิบายแห่งพระเครื่อง เล่ม ๑ เรื่อ พระสมเด็จ เมื่อ พ.ศ.๒๔๙๗ ซึ่งเป็นต้นตำรับแห่งหนังสือพระสมเด็จ ก็มีการใช้เครื่องมือวัดทางวิทยศาสตร์เช่นกัน

ในหนังสือปริอรรถาธิบายแห่งพระเครื่อง เล่ม ๑ เรื่อง พระสมเด็จ อ.ตรียัมปวาย ได้เขียนถึงขนาดของพระสมเด็จฯ ว่า “เป็นเรื่องยากที่จะกำหนดขนาดพระสมเด็จเป็นมาตรฐาน เพราะพระสมเด็จนั้นถูกสร้างด้วยพิมพ์หลายพิมพ์ ซึ่งแต่ละพิมพ์ก็มีขนาดแตกต่างออกไปบ้าง ขณะเดียวกันส่วนผสมของเนื้อไม่ได้เกณฑ์มาตรฐาน บางชนิดเวลาผ่านไปเนื้ออาจจะฟูขึ้น บางชนิดกลับหดตัวลง รวมทั้งการตัดพิมพ์บางคนก็ตัดชิด บางคนก็เหลือปีกไว้มาก ส่วนขนาดความหนาก็เอาความแน่นอนไม่ได้บางคนมือหนักบางคนมือเบา

ทั้งนี้ อ.ตรียัมปวาย ได้วัดนาดของพระไว้ ทุกพิมพ์เช่น
พระสมเด็จวัดระฆัง พิมพ์ทรงใหญ่ กว้าง ๒.๓๐ ซม. ยาว ๓.๓๕ ซม. หนา ๐.๔๐-๐.๖๕ ชม.
พระสมเด็จวัดบางขุนพรหม พิมพ์ทรงใหญ่ กว้าง ๒.๓๐ ซม. ยาว ๓.๓๕ ซม. หนา ๐.๔๐-๐.๗๐ ชม.
พระสมเด็จวัดระฆัง พิมพ์ทรงเจดีย์ กว้าง ๒.๒๐ ซม. ยาว ๓.๔๐ ซม. หนา ๐.๔๐-๐.๖๕ ชม.
พระสมเด็จวัดบางขุนพรหม พิมพ์ทรงเจดีย์ กว้าง ๒.๒๐ ซม. ยาว ๓.๔๐ ซม. หนา ๐.๔๐-๐.๖๕ ชม.

ส่วนการวัดขนาดของพระสมเด็จในหนังสือพระสมเด็จวัดระฆังโฆสิตาราม จักรพรรดิแห่งประเครื่องไทยก็มีเช่นกัน แต่วัดคนละจุดกันคือ วัดซุ้มครอบแก้ว ทั้งนี้เสี่ยกล้า ได้อธิบายว่า ขนาดกรอบนอกนั้นเป็นเรื่องยากที่จะกำหนดเป็นมาตรฐาน เพราะขึ้นอยู่กับการตัดในแต่ละครั้ง ขณะเดียวกันด้วยระยะเลาที่สร้างนานการหดตัวของมวลสารองพระแต่ละองค์ย่อมไม่เท่ากัน แต่ที่เป็นมาตรฐานเหมือนกันทุกองค์ คือ “ซุ้มครอบแก้ว” ซึ่งที่ผ่านมาไม่มีผู้รู้ ไม่มีหนังสือคู่มือพระสมเด็จเล่มใดเขียนถึง ทั้งนี้ไม่มีการวัดอย่างละเอียด เพียงบอกความสูงขององค์พระโดยประมาณ ทั้งนี้คำว่า “โดยประมาณ” ก็ไม่ได้มีการวัดไม่มีมาตรฐานที่แท้จริง จุดสำคัญนี้ไม่มีเปิดเผย เรียนรู้ยาก จึงเป็นที่มาของคำว่า “ผิดพิมพ์” หรือไม่ก็ “องค์นี้เล็กไป องค์นี้ใหญ่ไป” ทั้งนี้หากวัดเฉพาซุ้มขอบแก้ว จะได้ข้อยุติเรื่องขนาดของพระสมเด็จ ด้วยเหตุที่ว่า

๑.ซุ้มครอบแก้วเป็นแม่พิมพ์ส่วนหนึ่งซึ่งแกะพร้อมกับองค์พระ ความสูงของครอบแกวตั้งอยู่ระหว่าง ๓๔.๗ มิลลิเมตร - ๓๕.๓ มิลลิเมตร

๒.ความสูงของซุ้มครอบแก้ว เป็นส่วนสูที่สุดของแม่พิมพ์ ศึกษาและวิเคราะห์สังเกตได้ง่ายที่สุด

๓.เมื่อนำพระสมเด็จพิมพ์เดียวกันหลายองค์มาวัดอย่างละเอียด จะพบว่าจะมีขนาดเท่ากัน ใช้เป็นมาตรฐานสากล ส่วนขนาดขององค์นั้นพิมพ์เดียวกันถ้าตดขอบไม่เท่กัน รวมทั้งเก็บในสภาพต่างกันการหดตัวของมวลสารย่อมไม่ท่ากัน ขนาดภายถึงไม่เป็นมาตรฐาน

“ความสูงของซุ้มครอบแก้วเป็นขนาดที่วัดด้วยเครื่องมือวัดทางวิทยาศาสตร์ได้เพียงอย่างเดียว ถ้ามีความแม่นยำในจุดนี้ย่อมสามารถนำไปเปรียบเทียบเป็นต้นแบบในการพิจารณาพระสมเด็จได้เป็นประกรแรก จากนั้นก็พิจารณาเรื่องมวลสารซึ่งเป็นเรื่องยากยิ่งกว่า ด้วยเหตุที่ว่าในการจัดสร้างพระสมเด็จนั้น ใน ๑ พิมพ์ จะมีกันหลายเนื้อ เพราะว่าระยะเวลาการสร้างนั้นนาน” เสี่ยกล้ากล่าว

ทางเลือกของคนเล่นพระสมเด็จฯ

เมื่อครั้งที่ชมรมนักอนุรักษ์สะสมพระเครื่องสยามพิมพ์หนังสือเล่มแรกออกวางจำหน่าย มีเสียงสวดจากคนวงการพระเครื่องว่า ภาพพระสมเด็จในหนังสือไม่ใช่ของจริง ไม่ใช่พระที่คนในวงการพระเครื่องยอมรับกัน ไม่ใช่พิมพ์ที่นิยม ในฐานะที่คนทำหนังสือ เสี่ยกล้า บอกว่า “รู้สึกเฉยๆ ไม่ได้โกรธแค้นคนที่มาสวดหนังสือแต่อย่างไร ผมทำหนังสือเพื่อขายให้คนที่สนใจพระสมเด็จในแนวของผม ผิดด้วยหรือที่ผมจะซื้อขายพระสมเด็จที่ผมคิดว่าแท้ด้วยเงินของผม ซึ่งที่ผ่านมาผมไม่เคยโต้ตอบหรือสวดพระขององค์กรอื่นๆ น่าจะเปิดใจให้กว้างในเรื่องการเรียนรู้พระเครื่อง

วงการพระเครื่องจะอมรับหรือไม่ยอมรับนั้นไม่ใช่สาระสำคัญ ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน ต้องยอมรับว่า พระเครื่ององค์เดียวกันแท้ๆ ตาเซียนพระเครื่องแต่ละตาแต่ละคนยังมีมุมมองที่ต่างกัน เซียนกลุ่มหนึ่งที่เสียงดังกว่าอาจจะมองว่าปลอม แต่เซียนอีกกลุ่มหนึ่งมองว่าแท้ แต่เผอิญว่า เซียนกลุ่มแรกเสียงดังกว่า พระที่แท้ก็กลายเป็นพระปลอมได้ ขณะเดียวกันพระที่ปลอมก็กลายเป็นพระแท้ได้เช่นกัน

สำหรับความเห็นที่ไม่ตรงกันขระหว่างกลุ่มผู้เล่นพระนั้น เสี่ยกล้า บอกว่า มีมาอย่างต่อเนื่อง ข้อเท็จจริงในการจัดสร้างพระสมเด็จวัดระฆังของสมเด็จพระพุ ฒาจารย์ (โต พรหมรังสี) ยังหาข้อยุติไม่ได้ว่าท่านลงมือสร้างเมื่อใด แต่ก็มีผู้สันนิษฐานที่แอบอ้างว่ามีการสร้างจำนวนน้อย เช่น อ้างว่ามี ๔ พิมพ์ทรง แต่ละพิมพ์ทรงมีเพียง ๔-๕ แบบบล็อกแม่พิมพ์เท่านั้น ซึ่งมีปัญหาว่าทั้งๆ ที่ผู้แอบอ้างว่ารู้ดีนั้นก็เกิดไม่ทันเหมือนกัน ทำไมจึงไม่คิดว่าแนวการเล่นของกลุ่มตนเป็นการเล่นในแนวที่คับแคบ หลงผิด หรือเล่นเพื่อผูกขาดตัดตอน เคยคิดบ้างไหมว่าแนวทางที่เล่นนั้นผิด ซึ่งเท่ากับว่าเป็นการทำลายบล็อกแม่พิมพ์อื่นๆ ที่สมเด็จโตสร้างขึ้นมา

โปรดใช้้วิจารณญาณ ในการอ่าน เพื่อการศึกษาให้รอบด้าน  การเกิดความสับสน มากขึ้นเท่าไหร่ ความมีมาตราฐานของพระแท้ ที่มีหลักฐานอ้างอิง ก็มีน้อยลง เพราะพระที่สร้างไม่ได้มีใคร เกิดในสมัยนั้น แต่เมื่อหลักฐานที่ใช้อ้างอิง กลับไม่มีมาตราฐานที่แน่นอน วงการพระปลอม พระเก้ ย่อมได้รับผลดี ไปโดยปริยาย 

ต่อไปขอนำเสนอแบบพิมพ์ ตามลำดับการสร้างของ สมเด็จโตตั้งแต่เริ่มแรก ตามบันทึกคำบอกเล่าของหลวงปู่คำ และการดูพระสมเด็จโต ของ ตรียัมปวาย ที่พอจะเป็นหลักฐานอ้างอิงได้จากหนังสือที่พิมพ์ขึ้น

วันอังคารที่ 13 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2561

การสร้างสมเด็จวัดระฆัง(๓)

พระสมเด็จวัดระฆัง พิมพ์ใหญ่ เนื้อตะกั่วถ้ำชา 
พระสมเด็จที่สำคัญและหายากอีกประเภทหนึ่งคือ พระสมเด็จเนื้อตะกั่วถ้ำชา หรือเนื้อห่อชา ซึ่งจากบันทึกของหลวงปู่คำ บันทึกว่าเป็นพระที่สมเด็จโตสร้างขึ้น ในครั้งแรกก่อนมาสร้างพระสมเด็จผง ท่านเจ้าประคุณสมเด็จโต ท่านนำเอาเนื้อตะกั่วที่ใช้สำหรับห่อใบชาที่นิยมในหมู่ชนชั้นสูงในขณะนั้น มาสร้างเป็นเนื้อพระสมเด็จ มีข้อสันนิษฐานหนึ่งว่า นอกจากเนื้อตะกั่วถ้ำชาแล้วยังผสมเนื้อเหล็กไหลไพลดำ พระสมเด็จเนื้อตะกั่วถ้ำชาที่สมเด็จโตสร้างมีจำนวนไม่มาก นักนิยมพระเครื่องหลายคนไม่ยอมรับว่าเป็นพระของสมเด็จโต แต่เซียนใหญ่หาเช่ากันแบบเงียบๆ

เนื้อตะกั่่วถ้ำชา คำว่า "ตะกั่่วถ้ำชา" มาจากกล่องหรือกระป๋องที่ใส่ใบชาในสมัยนั้นท่านเอาเศษที่เหลือใช้มาทำพระ พระตะกั่วถ้ำชานี้มี ๒ แบบคือ


๑.แบบทุบ ท่านจะเอาแผ่นตะกั่วบางๆมาทุบกดลงแม่พิมพ์เป็นทรงพระ แบบทุบนี้สามารถม้วนได้คนในสมัยนั้นบางคนที่ได้ไปก็เอาไปม้วนเป็นตะกรุดไว้คล้องคอ แบบทุบที่มีเนื้อหนาก็มี

๒.แบบหล่อท่านเอาเศษตะกั่วที่เหลือมาเทหลอม โดยใช้แม่พิมพ์ที่พิมพ์แล้วมากดกับดินเป็นแผง ๆละ ๒๐ พิมพ์ พอพิมพ์ดินแข็งตัวดีแล้ว ก็เทน้ำตะกั่วที่หลอมละลายลงบนพิมพ์ทิ้งให้เย็นแล้วเอามาตัดขอบให้เรียบร้อย

เสร็จแล้วจึงนำมาปลุกเสก พระพิมพ์ที่หล่อนี้จะมีความหนา พระเนื้อตะกั่วถ้ำชาเท่าที่สืบข้อมูล สันนิษฐานว่า ท่านทำครั้งแรกตอนอายุ ๒๖ ปี อาจจะมีก่อนหน้านี้ นอกจากที่ท่านทำแจกแล้วท่านยังได้นำไปบรรจุกรุด้วย

เช่นกรุวัดลครทำ กรุวัดบางขุนพรหมนอก (วัดอินทรวิหาร) กรุวัดเกศไชโย กรุที่จังหวัดอยุธยา

พระเนื้อตะกั่วถ้ำชาที่บรรจุกรุจะเกิดสนิมแดง

ถ้าไม่ได้บรรจุกรุก็จะเป็นสีดำอมเทา

พระสมเด็จเนื้อตะกั่วถ้ำชามีตำราหลายเล่ม โดยเฉพาะหนังสือนามานุกรมพระเครื่องของ อ.พินัย ศักดิ์เสนีย์ ระบุไว้ว่าสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี) สร้างไว้เมื่อครั้งครองวัดระฆังฯ โดยใช้ " แม่พิมพ์ยุคแรก " ก่อนที่หลวงวิจารณ์เจียรนัยแกะแม่พิมพ์ถวายให้ภายหลัง 

พระสมเด็จเนื้อตะกั่วถ้ำชาที่สมเด็จโตสร้างมีจำนวนไม่มาก นักนิยมพระเครื่องบางคน (ความจริงหลายคน) ไม่ยอมรับว่าเป็นพระของสมเด็จโต นอกจากนี้ยังมีพระสมเด็จเนื้อตะกั่วถ้ำชาอีกสำนักหนึ่งซึ่งมีอายุการสร้าง นานกว่าของสมเด็จโตก็คือ พระสมเด็จเนื้อตะกั่วถ้ำชาของวัดบวรมงคล (หรือชื่อเดิมคือ "วัดลิงขบ") แต่ของวัดบวรมงคลจะปิดทองมาแต่ในกรุทุกองค์และสีของตะกั่วจะแลดูคล้ำกว่า

นอกจากนี้เกจิดังยุคก่อนปัจจุบันคือ หลวงปู่โต๊ะ วัดประดู่ฉิมพลี ก็มีการนำตะกั่วชนิดนี้มาสร้างเป็นพระพิมพ์สมเด็จ แต่พิมพ์ทรงจะแตกต่างและเนื้อหายังสดใหม่ สามารถแยกแยะได้ไม่ยาก

ยังมีบางวัดนำตะกั่วชนิดนี้มาสร้างเป็นพระพิมพ์สมเด็จย้อนยุคอีกเหมือนกัน นอกจากพระสมเด็จเนื้อผงแล้ว

" วัดระฆัง " ถือว่าเป็นวัดอารามหลวงที่มีอายุเก่าแก่มาก สร้างมานานตั้งแต่สมัยอยุธยา แต่เดิมชื่อว่า วัดบางหว้าใหญ่ ครั้นต่อมาเมื่อกรุงรัตนโกสินทร์ สมัยสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช รัชกาลที่ ๑ ทางวัดทำการขุดสระน้ำภายในบริเวณวัดเพื่อสร้างหอเก็บพระไตร ได้ขุดพบระฆังทองเหลืองเก่าใบใหญ่ ซึ่งมีเสียงกังวานมาก และต่อมาภายหลังได้นำไปเก็บไว้ที่วัดพระศรีรัตนศาสดาราม (วัดพระแก้ว) ซึ่งต่อมาทำให้ชาวบ้านทั่วไปหันกลับมาเรียกวัดบางหว้าใหญ่ เป็นวัดระฆังเรื่อยๆ มาจนติดปาก และได้เปลี่ยนชื่อเป็นวัดระฆังในที่สุด จวบจนถึงปัจจุบันนี้ นี่แหละเป็นที่ไปที่มาของชื่อ
 "วัดระฆังโฆสิตารามวรมหาวิหาร"

การสร้างสมเด็จวัดระฆัง(๒)

หลักฐานล้ำค่า! เอกสารชิ้นสำคัญของประวัติศาสตร์พระเครื่อง! บันทึกหลวงปู่คำ วัดอัมรินทร์ ภิกษุผู้ช่วยสมเด็จโต สร้างพระสมเด็จ

หลวงปู่คำมีความใกล้ชิดกับเจ้าประคุณสมเด็จฯโต วัดระฆังโฆษิตาราม เจ้าประคุณสมเด็จฯโต เรียกท่านว่าหลวงพี่ ท่านไปช่วยเจ้าประคุณสมเด็จฯโตทำพระสมเด็จอยู่เสมอ เมื่อเจ้าประคุณสมเด็จฯโตมรณภาพแล้ว หลวงปู่คำ วัดอัมรินทร์ จึงรวบรวมพิมพ์พระต่างๆ ของหลวงปู่โต แล้วทำการบันทึกย่อสั้น ๆ ไว้ มีใจความว่า

…………“พ่อโตบวชพระเมื่อ พ.ศ.๒๓๕๐ เกิด ชาตะ ๒๓๓๐ บวชพระ ๖๕ พรรษา มรณะ ๒๔๑๕ บวชเณร ๘ พรรษา บวชตั้งแต่เป็นเณร พ.ศ.๒๓๔๒”

ตัวอักษรดำใหญ่เป็นบันทึกเพิ่มเติมภายหลังว่า

“แต่เป็นบันทึกของหลวงปู่คำ วัดอัมรินทร์ เขียนไว้ถี่ถ้วน เป็นที่เชื่อได้ เป็นประวัติอันแท้จริงของขรัวโตวัดระฆัง แล้วมาลอกต่อเมื่อหลวงปู่คำ วัดอัมรินทร์ ได้มรณภาพ ไปแล้ว ๔ ปี ในราว พ.ศ.๒๔๒๕ แล้วบันทึกนี้ตกอยู่ที่พระครูปลัดมิศร์ และนายพึ่ง ลูกนายเหลี่ยมบ้านช่างหล่อ ได้ไปขอปลัดมิศร์มาลอกเอาไว้ในราว ๒๔๓๙ แล้วนายจอม องค์ช่างหล่อ มาลอกครั้งสุดท้ายเมื่อ ๒๔๔๓

นายจอมเป็นหัวหน้ากองโรงกษาปณ์ ได้ลอกมาจากบ้านช่างหล่อ หลังวัดระฆัง เป็นหลานนายพึ่ง ปฏิมาประกร เคยเป็นเจ้ากรมกษาปณ์หรือช่างสิบหมู่สมัยนั้น ต่อมา หลานนายจอมได้ลอกมาไว้เป็นครั้งสุดท้าย พระคุณท่านได้เป็นพระวิปัสสนาสูง จะหาพระองค์ใดมาเปรียบมิได้”

อีกหน้าเป็นบันทึกของหลวงปู่คำ วัดอัมรินทร์ ต่ออีกว่า
 “พิมพ์พระสมเด็จทรงนิยมที่ชาวบ้านทั่วไปรู้จัก

✨พิมพ์ที่ ๑ ทรงพระประธาน มี ๕ พิมพ์ ๆ คะแนน ๑ พิมพ์
✨พิมพ์ที่ ๒ ทรงชายจีวร มี ๑๕ พิมพ์ ๆ คะแนน ๒ พิมพ์
✨พิมพ์ที่ ๓ อกร่องหูยานฐานแซม มี ๓ พิมพ์ ๆ คะแนน ๑ พิมพ์
✨พิมพ์ที่ ๔ เกศบัวตูม มี ๔ พิมพ์ ๆ คะแนน ๑ พิมพ์
✨พิมพ์ที่ ๕ ปรกโพธิ์มีพิมพ์ที่ไม่แตกมี ๕ พิมพ์ ๆ คะแนน ๑ พิมพ์
✨พิมพ์ที่ ๖ ฐานคู่มีพิมพ์ที่ไม่แตก มี ๓ พิมพ์ ๆ คะแนน ๑ พิมพ์
✨พิมพ์ที่ ๗ เส้นด้าย มี ๑๕ พิมพ์ ๆ คะแนน ๒ พิมพ์
✨พิมพ์ที่ ๘ สังฆาฏิ มี ๗ พิมพ์ ๆ คะแนน ๑ พิมพ์
✨พิมพ์ที่ ๙ หน้าโหนกอกครุฑ มี ๑๖ พิมพ์ ทั้งพิมพ์ใหญ่
✨พิมพ์ที่๑๐ พิมพ์ทรงเจดีย์ มี ๒ พิมพ์ ๆ คะแนน ๑ พิมพ์

เมื่อพระคุณท่านได้มรณภาพแล้ว รวมพิมพ์พระที่ไม่แตกชำรุดได้ ๑๖๔ พิมพ์
เป็นพิมพ์สมเด็จที่นิยมและไม่นิยม ๘๑ พิมพ์
นอกนั้นเป็นพิมพ์พระอย่างอื่นเสีย ๘๓ พิมพ์
แล้วที่แตกหัก ๘ ถาดทองเหลืองเต็ม ๆ
และพิมพ์ไกเซอร์ที่เสด็จยุโรป ๓๐๐ องค์ ๆ พิมพ์เป็นพระได้แจกให้พระเจ้าไกเซอ
🌟ต่อมาได้ทำพิมพ์เศียรบาตรขึ้นมาแทนพิมพ์ไกเซอ เพราะใครก็อยากได้พิมพ์ไกเซอ เลยเอาพิมพ์เศียรบาตรแทน ต่อมาคนได้เชื่อว่าพิมพ์นี้เป็นพิมพ์ไกเซอ แต่ความจริงไม่ใช่ พิมพ์ไกเซอองค์พระนั่งบนบัว”

วันจันทร์ที่ 12 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2561

การสร้างสมเด็จวัดระฆัง(๑)

การสร้างพระสมเด็จ (จากหนังสือตรียัมปวาย)
การสร้างพระสมเด็จ 
คราวที่สมเด็จโตได้จาริกไปที่เมืองพระตะบอง มีเจ้าเขมรองค์หนึ่ง ซึ่งสนิทกับเจ้าพระคุณสมเด็จ ได้ปรารภขอให้ท่านสร้างพระเครื่อง ของท่านขึ้นเอาไว้เคารพสักการบูชาป้องกันภัยอันตรายต่างๆ และเป็นเครื่องระลึกถึงท่านด้วย ดังนั้นหลังจากที่สมเด็จกลับจากพระตะบอง จึงเริ่มสร้างพระสมเด็จขึ้นเป็นครั้งแรก

ผงวิเศษ 5 ประการ 
คือ ผงอิธะเจ ผงปถมัง ผงมหาราช ผงพุทธคุณ และ ผงตรีนิสิงเห ผงทั้งห้านี้เรียนยากนักหนา หลวงปู่หินวัดระฆัง กล่าวว่า พระครูธรรมราช (เที่ยง) วัดระฆัง มีชีวิตอยู่ทันและเป็นศิษย์อายุมากกว่า พระธรรมถาวร และ สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (มรว.เจริญ) เล่าว่า เจ้าพระคุณสมเด็จ ได้เล่าเรียนการทำผง วิเศษ 5 ประการนี้ กับพระอาจารย์ แสง วัดมณีชลขันธ์ เรียนกันที่จังหวัดอยุธยา สมัยรัชกาลที่ 3 เจ้าพระคุณก็เคยหนีมาอยู่กับพระอาจารย์แสงที่อยุธยา

จำนวนการสร้างพระสมเด็จ
ครั้งแรกสร้างได้ครบ 84,000 องค์ แต่ครั้งหลังที่นำไปบรรจะที่วัดเกศไชโย อ่างทอง สร้างได้ไม่ครบ มีการนำพระที่สร้างครั้งแรกเป็นพิมพ์ 5 ชั้น 6 ชั้น 7 ชั้น ไปรวมให้ครบ เพื่ออุทิศกุศลให้โยมมารดา

ผู้ช่วยเหลือการสร้างพระสมเด็จ  
หลวงปู่หิน วัดระฆัง กล่าวตามที่ได้ทราบจากพระธรรมถาวร ว่า ผู้ช่วยบดผงและพิมพ์พระสมเด็จนั้น มีดังนี้
 1. พระธรรมถาวร
 2. หม่อมเจ้าสมเด็จพระพุฒาจารย์ ทัด สมัยที่ยังทรงเป็นที่ หม่อมเจ้าสมเด็จพระพุทธบาทปิลันทน์
 3. พระธรรมทานาจารย์ แนบ
 4. พระธรรมนุกูล (หลวงปู่ภู)
 5. พระครูเปี่ยม
 6. พระภิกษุ สามเณร เจ้าอาวาสในเขตที่ขึ้นกับเจ้าพระคุณ ตลอดจนชาวบ้าน และชาวจีนสำเพ็ง

วัสดุที่ใช้สร้างพระสมเด็จ  
หลวงศรีบาญ กล่าวว่า ได้รับทราบจาก หลวงศุภศิลป์ พระนัดดา (หลาน) ของเจ้าฟ้าอิศราพงษ์ (ต่อมาเป็น สมเด็จ กรมพระบำราบปรปักษ์ )อธิบดีกรมช้างวังหน้า ในสมัยรัชกาลที่ 5 ว่า “เสด็จปู่ของท่าน เป็นผู้หนึ่งที่ทรงออกแบบ พิมพ์พระสมเด็จ ท่านทรงประทานเล่าว่า มวลสารที่ใช้สร้างพระสมเด็จส่วนใหญ่เป็น ปูนขาว นอกจากนั้นเป็น ข้าวสุก และกล้วย ส่วนน้ำมันตังอิว นั้นใช้ผสมให้เนื้อทนทาน (แนะนำโดยหลวงวิจารณ์เจียรนัยช่างทองพระจอมเกล้า) 
การโขลกเนื้อผสม กระทำต่อหน้าเจ้าพระคุณสมเด็จ โดยเฉพาะเวลาท่านฉันเพล เจ้าพระคุณจะโรยผงวิเศษ ลงในครกใหญ่ใบหนึ่งที่มีมวลสารอยู่แล้ว เมือตำผสมผงวิเศษเข้ากันแล้ว เจ้าพระคุณจะควักออกมาแบ่งเท่า ๆ กันใส่ ในครกอื่น แล้วจึงนำมากดพิมพ์ต่อไป

 เนื้อพระสมเด็จ
 1.เนื้อผงใบลานเผา ทำน้อยมากเพราะเปลืองผงใบลาน เจ้าพระคุณจะนั่งจานใบลานตลอดเวลา พอมากๆ เข้าก็เอามาสุมไฟ คนที่เห็นก็ว่าท่านบ้า เป็นพิมพ์ปรกโพธิ์ มีทั้งโพธิ์เมล็ด และโพธิ์ใบ ท่านใช้ผสมในพระเนื้อปูนปั้นด้วย
 2.เนื้อชานหมาก พระอาจารย์ขวัญ กล่าวว่า ท่านสร้างพระเนื้อชานหมาก คู่กับเนื้อใบลานเผา แต่เนื้อชานหมาก เป็นพิมพ์ทรงพระประธาน (ทั้ง 2 เนื้อ เจ้าพระคุณได้ถวายรัชกาลที่ 5 และได้ทรงแจกข้าราชการในปี 2416 ปีระกาป่วงใหญ่ หลังสมเด็จมรณะ 1 ปี)
 3.เนื้อปูนน้ำมัน เหมือนพิมพ์ทรงนิยม แต่เนื้อฉ่ำคล้ายมีน้ำมันอยู่ แต่หาหลักฐานการสร้างไม่ได้

พิมพ์พระสมเด็จ 

1.พิมพ์ปรกโพธิ์หลังติดแผ่นกระดาน ของวัดระฆัง มักลงรักน้ำเกลี้ยง หรือ ลงทองล่องชาด หลังมีกระดานติดอยู่ ตามประวัติ เจ้าพระคุณ ได้ติดไว้กับแผ่นกระดาน แต่มรณภาพก่อน เจ้าสัวสอน หวยกข.สมัยรัชกาลที่ 5 (คนละคนกับเจ้าสัวหง) ได้เอาไปติดที่หน้าจั่วบ้านเพื่อเป็นศิริมงคล เมือเจ้าสัวสอนเสียชีวิต ญาติได้รื้อบ้านถวายวัดจักรวรรดิ ต่อมามีคนแกะพระออกจากกระดาน แต่แตกเสียหายจ จึงตัดไม้ตามขนาดพระแล้วฝนกระดานให้บาง
2.พิมพ์อกครุฑเศียรบาตร (พิมพ์ไกเซอร์) เป็นพิมพ์ที่เจ้าพระคุณแกะแม่พิมพ์เอง พระดูเทอะทะ โบราณ คราวรัชกาลที่ 5 เสด็จประพาสยุโรป พระเจ้าไกเซอร์ เยอรมัน ทรงเห็นแสงเรืองๆ ออกมาจากกระเป๋าเสื้อของสมเด็จพระพุทธเจ้าหลวง ทรงถามว่าในกระเป๋ามีอะไร สมเด็จพระพุทธเจ้าหลวง ทรงหยิบพระสมเด็จออกมา พระเจ้าไกเซอร์แปลกพระทัยมาก รับสั่งว่า ปูนหรือ ประหลาดจริงมีแสงสว่างได้ จึงได้ทรงถวายไป และได้รับเกียรติว่า พิมพ์ไกเซอร์แต่นั้นมา

พิมพ์ทรงพิเศษ
พระธรรมถาวรเคยเล่าว่า ครั้งแรกทีเดียว เจ้าพระคุณสมเด็จ สร้างพระแบบ หลังเบี้ย ก่อนต่อมาจึงสร้างแบบสี่เหลี่ยมดินเผา และเนื้อตะกั่วถ้ำชา แต่คนไม่นิยมเหมือนเนื้อผง จึงเลิกสร้างไป และเมื่อแรกๆนั้น เจ้าพระคุณได้ถ่ายทอดแบบพระที่เป็นที่นิยมมาก่อนเช่น พระขุนแผน พระนางพญา พระกำแพงทุ่งเศรษฐี เป็นต้น นอกจากนี้ยังมีคนมาเสนอแบบอีกมากมาย เช่น แบบใบโพธิ์ แบบหลังเบี้ย แบบหลังไข่ผ่า แบบจุฬามณี (รูปพระเกศธาตุเจดีย์ มีม่านแหวก ไม่มีองค์พระ) รวมแบบแปลกๆ เหล่านี้ ได้ทั้งหมด 73 แบบ

แบบพิมพ์ทรงพิเศษวังหน้า หลวงศุภศิลป์ เล่าว่า เจ้าฟ้าอิศรพงศ์ (สมเด็จกรมพระบำราบปรปักษ์)เสด็จปู่ทวดของท่านได้เคยอออกแบบ พระสำเด็จเพื่อสร้างถวาย เจ้านายวังหน้า หม่อมเจ้าประสิทธิ์ศักดิ์ จรูญโรจน์ ทรงมีพระสี่เหลี่ยมขนาดเขื่อง เนื้อผงใบลานเผาอยู่ 2 องค์ เป็นการสร้างแต่จำนวนน้อยและแตกหักเสียมาก ในการสร้างในระยะเริ่มแรก ไม่นิยมโดยทั่วไป

พระหลวงพ่อโต เจ้าพระคุณสมเด็จได้สร้างก่อนพระสี่เหลี่ยม แต่เป็นเนื้อดินเผา ขนาด 1 ใน 3 ของหลวงพ่อโต บางกระทิง อยุธยา ค่อนข้างชะลูด ยอดแหลม ไม่ป้านเหมือนอยุธยา องค์พระไม่ล่ำสันขึงขัง สร้างเมื่อครองสมณศักดิ์ที่พระธรรมกิตติ โดยติดกระดานไว้จะประดับโบถ์วัดระฆัง ภายหลังเมื่อท่านสิ้นแล้วมีคนแกะเอาไปหมดเขาว่าดีทางคงกระพัน

การลงรักปิดทอง เจ้าพระคุณได้รับทอง จากคราวเทศน์ที่บ้านตีทอง จึงนำมาปิดพระโดยไม่ได้ปิดว่าเป็นพระคะแนนหรือเป็นพิเศษอะไร ก็ปิดไปตามทองที่มีนั้นเอง

การปลุกเสก
ในเวลาเย็น หลังการทำวัตรสวดมนต์แล้ว ท่านเจ้าพระคุณจะเอาพระสมเด็จ ที่ตากแห้งแล้วใส่บาตรปลุกเสกทุกวันท่านจำวัดที่หอสวดมนต์ บนนั้นจึงมีพระบาตรพระตั้งอยู่เกลื่อนกลาด พระอาจารย์ขวัญกล่าวว่าท่านให้พระช่วยกันปลุกเสกทุกวัน

ตรียัมปวาย ได้จัดพิมพ์ตำราพิจารณาพระสมเด็จ เล่มแรกของประเทศไทย ประมาณ ๖๐๐ หน้า เมื่อ พ.ศ.๒๔๙๕ ซึ่งนับถึงวันนี้รวมเป็นเวลา ๖๐ ปีแล้ว ถือเป็นหนังสือพระสมเด็จแห่งวงการเล่มแรกที่สมบูรณ์ที่สุดของวงการพระเครื่อง

"หนังสือพระสมเด็จฯ" เป็นหนังสือที่เรียบเรียงโดย ตรียัมปวาย หรือพันเอก ผจญ กิตติประวัติ หรือ อ.ตรียัมปวาย ผู้บัญญัติศัพท์ เบญจภาคี อันโด่งดัง เป็นหนังสือเชิงวิชาการรวบรวมชีวประวัติของสมเด็จพระพุฒาจารย์โต พรหมรังสี และตำนานการสร้างพระสมเด็จฯ โดยได้กล่าวไว้ทั้งสามวัดอย่างละเอียด พร้อมด้วยรูปภาพประกอบ (ขาว-ดำ)

สมเด็จวัดระฆังปลอม

พระสมเด็จวัดระฆังมีการปลอมขึ้นด้วยหลากหลายวิธี  กรรมวิธีการปลอมเพื่อทำให้ดูเนื้อมวลสารให้เหมือนหรือใกล้เคียงกับพระสมเด็จองค์จริง
จึงต้องใช้ประสบการณ์ ความรู้ ที่ต้องศึกษาหารายละเอียดต่างๆในเรื่องเกี่ยวกับ พระสมเด็จวัดระฆัง
ภาพถ่ายเป็นเพียงส่วนหนึ่งเท่านั้น ต้องใช้วิจารณญาณของตนเองในการดู ศึกษา ค้นคว้า และ สิ่งที่นำมาเสนอเป็นเพียงส่วนหนึ่งเท่านั้น และโอกาสต่อไปจะได้นำเสนอถึงสมเด็จวัดระฆัง ที่เป็นของแท้ มาตราฐานสากล พร้อมถึงการดูและอธิบายถึงการสังเกตุพระองค์นั้นๆ

พระสมเด็จวัดระฆังปลอมเนื้อเรซินองค์ที่หนึ่ง

พระสมเด็จวัดระฆังปลอมเนื้อเรซินองค์ที่สอง

เลียนเเบบปลอมพระสมเด็จวัดระฆังของคนดังที่ครอบครองอยู่

พระสมเด็จวัดระฆังปลอม
ส่วนภาพล่างเป็นพระทำเลียนเเบบสมเด็จวัดระฆังซึ่งเป็นพระทำใหม่ไม่ทันเนื้อวัดระฆังมวลสารไม่มีปรากฎความธรรมชาติไม่มีเเต่ความเเตกระเเหงผิดธรรมชาติ มีเเต่ความเเห้งกระด้างกับความใหม่ในองค์พระการตอกตัดขอบองค์พระก็ไม่ปรากฎ

ภาพล่างเป็นสมเด็จเนื้อเก่าความหนึกนุ่มไม่มี มีเเต่ความเเข็งกระด้างเเละไม่ปรากฎมวลสารเเบบมาตรฐาน สากลนิยม องค์นี้เนื้อหาเก่าคล้ายโดนสารเคมีทางวิทยาศาสตร์มาหรือโดนล้างมา
หรือเเกล้งทำให้เก่าซึ่งพอสังเกตุได้ดังนี้ ถ้าบอกว่าล้อพิมพ์ใหญ่ก็ไม่น่าไช่เพราะทรงพิมพ์ไม่ไปทางมาตรฐานตามหลักสากลนิยมเลยถ้าจะล้อจริงก็ทำไมไม่ล้อเเบบพิมพ์นิยมเเต่พิมพ์เป็นไปตามธรรมชาติมากกว่านั้นคือการทำพิมพ์มาใหม่เเต่ไม่ไช่พิมพ์นิยมเเล้วทำให้เก่าโดยใช้สารเคมี นั้นหมายถึงถ้าลองเปรียบ เทียบดูซึ่งเนื้อหาเเบบนี้ยังไม่ปรากฎในพระสมเด็จวัดระฆัง มาตรฐาน สากลนิยมเลย

พระสมเด็จวัดระฆังปลอมอีกชนิดหนึ่งคือการการเอาเนื้อผงที่ใกล้เคียงกับพระสมเด็จวัดระฆัง มาแกะสลัก ตัด แกะ เซาะร่องตกเเต่งเนื้อองค์พระ เเต่ก็สังเกตุได้ไม่ยากสำหรับเรื่องนี้เนื้อหาอาจใกล้เคียง เเต่ธรรมชาติในการเกิดบนเนื้อองค์ไม่ว่าจะเป็นมวลสารความมีมิติเนื้อหากับพิมพ์บนองค์พระจะยังไม่ได้ตามแบบมาตราฐาน ความคมจากบล๊อกเเม่พิมพ์กับการเกิดจากน้ำมือมนุษย์ไม่เหมือนกันอยู่เเล้วเเต่จะไปใกล้เคียงกับพระสมเด็จวัดระฆังที่สภาพใช้แล้ว
ฉะนั้นเรื่องนี้ต้องพิจารณาเเละใช้วิจารณญาณให้รอบคอบก่อนจะตัดสินใจอะไรลงไป เรื่องนี้เป็นเรื่องอันตรายเพราะระบาดหนักมานานเเล้ว






เปรียบเทียบเนื้อเก่าเเตกลายเเบบธรรมชาติกับเนื้อผงเเตกลายใหม่หรือทำให้เกิดเเละเนื้อที่สร้างขึ้นใหม่ซึ่งจะเเตกต่างกับเนื้อเก่าอย่างเห็นได้ชัด
พระสมเด็จวัดระฆังพิมพ์เจดีย์เเท้ที่วงการยอมรับ ซึ่งสังเกตุว่าการเเตกจะไม่เหมือนกันระหว่างเนื้อธรรมชาติเเตกลายกับเนื้อของเลียนเเบบให้เเตกลาย

✨เป็นเพียงความเห็นของเซียนพระที่นำเสนอ จึงต้องใช้วิจารณญาณ ของตนเองเป็นหลัก อย่าไปเชื่อในสิ่งที่เราไม่รู้มาก่อน เพราะปัจจุบันมีการปั่นราคาพระและกีดกันพระ เพื่อผลประโยชน์ในเชิงการค้าเป็นหลัก

✨ ในเมื่อตำนานบอกเล่าเอาไว้มีพระสมเด็จวัดระฆังที่ท่านได้สร้างและแจกไปเรื่อยๆ มีจำนวน 84,000 องค์ และถ้ามีจำนวนนั้นจริงๆ ราคาจะเป็นองค์ละ 10 หรือ 100 ล้านได้หรือไม่ การทำให้พระจริงมาตราฐานตามแบบที่ท่านสมเด็จสร้างมีจำนวนน้อยเท่าไหร่ ย่อมทำให้ราคาแพงเพิ่มขึ้นไปเรื่อยๆตามความต้องการและผู้นิยมสะสม ดังนั้นถึงจะแท้ถ้าไม่ได้ตกอยู่ในกลุ่มหรือมือเซียนที่เป็นตัวกำหนดมาตราฐาน จะตีเป็นพระเก๊ พระปลอม นอกจากนั้นยังมีปัจจัยอื่นๆอีกมากมาย ที่ทำให้คนรุ่นหลังสับสน และเกิดความไม่เชื่อหรือไม่มั่นใจ ในเรื่องการดูพระของเซียนที่รอบรู้เหล่านั้น เมื่อพระเครื่อง พระบูชา เป็นพุทธพาณิชย์ ไปแล้วในปัจจุบัน