ประกาศข่าวประชาสัมพันธ์ ทุกองค์ความรู้ เกิดขึ้นจากความเชื่อและศรัทธา นำไปสู่การแสวงหาพระเครื่องมาเพื่อสะสมและบูชา

วันจันทร์ที่ 12 มีนาคม พ.ศ. 2561

ประวัติพระผงสุพรรณ

พระผงสุพรรณ เป็นยอดพระเครื่องฯ ในชุดเบญจภาคีที่มีค่าเป็นอันดับหนึ่ง ในเมืองสุพรรณ แต่ปัจจุบันนี้หาได้ยาก (มีของปลอมจำนวนมาก )


ตำนานการสร้าง
ตำนานการสร้างพระผงสุพรรณนั้น ท่านอาจารย์กลิ่น วัดจักรวรรดิ์ ฯ จังหวัดพระนคร ได้บอกเล่าว่าท่านมหาชื้น วัดจักรวรรดิ์ ฯ เป็นผู้ตัดต่อจากลานทอง ที่ปรางวัดพระธาตุ อำเภอเมือง จังหวัดสุพรรณบุรี เมื่อปี พ,ศ ๒๔๕๓ มีใจความดังนี้ คือ

ศุภมัสดุ ๑๒๖๕ สิทธิการิยะแสดงบาทไว้ให้รู้ว่ามีฤาษีพิลาลัยเป็นประธาน เราจะทำด้วยฤทธิ์ ทำเครื่องประดิษฐ์มีสุวรรณ เป็นต้น คือ พระบรมกษัตริย์ พระศรีธรรมาโศกราชเป็นผู้ศรัทธา ฤาษีทั้ง ๔ ตน จึงพร้อมใจกันนำเอาแร่ว่านทั้งหลายอันมีฤทธิ์กับแร่ต่างๆ ครั้งได้แล้วพระฤาษี จึงอันเชิญเทพยดา เข้ามาช่วยกันทำพิธีเป็น พระพิมพ์สถานหนึ่ง สถานหนึ่งแดง ได้เอาว่านทำผงปั้นพิมพ์ด้วยลายมือ พระมหาเถรปิยทัสสะดิสศรีสาริบุตร คือเป็นใหญ่ เป็นประธานในที่นั้น ได้อาแร่ต่างๆ ซัดยาสำเร็จแล้วให้นามว่า “แร่สังฆวานร “ ได้หล่อเป็นพิมพ์ต่างๆ มีอานุภาพต่างๆกัน เสกด้วยมนต์คาถาครบ ๓ เดือน แล้วเอาไปประดิษฐานไว้ในสถูปใหญ่แห่งเมืองพรรธม ถ้าผู้ใดได้พบให้รีบเอาไปสักการบูชาเป็นของวิเศษนักแล ฯ

กรุแตกเมื่อปี พ. ศ. ๒๔๕๖
นาย พิน ฯ ได้เล่าว่า ในปี พ. ศ ๒๔๕๖ สมัยนั้นตนยังเป็นเด็กลูกวัดอยู่ ต่อมาได้มีพระดงค์รูปหนึ่งมาถามแกว่า วัด “พระธาตุไปทางไหน” นายพิน ฯ ก็ชี้บอกทางให้ ครั้งภายหลัง นายพินฯ จึงมาทราบว่าพระธุดงค์รูปนั้นได้ลายแทงมาขุดหาสมบัติ ของสำคัญได้ผอบทองคำไปใบหนึ่ง และมิได้นำอะไรไปจากกรุเลย แต่ชาวจีนที่พระธุดงค์จ้างมาขุด กับได้พระเครื่องฯ ต่างๆไปเป็นอันมาก อาทิเช่นพระผงสุพรรณ พระกำแพงศอก ฯลฯ แล้วนำออกเร่ขาย ความทราบถึงเจ้าหน้าที่ฝ่ายบ้านเมืองก็รีบไปจัดการอุดช่องที่เจาะพระปรางค์วัดพระศรีรัตนมหาธาตุเสีย

ในปี พ.ศ.๒๔๕๖ (ปีเดียวกับกรุแตก ) พระยาสุนทรบุรี (อี้ กรรณสูต ) ผู้ว่าราชการจังหวัด ได้นำเสด็จพระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัวไปเปิดกรุได้พบลายแทงแผ่นลายเงิน-ทอง จารึกอักษรขอม
ครั้งต่อมาพระยาสุนทรบุรี ได้นำเอาพระผงสุพรรณ ขึ้นถวายตลอดจนพระเครื่อง ฯ กรุพระปรางค์วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ แด่ล้นเกล้า ฯ ร. ๖

อภินิหาร
สมัยก่อนโน้น ชาวเมืองสุพรรณนิยม กีฬาชนควาย พนันกัน เอาเงินเอาทองและเล่นกันมาก ประจวบกับในระหว่างนั้น พระผงสุพรรณนั้นมีมาก และไม่มีมูลค่า(ราคาของเงิน )เหมือนเช่นปัจบันนี้ จึงได้นำเอาพระผงสุพรรณองค์ที่แตกหัก ไปป่นให้ละเอียด ผสมคลุกกับหญ้าให้ควายกิน แล้วนำควายไปชนกัน ปรากฏว่า ควายที่กินเศษผงพระผงสุพรรณเข้าไป ขวิดได้ดีมาก และหนังเหนียวเสียด้วย เป็นที่อัศจรรย์ยิ่งนัก

วิธีการอาราธนา-การใช้
ให้เอาพระผงสุพรรณสรงน้ำหอม นั่งบริกรรม พุทธคุณ, ธรรมคุณ, สังฆคุณ ๑๐๘ จบ สวดพาหุง ๓ จบ
ให้เก็บน้ำมันหอมไว้ใช้ได้เสมอ และถ้าจะให้เพิ่มความขลังให้ว่าบทดังนี้อีกกลั้นลมหายใจให้เป็นสมาธิเพื่อความขลังยิ่งขึ้นว่า คะเต ลิก เก กะระณังมะหา ชัยยังมังคะลัง นะมะพะทะ กิริมิติ กุรุมุธุ เกเรเมเถ กะระมะถะ ประสิทธิ์นักแลฯ

ลักษณะพระผงสุพรรณ
- กรอบ เป็นรูปสามเหลี่ยม ยอดตัด ( ตัดด้วยตอก )ตลอดจนขอบข้าง
- แบบชนิดคล้ายพระนางพญาก็มี แต่มีน้อยมาก พระวรกาย เป็นพระพุทธรูป ศิลป์สมัยอู่ทอง
- แบบพิมพ์ที่มารตฐาน มี ๓ แบบคือ พิมพ์หน้าแก่ พิมพ์หน้ากลาง และ พิมพ์หน้าหนุ่ม
- พระเกศ ซ้อนกัน ๓ชั้น พระกรรณ หย่อนยาน ปลายพระกรรณซ้ายหักเข้ามุมใน ต้นของพระกรรณติดกับพระเศียร คล้ายหูแพะ พระอุระ คล้ายหัวช้าง พระอุทร แฟบ ด้านหลังจะปรากฏรอยนิ้วมือเกือบทุกองค์
- พระผงสุพรรณ มีสีที่แตกต่างกัน ถึง ๔ สี คือ ๑ สีดำ ๒ สีแดง ๓ สีเขียว ๔ สีพิกุลแห้ง

**พระพุทธคุณนั้น ใช้ดีในทางเมตตามหานิยม คงกระพัน ตลอดจน แคล้ว และคงกระพันชาตรี**


พระผงสุพรรณ
พระผงสุพรรณ กรุวัดพระศรีรัตนมหาธาตุ สุพรรณบุรี
พระผงสุพรรณ เป็นพระเครื่องที่พบในกรุวัดพระศรีรัตนมหาธาตุ จ.สุพรรณบุรี เป็นพระเครื่องเนื้อดินเผา จำลองพุทธลักษณะองค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้าในลักษณะการปางมารวิชัย แบ่งแยกแม่พิมพ์ได้เป็นพิมพ์หน้าแก่ พิมพ์หน้ากลาง และพิมพ์หน้าหนุ่ม (สมัยโบราณเรียกพิมพ์หน้าหนู)

พระผงสุพรรณ พิมพ์หน้าหนุ่ม
เอกลักษณ์พระผงสุพรรณ

องค์พระประทับนั่งปางมารวิชัย บนฐานเชียงชั้นเดียว พระเกศคล้ายฝาละมี มีกระจังหน้า พระพักตร์เคร่งขรึม พระนาสิกหนาใหญ่ พระอุระหนา ส่วนพระการทอดเรียว แสดงออกถึงศิลปะสกุลช่างอู่ทองที่เน้นความละม้ายคล้ายคลึงกับมนุษย์มากที่สุด ด้วยเหตุนี้ เมื่อพบพิมพ์พระ ๓ ประเภท จึงเรียกชื่อตามลักษณะพระพักตร์และตามศิลปะสกุลช่างแห่งพระพุทธรูปที่พระพักตร์เหี่ยวย่นเหมือนคนแก่ เรียกว่า พิมพ์หน้าแก่ ที่พระพักตร์อิ่มเอิบเรียวเล็ก ปราศจากรอยเหี่ยวย่น เรียกว่าพิมพ์หน้าหนุ่ม พิมพ์หน้าหนุ่มพิมพ์หน้าหนุ่ม พิมพ์หน้ากลางพืมพ์หน้ากลาง พิมพ์หน้าแก่ พิมพ์หน้าแก่

พระผงสุพรรณ พิมพ์หน้ากลาง

การสร้างและมวลสาร
พระผงสุพรรณ เป็นพระเครื่องที่มีส่วนผสมวัสดุมวลสารจากดินละเอียด ว่าน และเกสรต่าง ๆ คนโบราณเรียกว่า “พระเกสรสุพรรณ” จะสังเกตได้ว่าเนื้อดินของพระผงสุพรรณเป็นเนื้อดินค่อนข้างละเอียด หากเปรียบเทียบกับพระนางพญากรุวัดนางพญา จ.พิษณุโลก แล้วจะเห็นว่าเนื้อพระผงสุพรรณจะละเอียดกว่า แต่ไม่ละเอียดมากเหมือน พระรอดกรุวัดมหาวัน จ.ลำพูน ซึ่งดินที่ใช้เป็นดินในบริเวณจังหวัดสุพรรณบุรี ซึ่งดินแต่ละที่จะมีเอกลักษณ์ไม่เหมือนกัน สำหรับปัญหาที่ว่า หากผสมว่านเมื่อพระผ่านการเผา มวลสารของว่านจะไม่สามารถทนอุณหภูมิความร้อนได้ ต้องย่อยสลายไปนั้น หากพิจารณาแล้วในองค์พระผงสุพรรณก็ไม่ปรากฏโพรงอากาศอันเกิดจากการย่อยสลายของเนื้อว่าน แต่อย่างใดนั้น ต้องพิจารณาถึงกรรมวิธีการสร้างพระของโบราณาจารย์เป็นสำคัญว่า มีหลายวิธี วิธีประการหนึ่งซึ่งพบหลักฐานในการนำว่านผงเกสรมงคล ๑๐๘ มาเป็นวัตถุมงคลในการสร้างพระ ได้แก่ การนำหัวว่านมงคลต่าง ๆ มาคั้นเอาน้ำว่านเป็นส่วนผสมเข้ากับมวลสารอื่น ๆ ซึ่งจะพบว่าพระผงสุพรรณนั้นมีความหนึกนุ่ม และซึ้งจัด หากได้โดนเหงื่อโคลนแล้ว ยิ่งขึ้นเป็นมันเงางามอย่างที่คนโบราณเรียกว่า “แก่ว่าน” ซึ่งได้แก่การคั้นน้ำว่านผสมลงไป ดังนั้น เมื่อผ่านการเผาจึงมิได้เกิดการย่อย สลายของเนื้อ

และเนื่องจากพระผงสุพรรณเนื้อดินเป็นพระที่ผ่านการเผาไฟ สีสันขององค์พระจึงเป็นเฉกเช่นเดียว กับพระเนื้อดินที่ผ่านการเผาประเภทอื่น ๆ คือ มีตั้งแต่สีเขียวที่ถูกเผาในอุณหภูมิสูงและนานที่สุด สีแดง สีมอย สีน้ำเงินเข้ม สีเทา ไปจนถึงสีดำ


พระผงสุพรรณ พิมพ์หน้าแก่

การเผาโดยวิธีควบคุมอุณหภูมิส่งผลให้พระผงสุพรรณมีสภาพความแกร่งคมชัด ไม่หักเปราะง่าย แม้จะผ่านกาลเวลาเป็นนาน คนโบราณ จะใช้วิธีสังเกตสีของเปลวไฟที่ลุกไหม้ เป็นหลักในการควบคุมอุณหภูมิการเผาจากการวิเคราะห์ทางวิทยาศาสตร์พบว่า

- ไฟที่มีสีแดงจัดจ้า อุณหภูมิประมาณ ๘๐๐ องศาเซนเซียส
- ไฟที่มีสีแดงธรรมดา อุณหภูมิประมาณ ๘๘๐ องศาเซนเซียส
- ไฟสีส้ม อุณหภูมิประมาณ ๙๕๐ - ๑๑๐๐ องศาเซนเซียส
- ไฟสีนวล อุณหภูมิประมาณ ๑,๓๐๐ องศาเซนเซียส
- ไฟสีเขียว อุณหภูมิประมาณ ๑,๓๐๐ - ๑,๔๐๐ องศาเซนเซียส

พระผงสุพรรณ จะใช้วิธีการเผา โดยควบคุมอุณหภูมิที่ ๑๑๐๐ - ๑๓๐๐ องศาเซนเซียส องพระจะแกร่งส่วนใหญ่จะมีสีแดง ส่วนสีอื่น ๆ ขึ้นอยู่กับการถูกความร้อนมาก - น้อย ต่าง ๆ กัน (ขอบคุณข้อมูลของ อิทธิปาฏิหารย์พระเครื่อง)

เหตุที่เรียกว่า “ผงสุพรรณ”ทั้งๆที่เป็นพระเนื้อดิน เนื่องจากการค้นพบจารึกลานทองกล่าวถึงการสร้างจากผงว่านเกสรดอกไม้อันศักดิ์สิทธิ์ จึงได้รับการเรียกขานกันว่า “ผงสุพรรณ”เรื่อยมา สามารถจำแนกได้เป็น ๓ พิมพ์

๑. พระผงสุพรรณ พิมพ์หน้าแก่
๒. พระผงสุพรรณ พิมพ์หน้ากลาง
๓. พระผงสุพรรณ พิมพ์หน้าหนุ่ม

วันศุกร์ที่ 9 มีนาคม พ.ศ. 2561

พระหลวงพ่อปาน

พระหลวงพ่อปาน พิมพ์ทรงหนุมาน นั้น ปรากฏพุทธคุณทางด้านการปกครอง แคล้วคลาด และคงกระพันชาตรี จึงเหมาะอย่างยิ่งสำหรับ ข้าราชการ ทหาร และตำรวจ

พระหลวงพ่อปาน พิมพ์ทรงหนุมาน ยังแบ่งแยกพิมพ์ย่อยออกไปอีก เป็น พระหลวงพ่อปาน พิมพ์ทรงหนุมานใหญ่, พระหลวงพ่อปาน พิมพ์ทรงหนุมานเล็ก หาวเป็นดาวเป็นเดือน และ พระหลวงพ่อปาน พิมพ์ทรงหนุมานแบกแท่น ซึ่งในแต่ละพิมพ์ก็จะมีจุดตำหนิการพิจารณาที่แตกต่างกันไป



พระหลวงพ่อปาน พิมพ์ทรงหนุมานใหญ่ มีจุดชี้ตำหนิดังนี้
✨ องค์พระประธานแลดูล่ำสัน
✨พระเกศจะเป็นตุ่มนูน เกยพาดเส้นซุ้มด้านบน
✨ มีเส้นพิมพ์แตกที่ตัว ‘อะ’ ทางด้านขวาขององค์พระ รูปร่างคล้ายนกบิน และเส้นพิมพ์แตกจากขอบแม่พิมพ์โค้งขึ้นไปชนหัวตัว ‘อะ’
✨ ด้านซ้ายขององค์พระ ปลายหางตัว ‘มะ’ จะต่อติดกับพระกรรณ และมีเส้นต่อโค้งไปชนกับขอบแม่พิมพ์ด้านซ้ายมือขององค์พระ
✨ องค์ที่ติดชัด ที่หน้าหนุมาน จะสังเกตเห็นเส้นลากจากดั้งจมูกลงมาล้อมขอบตา
✨ นิ้วหัวแม่มือด้านซ้ายของหนุมานจะแหลมคมคล้ายหนาม และปลายนิ้วมือแอ่นโค้งชนเส้นขอบแม่พิมพ์
✨ เส้นขอบแม่พิมพ์ด้านล่างขวามือขององค์พระแกะเกิน และมีเนื้อเกินในวงกลมเล็ก - ปลายนิ้วเท้าด้านขวาของหนุมานจิกลงเชื่อมต่อกับเส้นปลายผ้า


ส่วน พระหลวงพ่อปาน พิมพ์ทรงหนุมานเล็ก หาวเป็นดาวเป็นเดือน หนุมานจะมีรูปร่างเล็กกว่าพิมพ์ใหญ่ และทำท่าทางคล้ายเหาะเหินในอากาศ สำแดงอิทธิฤทธิ์อ้าปากกว้างเหมือนกำลังหาว เป็นดาวเป็นเดือน การพิจารณาตำหนิแม่พิมพ์ มีดังนี้
✨ องค์พระประธานบอบบางกว่าพิมพ์ใหญ่
✨ พระเกศมาลาอยู่ห่างจากเกล้าพระเมาลี
✨ ลำพระองค์ทั้งสองด้านจะผายออกและเว้าโค้งด้านล่างปรากฏชัดเจน - หัวตัว ‘อุ’ ด้านขวาขององค์พระมีเส้นแตกเป็นขีด
✨ด้านข้างของตัว ‘มะ’ ทางด้านขวาขององค์พระจะมีเส้นแตกเฉียงลางๆ
✨ มุมขยักที่ตัว ‘อุ’ ด้านซ้ายขององค์พระเป็นเส้นขีดแหลมยาว
✨ กลีบบัวล่างกลีบที่ 2 ทางด้านขวาขององค์พระ จะเป็นกลีบเส้นคู่ขนาน
✨ ศีรษะด้านหลังของหนุมานจะมีติ่งแหลมคมและชัด
✨ หางหนุมานยาวจรดส้นเท้าขวา
✨ ระหว่างขาทั้งสองของหนุมาน จะมีตุ่มนูนอยู่ที่พื้น

 เหลือ พระหลวงพ่อปาน พิมพ์ทรงหนุมานแบกแท่น ติดตามดูจุดชี้ตำหนิแม่พิมพ์ได้ที่นี่

ที่มา : โดย อ.ราม วัชรประดิษฐ์

การดูพระหลวงพ่อปาน วัดบางนมโค
✨1.จำพิมพ์ให้แม่นจำก่อนครับ
✨2.มารู้จักกรรมวิธีการสร้าง
✸2.1 เตรียมดินพระท่านมีการกรองดินครับ
✸2.2 เอากรวดทรายเม็ดใหญ่ๆออก
✸2.3 กดพิมพ์ ก่อนกดโรยแป้งที่พิมพ์ สังเกตุองค์ที่สวยสมบูรณ์มีคราบแป้งให้เห็นครับ
✸2.4 ปาด จะสังเกตุได้คือด้านหลังจะมีรอยปาดอาจจะบนลงล่างหรือล่างขึ้นบนก็ได้ มีทุกองค์ **ข้อสังเกตุหลัก** เม็ดทราย ขาวๆเล็กที่เหลือจากการกรองดิน มีให้เห็นตามรอยปาด
✸2.5 รู ด้านบนนั้นคือการเสียบเอาออกจากพิมพ์ไปเผา
✸2.6 เผา เอาเข้าเตาเผาสำคัญคือถ้ารอยอุดผงเป็นเนื้อเดียวกันกับพระ อุดแล้วเผา (เก๊ครับ)
✸2.7 อุดผง ลำดับสุดท้ายครับ

แบ่งปันความรู้  โดย อ. ยศ พลับพลาชัย

วันพุธที่ 7 มีนาคม พ.ศ. 2561

ผู้นิยมพระเครื่องและพระแท้ พระปลอม พระอนุรักษ์

ขอเขียนเพื่อความรู้ ให้ผู้ที่สนใจ ได้รับรู้ เกี่ยวกับผู้นิยมพระเครื่อง พระบูชา เพื่อเป็นแนวทางว่าตนเองเป็นอย่างไร ขอแบ่งประเภทได้ตามนี้


✨1.เซียนพระ ผู้ที่มีความชำนาญ มีประสบการณ์ ในการดูพระเครื่อง รูปร่าง ลักษณะของพระเครื่องที่ตนศึกษามาอย่างดี แบ่งเป็น 2 กลุ่ม
1.1 กลุ่มสะสม เน้นให้ความรู้กับผู้ที่ศึกษาและสะสม ใหม่ ตามความรู้ ที่ตนเองมี เป็นครูผู้สอนให้เซียนรุ่นหลัง
1.2 กลุ่มสะสมและให้เช่าบูชา กลุ่มนี้เน้นเรื่อง ศึกษาพระเพื่อสร้างรายได้ให้กับตนเอง กลุ่มนี้มักไม่ได้ให้คำแนะนำที่เปิดเผยทั้งหมด เพราะต้องการพระมาเก็บสะสมไว้ในราคาถูกและปล่อยเช่าบูชาในราคาที่แพง




✨2.ผู้นิยมสะสมและอนุรักษ์ พระเครื่อง พระบูชา แบ่งเป็น
2.1 กลุ่มนิยมสะสม พระที่เป็นที่นิยมทั่วไป เน้นพระแท้ แบบพิมพ์สวยงาม ส่วนใหญ่เป็นพระมีราคาแพงๆ
2.2 กลุ่มนิยมสะสม พระที่ตนเองชื่นชอบ ทั้งพระเก่า พระใหม่ มักไม่เลือกเฉพาะเจาะจงว่าจะเป็นพระอะไร ขึ้นอยู่ที่ความพอใจเป็นหลัก แต่ขอให้เป็นพระแท้ที่รู้ที่มาของแหล่งกำเนิด เก็บสะสมเพื่อบูชา
2.3 กลุ่มนิยมสะสม เพื่อพุทธบูชา ชอบก็เก็บสะสมเอาไว้ อาจไม่ได้ศึกษาถึงรายละเอียดเกี่ยวกับรูปแบบลักษณะของพระแท้ ที่มีแหล่งกำเนิดที่แน่นอน
2.4 กลุ่มนิยมสะสมใหม่ เริ่มศึกษาและหาพระมาเก็บเอาไว้ อาจเพื่อบูชา หรืออื่นๆเพื่อเรียนรู้ หาประสบการณ์ก้าวต่อไป

✨3.ผู้นิยมตามกระแส เกิดความอยากที่จะสะสมหรือสะสมเพื่อเอาไว้ปล่อยเช่าบูชา เพราะคิดว่าอาจจะพบเจอพระดี พระแท้ ราคาแพง ที่สามารถหาเช่าได้ในราคาถูกและปล่อยขายได้ในราคาแพง บางคนอยากจะเป็นแบบเซียนพระ



พระแท้ พระปลอม พระอนุรักษ์
นิยามของคำว่า พระแท้ แบ่งเป็น 2 อย่าง
1.พระแท้ ที่มุ่งเน้นในเรื่องแบบพิมพ์ เนื้อมวลสาร ของพระเครื่องแบบพิพม์นิยมสากล ที่คนส่วนใหญ่นิยมสะสม ถ้าไม่ใช่ คือไม่ใช่พระแท้ ผู้นิยมสะสม เรียกว่า พระแท้แบบมาตราฐานสากล
2.พระแท้ ที่สร้างจากที่อื่น เกจิอื่น แต่อาจมีการเลียนแบบพิมพ์ เนื้อมวลสาร มีทั้งระบุที่แหล่งกำเนิด และไม่ระบุแหล่งกำเนิด ถ้าเน้นแบบที่ 1 ไม่ทราบแหล่งกำเนิด เรียกว่า พระปลอม แต่ถ้าระบุแหล่งกำเนิดหรือเกจิผู้สร้าง อาจเรียก พระอนุรักษ์ เพราะสร้างขึ้นที่หลังเลียนแบบ พระที่เป็นที่นิยม

พระอนุรักษ์ พระที่สร้างขึ้นภายหลัง มีทั้งเลียนแบบเหมือน หรือไม่เหมือนพระที่เป็นที่นิยม ระบุแหล่งกำเนิดผู้สร้าง หรือพอทราบแหล่งกำเนิดผู้สร้าง

พระปลอม  พระที่ มีผู้ทำเลียนแบบพระที่นิยม เพื่อหวังผลทางด้านการขายทำกำไร ไม่ผ่านพิธีการปลุกเศก มีทั้งเลียนแบบ พิมพ์  เนื้อมวลสาร  ทั้งใกล้เคียง และไม่ใกล้เคียง




วันอังคารที่ 6 มีนาคม พ.ศ. 2561

พระบางลำพูน

ทำไม? เรียกว่าพระบาง พระบางเป็นพระที่สร้างในยุคเดียวกับพระคง ซึ่งแยกหัวข้อดังต่อไปนี้
✨ความแตกต่างลักษณะใบโพธิ์ ของพระบางกับพระคงวัดพระคงฤาษี
✨ใบโพธิ์ของพระคงจะมี ความอ่อนช้อยบิดพริ้วสวยกว่าพระบาง
ข้อมูลการเปรียบเทียบระหว่างพระคงกับพระบาง 
พระบางมุมมองด้านข้างจะมีความบางกว่า จึงเรียกว่าพระบาง
แยกเป็นหลายเฉดสี หลายโซนเนื้อใกล้เคียงพระคง

รูปภาพเปรียบเทียบระหว่างพระคงกับพระบางทาง Anatomy มีความแตกต่างที่พอแยกได้ดังต่อไปนี้ ความแตกต่างกันเรื่องของลักษณะของใบโพธิ์ การวาววงแขนด้านซ้ายของพระคงจะตั้งฉาก เม็ดบัวที่พระบางจะติดไม่เต็ม พระบางการวางแขนแนวเฉียงลงมาแตกต่างกับพระคง ลำพระองค์พระคงจะล่ำกว่าพระบาง มุมมองด้านข้างของพระคงจะหนากว่าเห็นได้ชัดเจน

เปรียบเทียบด้านหลังพระคงจะนูนคล้ายหลังเต่า ส่วนหลังพระบางนั้นจะมีลักษณะคล้ายหลังตะพาบ


มุมมองด้านข้างชัดเจน พระบางองค์จะบางกว่าชัดเจน ข้อมูลเปรียบเทียบพระคงกับพระบาง ใบโพธิ์และก้านโพธิ์ในพระคงดูจะอ่อนช้อยมีมิติกว่าพระบาง

เปรียบเทียบด้านข้างชัดเจนพระบางนั้นบางกว่า คนโบราณจึงเรียกพระบางตั้งแต่นั้นมา

พระบางวัดพระคงฤาษี พิมพ์ที่ 1


พระบางวัดพระคงฤาษี พิมพ์ที่ 2 แสดงธรรมชาติ เม็ดผด

พระบางวัดพระคงฤาษี พิมพ์ที่ 2


พระบางวัดพระคงฤาษี พิมพ์ที่ 3


พระบางวัดพระคงฤาษี พิมพ์ที่ 4




พระบางวัดพระคงฤาษี พิมพ์ที่ 5

พระบางพิมพ์ต่างๆที่ค้นพบในจังหวัดลำพูน

พระบางพิมพ์ที่ 6


พระบางพิมพ์ที่ 7


พระบางพิมพ์ที่ 8

พระบางพิมพ์ที่ 8



พระบางพิมพ์ที่ 8 พิมพ์ไข่ปลา


พระบางพิมพ์ที่ 9 พิมหน้ากลม


พระบางพิมพ์ที่ 9 พิมพ์หน้ากลม


พระคงทรงพระบาง

วันพฤหัสบดีที่ 1 มีนาคม พ.ศ. 2561

การดูพระเครื่อง ต้องพิจารณาพิมพ์เป็นอันดับแรก

เรื่องการพิจารณาพระเครื่องว่าแท้ ปลอม เก๊ อย่างไร เวลาเห็นพระครั้งแรกเราเห็นอะไรก่อน
✷รูปร่างลักษณะ นั่นแหละคือพิมพ์ของพระ
การดูพระในครั้งแรกควรดูที่พิมพ์ก่อนเป็นอันดับแรก เพราะถ้าพิมพ์ไม่ถูกก็ไม่ต้องดูต่อ เดี๋ยวจะเขวได้ เนื่องจากพระเครื่องนั้นเกิดขึ้นมาจากแม่พิมพ์ ก็เหมือนกับสตางค์เหรียญหรือแบงก์นั่นแหละ ถ้าเกิดมาจากแม่พิมพ์อันเดียวกันก็จะมีรายละเอียดเหมือนกันหมด ถ้าผิดไม่ถูกต้องหรือคล้ายๆ นั้นก็คือไม่ใช่
✷ส่วนเรื่องเนื้อก็มีความสำคัญ ก็ดูเป็นอันดับต่อมาหลังจากพิจารณาว่าพิมพ์ถูกต้องแล้ว และธรรมชาติความเก่าก็สำคัญ ทุกอย่างมีความสำคัญทั้งหมด

การเริ่มศึกษาพระเครื่อง ตั้งแต่ตอนแรกๆ ต้องศึกษาหาดูจากพระแท้ๆ และจดจำไว้ (เมื่อไม่มีพระแท้ทำอย่างไร ต้องหาจากผู้ที่สะสมที่มีเมตตายินยอมให้เราได้ดูหรือเห็น หรือจากหนังสือเกี่ยวกับพระเครื่องที่มีภาพและการอธิบายเอาไว้อย่างชัดเจน) 
เริ่มต้นด้วยการเริ่มจำ รูปร่างลักษณะคร่าวๆ จำพิมพ์ ให้แบ่งองค์พระออกเป็นสองส่วนคือ
✷แบ่งจากบนลงล่าง เป็นสองส่วนซ้ายขวา แล้วเห็นอะไรบ้างที่ไม่เหมือนกัน สังเกตดูว่าทั้งสองด้านไม่เหมือนกันตั้งแต่ใบหน้าพระ หู องค์พระ รายละเอียดลวดลายต่างๆ นั่นแหละคือรายละเอียดของแม่พิมพ์ให้ไล่ดูตั้งแต่ด้านบนจนถึงด้านล่างโดยละเอียด

การศึกษาเรื่องพระเครื่องนั้นไม่มีสำนักการศึกษาที่ไหนสอนให้ดูพระแท้พระปลอม การศึกษาให้รู้ได้ก็ต้องสนใจหมั่นศึกษาเอาเอง โดยสอบถามผู้ที่มีชื่อเสียงที่เก่งๆ ให้ช่วยแนะนำให้ ในสมัยก่อนเรื่องรูปพระนั้นไม่มี ผู้หลักผู้ใหญ่เขาก็จะให้ดูพระแท้ๆ แต่ก็ต้องทำความรู้จักจนคุ้นเคยกันก่อนแล้วท่านก็จะแนะนำให้โดยจะให้เราสังเกตด้วยตัวเองแล้วเมื่อมีคำถามท่านจึงจะบอกให้ จะไม่มาบอกว่าให้ดูตรงนั้นเป็นอย่างนั้นอย่างนี้  ในตอนแรกๆ ก็คงไม่เข้าใจ เห็นเขาดูพลิกไปพลิกมาก็รู้แล้วว่าใช่-ไม่ใช่ ก็นึกว่าจะมีโค้ดลับดูเดี๋ยวเดียวก็รู้ว่าใช่ ไม่ใช่ ก็อยากจะให้ผู้ใหญ่ท่านบอกความลับนั้น ซึ่งเป็นความคิดที่ผิด การที่ท่านไม่บอกอะไรในตอนแรกนั้นก็เพื่อที่จะให้เราค้นหาเอง และเห็นเองโดยเมื่อเราพบและนำมาถาม ท่านก็จะชี้แนะให้ ทำให้เราจดจำได้อย่างแม่นยำ และเพื่อดูว่าเราสนใจแค่ไหน ถ้ามีปัญหาที่ค้นมาได้มากจุดก็แสดงว่าเรามีความพยายามในการค้นคว้าจริงๆ ท่านก็จะสอนให้และแนะนำเพิ่มเติม ทั้งในเรื่องพิมพ์ของพระ เนื้อของพระ ธรรมชาติความเก่าของพระ และส่วนมากผู้ที่รู้จริงในเรื่องพระเครื่อง ท่านจะสอนเราจริงๆ ท่านจะสอนทีละอย่าง เช่น สอนเรื่องพระคง ลำพูน ท่านก็จะสอนให้อย่างเดียวจนกว่าจะพอดูเป็น จึงจะสอนในพระอื่นๆ ต่อไป

โดยส่วนใหญ่ผู้ใหญ่ในสังคมพระเครื่องรุ่นใหญ่ๆ ท่านจะสอนเรื่องพิมพ์ก่อนเหมือนๆ กัน ต่อมาก็ศึกษาเรื่องวัสดุที่นำมาสร้างพระก็คือเนื้อของพระนั่นเองครับ เมื่อรู้ว่าเขาเอาวัสดุอะไรมาสร้างพระนั้นๆ ก็มาดูถึงประวัติความเป็นมาเพื่อที่จะได้รู้ว่ามีอายุของวัสดุนั้นว่าสร้างมากี่ปี เพื่อจะได้รู้ถึงความเสื่อมสภาพของ
วัสดุนั้นๆ ตามธรรมชาติ ศึกษาถึงกรรมวิธีการสร้างของพระนั้นๆ แต่ละยุคแต่ละสมัย ถ้าศึกษาถึงขั้นนี้ในแต่ละพระก็จะสามารถรู้จริงได้

ในบางครั้งที่เราเห็นเขาดูประเดี๋ยวเดียวก็รู้ว่าใช่-ไม่ใช่นั้น เกิดจากความชำนาญที่เกิดจากการฝึกฝนจนชำนาญ และเกิดการประเมินผลในสมองออกมาเป็นคำตอบว่าใช่-ไม่ใช่ บางท่านอ่านมาถึงตรงนี้ก็คงจะนึกว่ายากมากๆ และต้องใช้เวลาในการศึกษามาก ผมกล้าที่จะบอกว่า ถ้าเราศึกษาอย่างถูกต้องเป็นระบบและเป็นวิทยาศาสตร์ ก็ไม่ยากนัก และใช้เวลาในการศึกษาแต่ละอย่างไม่มากนัก

ความหมายพระพิมพ์

พระพิมพ์ เป็นคำที่ใช้เรียกซึ่งมีความหมายในทางโบราณคดี บ่งบอกถึงลักษณะโดยทั่วไปของพระพุทธ ปฏิมากรรม ที่สร้างขึ้นมาด้วยการนำเอาเนื้อวัสดุที่เตรียมไว้มากดประทับลงในแม่พิมพ์ หรือถ้าเป็นเนื้อโลหะซึ่งหลอมละลายแล้ว ก็นำมาเทหล่อเข้าไปในแม่พิมพ์ สำหรับแม่พิมพ์จะมีลักษณะแกะลึกลงไปในกรอบหิน หรือวัตถุอื่นๆ

พระเครื่อง เป็นคำที่ใช้เรียกแทนคำว่า “พระศักรพุทธปฏิมา” ซึ่งเป็นนามที่ใช้เรียกในทางอิทธิฤทธิ์กฤตยาคม มิใช่การกำหนดความหมายในทางโบราณคดีโดยความเป็นจริงแล้ว “พระพิมพ์” หรือ “พระเครื่อง” ก็คือสิ่งเดียวกัน จากหลักฐานสำคัญ เช่น จารึกบนแผ่น

จารึกลานทองของกรุพระปรางค์วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ จังหวัดสุพรรณบุรี และแผ่นจารึกลานเงินของกรุพระบรมธาตุเจดีย์นครชุม จังหวัดกำแพงเพชร เป็นต้น ได้แสดงให้ทราบถึงพุทธาคม กรรมวิธีในการสร้างพระเครื่อง ซึ่งเป็นมรดกตกทอดสืบสานมาถึงทุกวันนี้ จากหลักฐานดังกล่าวแสดงว่าพระพิมพ์ทั้งหลายได้ผ่านกรรมวิธีบรรจุพุทธคุณวิทยาคาถา และพุทธปรมาภิเษกสำเร็จเป็น พระศักรพุทธปฏิมาอันวิเศษแล้ว

ความจริงแล้วคำว่า “พระเครื่อง” เป็นคำใหม่ที่พึ่งประยุกต์ใช้กันมาไม่นาน เป็นคำที่เกิดขึ้นในช่วงสมัย พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ เมื่อคราวที่พระองค์ทรงสั่งเครื่องจักรเพื่อมาผลิตเหรียญที่ระลึก เหรียญกษาปณ์ และเหรียญพระคณาจารย์โบราณในยุคนั้น ผู้ที่ได้รับพระจึงเรียกกันตามความเข้าใจที่ง่ายและเหมาะสมในยุคนั้นว่า “พระเครื่อง” (หมายถึงพระที่ทำมาจากเครื่องจักร) ซึ่งนำไปสู่การเรียกพระขนาดเล็กที่สามารถพกพาได้ทั้งหมดทุกประเภทว่า “พระเครื่อง” จนกระทั่งถึงปัจจุบัน

หากแต่จารึกในแผ่น ลานเงิน ลานทอง ต่างๆ ยังคงใช้คำว่า “พระพิมพ์” และมีความหมายตรงกันคือการจำลองสิ่งเคารพอันเกี่ยวเนื่องด้วยพระพุทธศาสนา เพื่อสามารถนำมาสักการะเป็นการส่วนบุคคลแล้ว ดังนั้นในปัจจุบันไม่ว่าจะเรียกว่า “พระพิมพ์” หรือ “พระเครื่อง” ก็เป็นเรื่องที่เข้าใจตรงกัน ทั้งรูปสมบัติ คุณสมบัติ และสรรพคุณ

เรื่องราวของพระพิมพ์นี้มีมาเป็นเวลายาวนาน นับตั้งแต่พระพุทธเจ้าทรงดับขันธ์ปรินิพพานไปแล้วกว่า 100 ปี และมีวิวัฒนาการมาโดยตลอดอย่างต่อเนื่องจนถึงปัจจุบัน

วิวัฒนาการของการจำแนกพิมพ์

ยุคที่ 1 ยุคโบราณจากบันทึกของศาสตราจารย์ ยอร์ช เซเดย์

กล่าวไว้ว่า “พระพิมพ์ที่พบในพระราชอาณาจักรสยาม อาจแบ่งออกได้เป็นหลายหมวดด้วยกัน ตามที่สืบสวนได้จากพระราชพงศาวดารสยามดังนี้”


หมวดที่ 1 แบบพระปฐม

✦ราวๆ พ.ศ. 950-1250

 หมวดที่ 2 แบบถ้ำแหลมมลายู

✦ราวๆ พ.ศ. 1450-1550

 หมวดที่ 3 แบบขอม

✦จะสมัยเดียวกันกับถ้ำมลายูหรือใหม่กว่าสักเล็กน้อย

 หมวดที่ 4 แบบสุโขทัย

✦ราวๆ พ.ศ. 1750-1950 โดยมากเป็นพระพุทธรูปเดินหรือที่เรียกกันว่า พระลีลา

 หมวดที่ 5 แบบอยุธยา

✦หลัง 1950 เป็นแบบที่ทำขึ้นใหม่ ตามธรรมดามักเป็นรูปพระพุทธเจ้ามีท่าตามปางต่างๆ อยู่ภายในซุ้มเล็กๆชนิดหนึ่งเรียกกันว่า “เรือนแก้ว”

 หมวดที่ 6 พระเครื่องต่างๆ ซึ่งแบ่งเป็น 6 แบบ

✨พระพิมพ์แบบพระปฐม แบ่งได้เป็น 2 ชนิด พิจารณาตามสมัยทั้ง 2 ชนิดนี้เก่ามากเป็นฝีมือช่าง ชาวอินเดีย ในรัชสมัยพระเจ้าคุปตะ (ราว พ.ศ. 900-1200) ซึ่งพบมากในถ้ำ

✨พระพิมพ์แบบถ้ำแหลมมลายู เป็นพระพิมพ์ต่างๆที่พบได้เป็นจำนวนมากตามถ้ำทั้งหลายในแหลมมลายู พระพิมพ์เหล่านี้เป็นดินดิบหรือดินเหนียวสุก

พระพิมพ์ของแหลมมลายูบางชนิดลักษณะเหมือนกับรูปสลักที่สร้างขึ้นในเมืองระหว่างอินเดียกับชวา เพราะอาณาจักรศรีวิชัยซึ่งมีราชธานีอยู่ที่เมืองปาเลบังในเกาะสุมาตรานั้น เมื่อ พ.ศ.1150-1750 ได้แผ่อาณาเขตไปถึงฝั่งบนแหลมมลายูและทางทิศเหนือจนถึงเมืองไชยา เป็นรูปพระโพธิสัตว์อันสวยงามซึ่ง พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ได้พบที่เมืองไชยานั้นเป็นฝีมือช่างอันวิจิตรของอาณาจักรศรีวิชัย และพระพิมพ์แบบที่ 2 นี้ จัดว่าเป็นฝีมืออย่างดีที่สุดของอาณาจักรนั้นเป็นส่วนมากเหมือนกัน

✨พระพิมพ์แบบขอม เครื่องแต่งกายและรูปพรรณมีลักษณะ คล้ายกับรูปสลักของขอมโบราณมักพบเห็นกันมากตัวอย่างเช่น พระพิมพ์ในสมัยลพบุรี ผู้ที่ได้เห็นรูปสลักโบราณ หรือจารึกของขอมแล้ว ย่อมจะทราบได้ดีทีเดียวว่า พระพิมพ์นี้มีรูปสลัก 3 องค์ประกอบกัน คือ พระพุทธเจ้าประทับนั่งบนนาค 1 องค์ เทวดาสี่หน้า 1 องค์ สตรี 1 องค์ พระเครื่องศิลปลพบุรีนี้จะพบได้ตามจารึกในพุทธศาสนาของขอมโบราณเป็นส่วนมาก

✨พระพิมพ์แบบสุโขทัย โดยมากเป็นพระปางลีลา ซึ่งไม่ใช่เฉพาะแต่พิมพ์เท่านั้น แม้พระพุทธรูปหล่อ และรูปแกะสลักอื่นๆ ก็เป็นพระสีลาเช่นกัน

ความนิยมของช่างไทยในการทำรูปของพระพุทธเจ้าปางลีลา หรือเดินนั้น เห็นจะไม่ใช่เหตุบังเอิญ คือในช่วงปี 1750-1850 อาณาจักรไทยเป็นชาติที่กำลังขยายอาณาเขตออกไปกว้างขวาง โดยได้ปราบปรามประเทศที่อยู่ในดินแดนระหว่างอินเดียกับจีนตอนกลางให้อยู่ในอำนาจเป็นประเทศราช ในสมัยสุโขทัยไทยได้ขับไล่พวกขอมออกไปจากลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา ทั้งได้นำพระพุทธศาสนาไปเผยแผ่ในประเทศเหล่านั้น เช่นเดียวกับไทยที่เชียงแสนและเชียงราย ก็ได้ขับไล่พวกมอญออกไปจากลุ่มแม่น้ำปิง อาณาจักรสุโขทัยรัชสมัยพระเจ้ารามคำแหงมหาราช และผู้สืบสันตติวงศ์ต่อจากพระองค์ได้สร้างพระพุทธรูปลีลาขึ้นเป็นจำนวนมากมายเกินที่จะนับ เช่นเดียวกับพระเจ้ามังรายมหาราชซึ่งมีชัยชนะพระเจ้ามอญที่เมืองลำพูนแล้ว และสร้างเมืองเชียงใหม่ขึ้น ก็ได้ทรงหล่อรูปพระลีลาขึ้นมากเช่นกัน

✨พระพิมพ์สมัยอยุธยาลงมานั้น คือพระพิมพ์ที่สร้างขึ้นภายหลัง พ.ศ.1950 พระพิมพ์รุ่นนี้ นับว่ามีคุณค่าไม่น้อยกว่าพระพิมพ์รุ่นก่อนๆ เนื่องจากเป็นของที่มีคุณค่าทางวิชาช่างเป็นอย่างมาก พุทธลักษณะเป็นพระทรงเครื่องอยู่ภายใต้ซุ้มเรือนแก้ว ซึ่งหมายถึงองค์พระพุทธเจ้าตามปางต่างๆ คือ นั่งบ้าง ยืนบ้าง เดินบ้าง นอนบ้าง โดยมากมักจะทำด้วยดิน ลงรักปิดทอง

✨พระพิมพ์ขนาดเล็ก ยังมีพระพิมพ์อีกชนิดหนึ่งที่มีขนาดเล็ก ซึ่งอยู่ในประเภทพระเครื่องสมัยของพระพิมพ์ชนิดนี้เป็นการยากที่จะกำหนดให้แน่นอนลงได้

ยุคที่ 2 ยุคเก่า เป็นช่วงเวลาต่อจากยุคโบราณที่เริ่มมีการแบ่งกลุ่มประเภทพระ จากประสบการณ์ในกรรมวิธีสร้างพระเครื่อง

ทำให้สามารถแยกพระเครื่องหรือพระพิมพ์ออกไปได้หลายลักษณะด้วยกัน ซึ่งสามารถสรุปการจำแนกเป็น 2 แนวทางด้วยกันคือ

🌟1. การจำแนกตามประเภทวิธีช่าง ซึ่งสามารถพิจารณาได้ 3 ลักษณะ ดังนี้
🔯1.1 แบ่งจากลักษณะการสร้าง จำแนกออกไปได้เป็น 3 ประเภท
✯พระพิมพ์แบบอัด
✯พระพิมพ์แบบหล่อ
✯พระพิมพ์แบบปั๊ม
🔯 1.2 แบ่งจากลักษณะความหนาของส่วนโค้งนูน
✵ปฏิมากรรมแบบแบนนูนสูง
✵ปฏิมากรรมแบบแบนกึ่งนูนสูง
✵ปฏิมากรรมแบบแบนนูนต่ำ 
🔯1.3 แบ่งลักษณะเนื้อวัสดุ จำแนกเป็น 2 ประเภทใหญ่ๆ คือ
✮พระพิมพ์เนื้ออโลหะ
✮พระพิมพ์เนื้อโลหะ

🌟2. การจำแนกตามประเภทคุณวิเศษ สามารถพิจารณาได้ 2 ลักษณะคือ
🔯 2.1 ประเภทคุณวิเศษโดยทั่วไป จำแนกได้ 3 กลุ่ม คือ
- พระเครื่องฯ ประเภทมหานิยม
- พระเครื่องฯ ประเภทมหาอุตม์
- พระเครื่องฯ ประเภทนิรันตราย
🔯2.2 ประเภทคุณวิเศษทางเนื้อวัตถุ แบ่งตามลักษณะวัสดุที่สร้าง เป็น 3 กลุ่มคือ
 -พระเครื่องฯ เนื้อโลหะ
 -พระเครื่องฯ เนื้อดินเผา
 -พระเครื่องฯ เนื้อปูนปั้น

ยุคที่ 3 ยุคหลังสงครามโลกครั้งที่ 1 การจำแนกพระในช่วงแรกของยุคหลัง ช่วงสงครามโลกครั้งที่หนึ่งเป็นต้นมา
ยังคงเน้นในทางคุณวิเศษทางพุทธคุณ ที่หลายคนอาจจะเคยได้ยินได้ฟังกันมาบ้างถึงวิถีแนวทางของนักเล่นพระ หรือ นักเลงพระรุ่นนี้ ซึ่งจำแนกพระออกเป็น พระดีทางคงพระพัน พระดีทางนิรันตราย พระดีทางเมตตามหานิยม พระดีทางแคล้วคลาด ฯลฯ จนเกิดเป็นพุทธาคมที่เด่นของพระเครื่องมากมายสืบทอดมาจนทุกวันนี้โดยไม่สนใจในองค์ประกอบอื่นใดเลยในการจำแนก

ยุคที่ 4 ภายหลังสงครามโลกครั้งที่สอง

การสะสมพระได้ขยายตัวขึ้นมาก และเริ่มมีผู้รู้ผู้ชำนาญการเขียนตำราการศึกษาพระเครื่องขึ้นมา จึงทำให้เริ่มมีการเปลี่ยนแปลง อาจารย์ตรี ยัยปวาย เป็นผู้มีส่วนสำคัญท่านหนึ่งซึ่งทำให้เกิดแนวคิดนี้ขึ้น

อาจารย์ตรี ยัมปวาย เป็นนักสะสมพระรุ่นหลังสงครามโลกครั้งที่สอง ที่มีกลุ่มนักสะสมด้วยกันเป็นกลุ่มใหญ่ ซึ่งล้วนเป็นปรมาจารย์ของวงการพระในปัจจุบันทั้งสิ้น และท่านยังเป็นผู้กำหนดการจัดกลุ่มพระชุดเบญจภาคีขึ้นเป็นครั้งแรก โดยพิจารณาจากคุณค่า รูปทรง ขนาดของพระเครื่องที่จะจัดขึ้นสร้อยไว้คล้องคอ เพื่อให้ดูสวยงามและเหมาะสม ทั้งค่านิยม ความเก่าและคุณวิเศษ

จากจุดเริ่มที่มีการจัดพระชุดเบญจภาคีนี้เอง ก็เริ่มมีการจำแนกประเภทพระในหมู่นักสะสมยุคนั้น ตามวัตถุดิบที่นำมาจัดสร้างพระ ดังนี้

1.พระชุดเบญจภาคี
2.พระชุดเนื้อดิน
3.พระชุดเนื้อชิน
4.พระชุดเนื้อผง
5.พระชุดเนื้อโลหะ
6.พระปิดตา
7.พระประเภทเหรียญ
8.เครื่องรางของขลัง

จนถึงช่วงปี พ.ศ. 2500 เป็นต้นมาก็ได้มีการจำแนกพระเครื่องเพิ่มเติมและชัดเจนขึ้น โดยเติมพระกริ่งและรูปหล่อขึ้น หลังจากนั้นก็มีการเพิ่ม พระชุดหลวงปู่ทวดเข้ามา ยุคปัจจุบันการจำแนกพระออกเป็นหมวดหมู่ยังคงใช้แนวตามเดิม เพียงแต่เพิ่มรายละเอียดเพื่อให้เข้าใจได้ชัดเจนยิ่งขึ้น ดังตัวอย่างข้างต้น

✨1.พระชุดเบญจภาคี

✨2.พระชุดเนื้อดิน
-พระเนื้อดินยอดนิยม
-พระเนื้อดินทั่วไป

✨3.พระชุดเนื้อชิน
-พระเนื้อชินชุดยอดขุนพล
-พระเนื้อชินทั่วไป

จะเห็นได้ว่าจำแนกพระมีความละเอียดชัดเจนมากขึ้น เข้าใจง่ายมากขึ้น

กรรมวิธีและวัตถุดิบในการสร้างพระ

กรรมวิธีการสร้างพระ สามารถจำแนกตามลักษณะของวัตถุดิบในการจัดสร้างเป็น 2 ประเภท คือ ประเภทพระเครื่อง และ ประเภทเครื่องราง ประเภทพระเครื่อง ได้แบ่งการสร้างพระเครื่องออกเป็น
✸1. การสร้างพระเนื้อดิน
✸2. การสร้างพระเนื้อชิน
✸3. การสร้างพระเนื้อผง
✸4. การสร้างพระเนื้อโลหะ ประเภทพระหล่อ พระปั้ม พระฉีด
✸5. การสร้างพระเนื้อว่าน
✸6. การสร้างพระจากวัสดุอื่นๆ


1. การสร้างพระเนื้อดิน

พระเนื้อดิน นับเป็นพระที่มีอายุการสร้างเก่าแก่ที่สุด โดยการนำดินอันเป็นวัสดุหาง่าย คงทน มาสร้างสรรค์ปฏิมากรรมได้สะดวก นอกจากนี้มนุษย์ยังมีความเชื่อ นับถือ ยกย่อง ดินประดุจเทพเจ้าที่ทรงคุณเอนกอนันต์ ในนามของ “แม่พระธรณี” ซึ่งดินที่นำมาสร้างพระล้วนเป็นดินที่นำมาจากศาสนสถานสำคัญ ศักดิ์สิทธิ์ หรือสถานที่เป็นมงคล ในการนำดินมาสร้างพระทุกครั้ง ต้องมีการทำพิธีบวงสรวง ขอบารมีแม่พระธรณี เจ้าที่เจ้าทาง และสิ่งศักดิ์สิทธิ์ ผู้สถิตรักษาทุกครั้ง ต้องมีการทำพิธีบวงสรวง ขอบารมีอภินิหารให้มีต่อพระเครื่องและเครื่องรางที่สร้าง นอกเหนือจากส่วนผสมอื่นๆ ที่ได้ผ่านการพิจารณาอย่างถี่ถ้วนแล้วว่าดีและให้คุณ ที่จะส่งเสริมความเป็นมงคลแก่พระเครื่องและเครื่องรางที่จะสร้าง ความพิถีพิถันในการเสาะหาและเตรียมวัตถุดิบเป็นเรื่องสำคัญมากประการหนึ่งที่ผู้สร้างวัตถุมงคลต่างๆ ให้ความสำคัญและถือปฏิบัติอย่างเคร่งครัดมาช้านาน ด้วยเชื่อว่าพระเครื่องและเครื่องรางที่จะสร้างขึ้นนี้ต้องมีความดีนอกและดีใน ดีในหมายถึงวัตถุดิบที่นำมาสร้างต้องล้วนเป็นของดีมีมงคล ดีนอกหมายถึงต้องผ่านการปลุกเสกอย่างดี ผ่านพิธีกรรมที่ถูกต้องและเข้มขลัง โดยพระคณาจารย์ผู้เรืองเวทย์วิทยาคุณสูง รวมถึงผู้ทำพิธีอันจะก่อเกิดความเข้มขลังให้กับพระเครื่องและเครื่องรางที่ผ่านขั้นตอนที่สำคัญนี้แล้ว

ดังนั้น เป็นความเชื่อถือที่ยึดมั่นกันมาแต่ครั้งโบราณว่า “พระเครื่องและเครื่องรางของขลังที่ดีจริง ต้องดีนอก ดีใน คือ วัตถุที่นำมาสร้างต้องล้วนเป็นของงดี ผู้สร้างต้องดีพร้อม และผ่านพิธีกรรมที่ดี” จากจุดนี้เราจึงเข้าใจว่าเหตุใด พระเครื่องและเครื่องรางของขลังจึงมีความศักดิ์สิทธิ์ พระทุกประเภททุกเนื้อเครื่องรางทุกชนิด ล้วนเห็นข้อพึงปฏิบัติในการสร้างวัตถุมงคลนี้ โดยมีกฎเหล็กที่พึงต้องกระทำอย่างเคร่งครัด

เมื่อได้วัตถุดิบที่ต้องประสงค์แล้ว ก็จะนำวัตถุดิบต่างๆมาผสมคลุกเคล้ากัน โดยมีดินเป็นมวลสารหลัก ในการยึดประสานมวลสารต่างๆให้เข้าเป็นเนื้อเดียวกัน จากนั้น จึงนำส่วนผสมไปกดลงในแม่พิมพ์ที่แกะเค้าโครงรูปร่างของพระเครื่องที่ต้องการ เมื่อนำพระที่กดลงในแม่พิมพ์ออกจากพิมพ์แล้ว จึงนำพระมาเรียง แล้วผ่านกรรมวิธีทำให้แห้ง ซึ่งแบ่งเป็น 2 ประเภท คือ

✦1.1 พระที่ผ่านการเผา นับเป็นการสลายความชื้นและคงรูปวัตถุ ทำให้เกิดมวลสารของพระเครื่องเป็นแบบดินสุก หรือดินสีหม้อใหม่ เช่นเดียวกับการทำภาชนะเครื่องปั้นดินเผาต่างๆ หากแต่ในสมัยโบราณ การเผาพระไม่มีเครื่องมือในการตรวจวัดอุณหภูมิความร้อนให้คงที่และสม่ำเสมอ จึงทำให้พระที่ผ่านการเผาออกมา มีสีต่างๆกัน ตามระดับอุณหภูมิความร้อนสูงหรือต่ำที่ได้รับ

นอกจากนี้จากการค้นคว้าศึกษายังพบว่า พระเครื่องที่ผ่านการเผายังมี 2 ลักษณะคือ พระที่ผ่านการเผาเป็นเวลานานในอุณหภูมิความร้อนที่สูง กับพระที่ผ่านการเผาพอประมาณ ใช้เวลาในการเผาไหม้ไม่นานนัก หรืออาจจะเรียกว่า ผ่านการอบให้แห้ง โดยมวลสารคายความชื้นออก เพื่อความยึดติดเข้ารูป เป็นเหตุให้พระออกมามีหลายสี แต่คงไว้ซึ่งมวลสารส่วนผสมปรากฎเห็นชัดเจนกว่าพระที่ผ่านการเผาครบขบวนการทำเครื่องปั้นดินเผาที่มีผลให้มวลสารบางชนิดถูกเผาไหม้ไป ซึ่งตัวอย่างของพระที่ผ่านการเผาทั้ง 2 ลักษณะ มีดังนี้

✹พระที่ผ่านการเผาจนครบขั้นตอน ได้แก่ พระรอด พระนางพญา พระกรุทุ่งเศรษฐี พระหลวงพ่อปาน วัดบางนมโค เป็นต้น

✹พระที่ผ่านการอบให้แห้ง ได้แก่ พระผงสุพรรณ พระซุ้มกอดำ เป็นต้น

✦1.2 พระที่ผ่านการตากแดดให้แห้ง พระประเภทนี้เราเรียกว่า “พระดินดิบ” ซึ่งหมายถึง มวลสารถูกแยกน้ำออก ด้วยวิธีการตากแดดให้แห้ง ความแข็งแกร่งคงทนจะน้อยกว่าพระที่ผ่านการเผา ดินจะสามารถละลายตัวหากนำมาแช่น้ำทิ้งไว้ พระเนื้อดินดิบ ได้แก่ พระเครื่องศิลปะศรีวิชัยที่พบทางใต้ เช่น พระเม็ดกระดุม เป็นต้น

นอกจากนี้ยังพบว่าในพระเนื้อดินมวลสารหรือเนื้อของดินได้สามารถแบ่งออกเป็น 2 ลักษณะ คือ

✪ก. ประเภทเนื้อละเอียด หมายถึง ก่อนที่จะนำดินมาผสมกับมวลสารอื่นๆ ดินที่นำมาสร้างพระนั้นได้ผ่านการร่อนกรองจนละเอียดแล้ว พระที่สร้างออกมาจึงมีความนวลเนียนของพื้นผิว เช่น พระกำแพงกลีบบัว พระกำแพงซุ้มยอ พระกำแพงทุ่งเศรษฐี เป็นต้น

✪ข. ประเภทเนื้อหยาบ หมายถึง ดินที่นำมาสร้างพระ ได้ผ่านการร่อนกรองมาแล้วแต่ไม่มากจนได้เนื้อดินละเอียด ยังคงปรากฏมีเม็ดแร่ กรวด ทราย ปะปนอยู่ด้วย มองเห็นชัดเจน เช่น พระชุดขุนแผนบ้านกร่าง เป็นต้น

2. การสร้างพระเนื้อชิน

พระเนื้อชินถือเป็นพระเนื้อโลหะประเภทหนึ่งที่เกิดจากการผสมผสานของแร่หลัก 2 ชนิด คือ ดีบุก กับตะกั่ว เกิดเป็นโลหะเจือชนิดใหม่ที่เรียกว่า “เนื้อชิน” หากเรามองลึกลงไปถึงคุณสมบัติของธาตุหลักทั้ง 2 ชนิด คือ

✤ดีบุก เป็นแร่ธาตุที่พบมากที่สุดประเภทหนึ่งในประเทศไทย สามารถแยกหาดีบุกออกจากสิ่งปะปนได้อย่างง่ายๆด้วยวิธีแรงโน้มถ่วง โดยการร่อนแร่ ซึ่งกระทำได้ไม่ยุ่งยาก หากต้องการ ดีบุกที่บริสุทธิ์มากขึ้น ก็สามารถนำไปย่างเพื่อขจัดซัลไฟด์ หรือธาตุที่แผงอยู่ในดีบุก

ดีบุก เป็นธาตุที่มีจุดหลอมเหลวต่ำ ที่อุณหภูมิ 231.9 องศา แปรรูปง่าย เกิดโลหะเจือกับโลหะได้หลายชนิด ทำให้คุณสมบัติของโลหะใหม่มีอานุภาพป้องกันการผุกร่อนได้ นอกจากนี้ยังนำไฟฟ้าต่ำ

✥ตะกั่ว เป็นแร่ธาตุที่มนุษย์รู้จักนำมาใช้ประโยชน์ตั่งแต่สมัยโบราณ มีหลักฐานยืนยันว่ามนุษย์รู้จักนำตะกั่วมาใช้ทำประโยชน์ตั้งแต่ 4000 ปีก่อนคริสตกาล รวมวิธีการถลุง ตะกั่วไม่ยุ่งยาก เพียงผ่านขบวนการเผา

ตะกั่ว เป็นธาตุที่มีจุดหลอมเหลวต่ำ ที่อุณหภูมิ 327 องศา มีน้ำหนัก นับเป็นโลหะอ่อนมีแรงตึง หรือ แรงรองรับต่ำ โลหะตะกั่วจึงไม่เหมาะกับการใช้งานที่ต้องรับน้ำหนักมากๆ แต่ความอ่อนตัวของตะกั่วมีประโยชน์ที่ทำให้โลหะผสมสามารถแปรรูปได้ง่ายขึ้น ไม่ว่าจะทำให้เป็นแผ่นบางๆ หรือนำโลหะผสมให้สามารถแทรกซอนไปตามความลึกของแม่พิมพ์ ก่อให้เกิดลวดลายงดงามตามจินตนาการของช่างได้ นอกจากนี้ ยังนำไฟฟ้าต่ำ

จากคุณสมบัติของธาตุทั้งสองชนิดดังกล่าว เราจะพบว่ามีความสอดคล้องเหมาะสมในการนำมาหลอมรวมกันเป็นโลหะใหม่ ที่มีจุดหลอมเหลวต่ำทั้งคู่ สามารถกลมกลืนเป็นเนื้อเดียวกันได้ มีความอ่อนนิ่มที่สามารถจับรายละเอียดแม้เพียงบางเบาเล็กน้อยของแม่พิมพ์ได้ แม้รูปทรงจะมีความบางเรียบแบน ก็สามารถขึ้นรูปได้ ทั้งทนทานต่อความผุกร่อน และมีความนำไฟฟ้าต่ำ ทำให้ปลอดภัยเมื่อนำพกติดตัว

เนื้อชิน จึงนับเป็นโลหะที่มีคุณสมบัติพิเศษ ลงตัว เหมาะสมที่จะนำมาสร้างพระเครื่องได้เป็นอย่างดี ซึ่งถือเป็นภูมิปัญญาของบรรพชนไทยอันชาญฉลาดและลึกล้ำในการสร้างพระเนื้อชิน เพื่อสืบทอดพระศาสนาและศิลปวัฒนธรรมอันดีงามยิ่งใหญ่ ในรูปแบบของพระเครื่องตกทอดสู่อนุชนรุ่นหลัง พระเนื้อชินมี 3 ประเภทคือ

✤2.1 พระเนื้อชินเงิน คือพระที่มีส่วนผสมของดีบุกมาก พระที่พบจะมีสีเงินยวงจับองค์พระอย่างงดงาม พระเนื้อชินเงินนี้จะปรากฏลักษณะตามธรรมชาติในรูปของเกล็ดกระดี่ และสนิมตีนกา ตามองค์พระ เช่น พระหูยาน ลพบุรี พระนาคปรก วัดปืน เป็นต้น
✤2.2 พระเนื้อชินสนิมแดง คือพระที่มีส่วนผสมของตะกั่วมาก พระที่พบจะมีลักษณะคล้ายพระชินเงิน แต่มีไขสนิมแซม ตามซอกพระ เช่น พระมเหศวร พระสุพรรณหลังผาน พระลีลากำแพงขาว เป็นต้น
✤2.3 พระเนื้อตะกั่วสนิมแดง ถือเป้นพระเครื่องประเภทเนื้อชิน ที่มีส่วนผสมของตะกั่วมากที่สุดถึง 90% พระที่พบจึงมีสีแดงของสนิมตะกั่วจับอยู่ในเนื้อพระเป็นสีแดง ที่เรียกว่า “แดงลูกหว้า” ตัวอย่างเช่น พระร่วงหลังลายผ้า-พระร่วงหลังรางปืน พระท่ากระดาน และพระร่วงพิมพ์ต่างๆ เป็นต้น

กรรมวิธีการสร้างพระเนื้อชิน ถือเป็นการหลอมเหลวรวมแร่ธาตุสำคัญดังที่กล่าวข้างต้น ข้อสำคัญคือมีการแกะแม่พิมพ์ให้งดงาม อลังการ ตามจินตนาการของช่าง พระที่พบส่วนมากจะเป็นศิลปะสกุลช่างหลวง เพราะแม้ว่า พระเนื้อชินจัดเป็นพระที่ไม่ยุ่งยากในการสร้าง หากในสมัยโบราณกรรมวิธีนี้ถือเป็นเรื่องที่ต้องเตรียมการและอาศัยแรงคนจัดทำมิใช่น้อย ดังนั้นผู้ที่สามารถสร้างพระเนื้อชินได้ จะต้องดำรงตำแหน่งอยู่ในชั้นเจ้านาย หรือระดับผู้นำ ที่สามารถสั่งบัญชาการได้ จึงถือว่าพระเนื้อชินเป็นพระเครื่องชั้นสูงมาแต่โบราณ ประการสำคัญ การพบพระเนื้อชินส่วนมากจะพบในกรุตามโบราณสถานสำคัญ ซึ่งถือเป็นเรื่องยากที่สามัญชนจะกระทำการได้

พระเนื้อชิน นับว่าเป็นพระเครื่องที่มีบทบาทสูง เป็นที่ครองใจผู้คนมานานนับแต่โบราณความยึดถือศรัทธาของประชาชนที่มีต่อพระเนื้อชินนั้นเป็นรากลึกในจิตใจ ทั้งยังปรากฏเห็นผลให้เล่าขานเลื่องลือตกทอดอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้พระเนื้อชิน ถือเป็น “อมตพระเครื่องยอดนิยมตลอดกาล”

3. การสร้างพระเนื้อผง

ถือเป็นขบวนการหนึ่งในศาสตร์ศิลปแขนงวิชาการปั้นปูน ซึ่งมวลสารในการปั้นมีส่วนผสมของปูนเป็นหลักใหญ่ประสานเนื้อด้วยยางไม้ กาวหนัง น้ำอ้อยหรือขี้ผึ้งชั้นดี และเป็นวิทยาการที่ศิลปินกรีก-โรมันกับอินเดียดึกดำบรรพ์ได้ใช้ปั้นพระพุทธรูปก่อนที่มีการนำกรรมวิธีนี้มาใช้ในการสร้างพระเครื่อง

พระเครื่องเนื้อผง ที่มีความเก่าแก่ที่สุดในประเทศคือ พระกรุวัดทัพข้าว จังหวัดสุโขทัย รองลงมาคือ พระสมเด็จอรหัง วัดมหาธาตุ สร้างโดย สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราชองค์ที่ 4 หรือที่รู้จักกันในนาม พระสังฆราชสุกไก่เถื่อน และพระสมเด็จอรหังนี้ถือเป็นต้นแบบในการสร้างพระเนื้อผง รูปทรงสี่เหลี่ยมชิ้นฟัก ซึ่งสร้างขึ้นครั้งแรกเมื่อประมาณปี พ.ส.2360

สมเด็จพระสังฆราชสุก (ไก่เถื่อน) นี้ ท่านเป็นพระอาจารย์ที่สมเด็จพระพุฒาจารย์โต พรหมรังสี เคารพเป็นอย่างยิ่ง และถือเอาวัตรปฏิบัติ ตลอดจนวิธีการสร้างพระขององค์พระอาจารย์องค์นี้มาสร้างสมเด็จวัดระฆัง พระสมเด็จบางขุนพรหม และพระสมเด็จเกศไชโย อันนับเป็นพระเนื้อผงที่ได้รับความศรัทธานิยมสูงสุดมาโดยตลอด ดังนั้นขั้นตอนกรรมวิธีการสร้างพระเนื้อผงในลำดับต่อๆมา จึงได้ยึดเอาขั้นตอนกรรมวิธี การจัดเตรียม การสร้าง และการปลุกเสก ตามอย่างสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี) เป็นปัจจัยหลักปฏิบัติ ซึ่งแบ่งเป็น 3 ขั้นตอนใหญ่ๆ คือ

✾3.1 การจัดเตรียมวัสดุ เป็นที่ทราบกันดีว่ามวลสารหลักในพระเนื้อผงก็คือ ผงปูนขาว ซึ่งโบราณจะใช้เปลือกหอยมาเผาไฟ แล้วบดให้ละเอียด เรียกว่า “ผงปูนเปลือกหอย” ซึ่งมีคุณสมบัติ เช่นเดียวกัน

เมื่อได้มวลสารหลัก ก็จัดเตรียมผงที่เป็นมงคลต่างๆ อาทิเช่น ว่านดอกไม้ แร่ทรายเงิน ทรายทอง วัสดุศักดิ์สิทธิ์ เป็นมงคลทั้งหลายที่เห็นสมควรนำมาเป็นส่วนผสมนำมาบดเป็นผง เป็นต้น

สิ่งที่ช่วยประสานเนื้อผง และทัพสัมภาระทั้งหลาย ให้เกาะติดเป็นเนื้อเดียวกันในสมัยโบราณจะใช้กล้วยน้ำ และน้ำมันตังอิ๊ว (กล้วยน้ำเป็นคำโบราณ = กล้วยน้ำว้า , น้ำมันตังอิ๊วเป็นยางไม้ชนิดหนึ่งผสมกับน้ำมัน ทำให้เกิดความเหนี่ยว)

จากสูตรการสร้างพระเนื้อผงของสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) พรหมรังสี (ผู้ที่ได้รับการยกย่องว่าเป็นผู้สร้าง “สูตรนิยม” หรือ “สูตรครู” ในการสร้างพระเนื้อผงต่อๆมา) และในมวลสารของพระเครื่องที่สมเด็จโตสร้าง ท่านให้ความสำคัญกับธาตุแท้แห่งคุณวิเศษ คือ ผงวิเศษ 5 ประการ อันประกอบด้วย ผงปถมัง อิธเจ มหาราช พุทธคุณ และตรีนิสิงเห ซึ่งไม่ได้หมายความว่าเป็นชื่อของผงแต่ละชนิดแล้วนำมารวมผสมคลุกเคล้ากัน หากแต่เป็นผงชุดเดียวกันที่ผ่านกรรมวิธีซับซ้อนถึง 5 ขั้นตอนในการสร้าง โดยเริ่มต้นที่การสร้างผงปถมังก่อน แล้วเอาผงปถมังนั้นมาทำเป็นผงอิธะเจ แล้วสร้างต่อเนื่องจากผงเดิมจนครบกระบวนการทั้ง 5 อันนับเป็นภูมิปัญญาและสมบัติล้ำค่าต่อมวลมนุษยชาติสืบมา ได้รับรู้ ศึกษากรรมวิธี และนำเป็นต้นแบบที่ดีในการสร้างวัตถุมงคลเนื้อผง

ขั้นตอนการทำผงวิเศษ 5 ประการ ของท่านเจ้าประคุณสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) พรหมรังสี ประกอบด้วยขั้นตอนดังนี้

✨1) การสักการะบูรพาจารย์ นับเป็นประเพณีในการศึกษษพุทธาคมมาแต่ครั้งโบราณ ที่ผู้ศึกษาจะต้องทำพิธีสักการบูรพาจารย์ก่อนกระทำการใดๆ เพื่อความเป็นสิริมงคล และรับการประสิทธิ์ประสาทวิทยาคม โดยผู้ทำพิธีต้องทำตนให้สะอาด เป็นฆราวาสให้นุ่งขาวห่มขาว ทำจิตใจให้ผ่องใส และรับสมาทานเบญจศีลเสียก่อน เป็นพระภิกษุให้ทำสมาธิจนจิตนิ่งสงบ ผ่องใส แล้วตั้งเครื่องสักการะ

บูชาครูอาจารย์ อันประกอบไปด้วย

ดอกไม้ 9 สี ธูป 9 ดอก เทียน 9 เล่ม บายศรีปากชาม ขนมต้มแดง ขนมต้มขาว มะพร้าวอ่อน กล้วยน้ำไทย (กล้วยน้ำว้า) ผลไม้ 9 สิ่ง หัวหมู เป็ด ไก่ ปลาช่อนนิ่งทั้งตัวไม่ขอดเกล็ด ถั่วคั่ว งาคั่ว ข้าวตอก นม เนย ขันล้างหน้า ผ้าขาว ผ้าแดง เงินค่าบำรุงครู 6 บาท

จากนั้นให้บูชาพระรัตนตรัย แล้วร่ายโองการ (บทสวดบูชาคุณพระรัตนตรัย ต่อด้วยบทอัญเชิญทวยเทพ บทอัญเชิญครู โองการสรรเสริญครู โองการชุมนุมครู) เมื่อเสร็จพิธีคำนับครู ก็เริ่มเข้าสู่การเรียกสูตรต่างๆ

✨2.) การเรียกสูตร คือ การฝึกหัดเขียน อักขระ เลข ยันต์ นานาประเภท อันประกอบด้วย การบริกรรมสูตรพระคาถาต่างๆ ตามจังหวะของการเขียนอักระเลขยันต์นั้นๆด้วย “ดินสอผงวิเศษ”

“ดินสอผงวิเศษ” สร้างจากส่วนผสมของเครื่องเคราต่างๆอันประกอบด้วย

-ดินโป่ง 7 โป่ง (ดินที่มีเกลือสินเธาว์ผุดเกรอะกรัง มีพบอยู่ตามป่าทั่วไป ในที่นี้ให้นำดินโป่ง 7 แห่ง)
-ดินตีนท่า 7 ตีนท่า (ดินจากท่าน้ำ 7 แห่ง)
-ดินหลักเมือง 7 หลักเมือง (ดินจากหลักเมือง 7 เมือง)
-ขี้เถ้าไส้เทียนบูชาพระประธานในพระอุโบสถ
-ดอกกาหลง
-ยอดสวาท
-ยอดรักซ้อน
-ขี้ไคลเสมา (คราบไคลดินบนแผ่นเสมาที่แสดงขอบเขตของโบสถ์)
-ขี้ไคลประตูวัง
-ขี้ไคลเสาตะลุงช้างเผือก (คราบไคลดินจากเสาหลักคู่ สำหรับล่ามช้างเผือก)
-ราชพฤกษ์ (ไม้ต้นราชพฤกษ์ตากแห้งป่นเป็นผง)
-ชัยพฤกษ์
-พลูร่วมใจ (ต้นพลูที่ใช้กินกับหมาก ขึ้นเป็นดง เป็นกอ บางครั้งจึงเรียกว่า “พลูร่วมใจ” เพราะจะขึ้นพร้อมๆกัน ไม่ใช้ที่ขึ้นแยกต้น แยกกอ)
-พลูสองหาง (ในบรรดาใบพลู จะมีบางต้นที่น้อยมาก ปรากฏปลายใบแยกเป็น 2 แฉก)
-กระแจะตะนาว (ชื่อต้นไม้ขนาดเล็ก ขึ้นในป่าเบญจพรรณ ต้นและกิ่งมีหนาม เปลือกขรุขระสีเทา ดอกเล็กสีขาวเป็นช่อสั้นมีกลิ่นหอมอ่อนๆ ท่อนไม้ใช้ฝนกับน้ำเป็นเครื่องประทินผิว) น้ำมันเจ็ดรส (น้ำมันที่ได้จากของ 7 ประเภท จะเป็นพืชหรือสัตว์ก็ได้ ยิ่งหายากยิ่งดี
-ดินสอพอง

เอาส่วนผสมทั้งหมดมา ผสมกันแล้วบดให้ละเอียด เจือน้ำ ปั้นเป็นแท่งดินสอ

เมื่อได้ดินสอผงวิเศษ ซึ่งต้องเตรียมการไว้แล้ว ก็จะเข้าสู่การทำกรรมวิธีสร้างผงวิเศษ ที่จะต้องกระทำในพระอุโบสถ โดยเตรียมเครื่องสักการะ เช่นเดียวกับการคำนับครู โดยตั้งของต่างๆไว้เบื้องหน้าพระประธาน จุดธูปเทียนบูชาพระ ยกถาดบรรจุสิ่งของเหล่านั้นขึ้น แล้วกล่าวคาถาอัญเชิญครู ประกาศอัญเชิญเทพยดา ทำประสะน้ำมนต์(ชำระล้างตัวให้สะอาดแล้วเอาน้ำมนต์ราดชำระให้ทั่วร่างกาย) พรหมตัว เรียกอักขระเข้าตัว(การเรียก หรือสวดมหาพุทธมนต์ต่างๆให้มาสถิต ประสิทธิ์กับตัวเอง)และอัญเชิญครูเข้าตัว

3) การทำผงวิเศษ เมื่อขั้นตอนต่างๆที่กล่าวมาสำเร็จแล้ว ก็จะเข้าสู่การทำผงวิเศษ ซึ่งผงทั้ง 5 มีความเป็นมาน่าสนใจ ดังนี้
🌠3.3.1) การทำผงปถมัง นับเป็นผงเริ่มต้น สำหรับการศึกษาวิทยาคม ใช้สำหรับการลง “นะ” ทุกชนิดตามสูตร ปฐมพินธุ (ปัด-ทะ-มัง-พิน-ทุ เป็นบทพระเวทย์ชั้นสูงที่ว่าด้วยการเกิด) ซึ่งมีความเป็นมาแต่ครั้งปฐมกัลป์ที่โลกยังว่างเปล่าปราศจากชีวิต มีแต่น้ำซึ่งกำลังงวดลงไป และแผ่นดินโผล่ขึ้นมา ท้าวสหับดีมหาพรหมได้เล็งญาณ เห็นดอกบัว 5 ดอก ก็ทราบว่าในอนาคตกาล พระพุทธเจ้าจะเสด็จมาในโลก 5 พระองค์ด้วยกัน จึงโปรยหญ้าคาลงมา พื้นน้ำก็งวดเป็นแผ่นดินส่งกลิ่นหอมหวน พวกพรหมก็ลงมาเสพมวลดินเป็นอาหาร เลยพากันหลงทางกลับสู่พรหมโลกไม่ได้ จึงสืบเผ่าพันธุ์เป็นมนุษย์อยู่ในโลกตราบเท่าทุกวันนี้ ด้วยเหตุนี้ สหับดีมหาพรหมจึงเป็นปฐมแห่งโลกธาตุ
ดังนั้น การลง “นะ” คือ การย้ำพระเทย์วิทยาคุณให้ประจุ(บรรจุ) กำกับอยู่ในสิ่งที่ต้องการนับเป็นการเบิกพระสูตรที่เปิดทางบรรจุพระคาถาอื่นๆได้อย่างอัจฉริยะ
การทำผงปถม(ผง-ปัด-ทะ-มัง) คือ การนำเอาผงเครื่องยาที่ผ่านกรรมวิธีที่กล่าวมาข้างต้นมาปั้นเป็นดินสอขึ้น แล้วเขียนเรียกสูตร น ปฐม พินธุ และสูตรการลบ เขียนแล้วลบ ลบแล้วเขียน จนหมดสิ้นดินสอที่ปั้นขึ้น ก็จะได้ผงปฐม ซึ่งใช้เวลาในการทำผงนี้ ประมาณ 2-3เดือน
🌠3.3.2) การทำผงอิธะเจ เกิดจากการนำเอา ผงปฐม ที่ทำสำเร็จแล้ว มาปั้นเป็นดินสอขึ้นอีก แล้วเขียนอักขระด้วย สูตรมูลกัจจายน์ และลบด้วยสูตรลบผงอิทธะเจ คัมภีร์โบราณ กล่าวว่า ท่านพระมหากัจจายน์พระคณาจารย์เจ้ายุคก่อนเป็นผู้วางแบบแผนการสร้างสูตรอันนี้ไว้ ชนชั้นหลังต่อมาจึงได้เอานามของท่านมาเรียกชื่อสูตรว่า ”สูตรมูลกัจจายน์” หรือ มูลกระจาย อันถือเป็นรากฐานแห่งความรู้ในอักขระ พยัญชนะ และสระในอักษรขอม การทำผงอิทธิเจนั้น จะต้องร่ายอักขระ และแปลงพยัญชนะและสระ ให้สำเร็จรูปเป็น “อิธเจตโส ทฬห คณหาหิ ถามสา” ซึ่งเรียกว่า “ลบขาดตัว” ผงที่ได้จากการลบขาดตัวนี้เรียกว่า “ผงอิธะเจ” ใช้เวลาทำประมาณ 3 วัน และต้องเขียนให้หมดสิ้นดินสอที่เตรียมไว้
🌠3.3.3) การทำผงมหาราช ใช้ผงอิธะเจ มาปั้นเป็นดินสอขึ้นอีก แล้วเรียกสูตรมหาราช แล้วลบสูตรที่เขียนด้วยนามทั้ง 5 เขียนแล้วลบ ลบแล้วเขียน จนหมดสิ้นดินสอที่ทำขึ้น ใช้เวลาทำใกล้เคียงกับการทำผงปถมัง เกิดเป็นผงใหม่ ชื่อ “ผงมหาราช”
🌠3.3.4) การทำผงพุทธคุณ ใช้ผงมหาราชมาปั้นทำเป็นดินสอ เรียกสูตร และลบอักขระเกี่ยวกับพุทธคุณนานาประการ นับตั้งแต่สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ประสูติ ตรัสรู้ จวบจนเสด็จสู่พระปรินิพพาน เขียนแล้วลบ ลบแล้วเขียน จนหมดสิ้นดินสอ จะได้ผงพุทธคุณ ซึ่งถือว่าเป็นผงวิเศษที่มีพุทธานุภาพสูงยิ่ง เพราะเกี่ยวเนื่องด้วยพระพุทธองค์
🌠3.3.5) การทำผงตรีนิสิงเห ซึ่งนับเป็นผงสุดท้ายเกี่ยวกับสูตรเลขไทยโบราณ เกิดจากการรวบรวมเอาผงพุทธคุณที่ลบได้มาปั้นเป็นดินสอ เรียกสูตรอัตอาวาทวาทศมงคล 12 เขียนสูตรไล่เรียงไปจนสำเร็จเป็นอัตตราตรีนิสิงเห เข้าสู่รูปอัตตรายันต์ 12 ยันต์ จนสุดท้ายได้รูปยันต์นารายณ์ถอดรูป ซึ่งประกอบด้วย ยันต์ประจำขององค์ตรีนิสิงเห แล้วมี ยันต์พระภควัมบดี และยันต์ตราพระสีห์ประทับลงเป็นประการสุดท้าย

อาจารย์เทพย์ สาริกบุตร ผู้ทรงคุณวุฒิทางพุทธาคม ได้เคยกล่าวไว้ว่า “ในเรื่องการทำผงนี้ มีตำรับที่จะทำมากมายนัก นอกจากตำรับทั้ง 4 ที่ยกมาอ้างนี้ คือ ปถมัง อิธเจ มหาราช ตรีนิสิงเห เพราะตำรับทั้งสี่นี้เป็นแม่บทใหญ่ ส่วนที่แตกแยกฝอยออกไปอีกนั้น ยังมีอีกมากเช่น ผงพุทธคุณ เป็นต้น โดยเฉพาะผงพระพุทธคุณนั้น มีวิธีทำหลายวิธีด้วยกัน ผงเหล่านี้มีคุณภาพดุจกันทั้งสิ้น อาศัยแรงความปรารถนาอธิษฐานของผู้กระทำ จะมุ่งให้มีอานุภาพไปทางไหน พระเครื่อง เครื่องรางที่ทำด้วยเกสร หรือ ผงที่ได้สร้างแต่ครั้งโบราณล้วนแต่สร้างขึ้นมาจากผงเหล่านี้ทั้งสิ้น”

เมื่อได้ผงวิเศษ จึงนำมาคลุกเคล้ากับทัพสัมภาระอันพิจารณาแล้วว่าเป็นของดี มีมงคลอันประเสริญ ที่ผ่านการบดละเอียดแล้ว จึงผสมผงปูน เปลือกหอยที่บดแล้ว ประสานมวลสารทั้งหมดด้วย กล้วยน้ำ (กล้วยน้ำว้า) และน้ำมันตังอิ๊ว ได้มวลสารรวมมีลักษณะเป็นแป้งเหนียวปั้นได้

4. แกะแม่พิมพ์ การแกะแม่พิมพ์พระนั้น มีหลายฝีมือ ทั้งช่างราษฎรชาวบ้านสามัญ ไปถึงช่างหลวงในราชสำนัก ซึ่งดูได้จากความงดงามลงตัวของพระพุทธปฏิมาที่ปรากฏความหยางบ ละเอียด สมดุล และงดงาม ออกมาในรูปทรงขององค์พระเครื่องนั้นๆ

เมื่อได้แม่พิมพ์เป็นที่พอใจ จึงนำส่วนผสมข้างต้นมากดลงในแม่พิมพ์ก่อนที่จะใส่มวลสารลงไป เพื่อป้องกันไม่ให้เนื้อพระติดกับแม่พิมพ์ ก็จะนำผงปูนมาโรยลงในพิมพ์ก่อนที่จะหยอดเนื้อมวลสารลงไป เมื่อกดพิมพ์ได้ที่แล้วก็จะทำการตัดตอกเนื้อส่วนเกินที่ปลิ้นล้นจากแม่พิมพ์ แล้วจึงเคาะองค์พระออกจากแม่พิมพ์ การโรยผงปูนไว้ก่อน ทำให้พระไม่ติดพิมพ์ ธรรมชาติของแป้งโรยพิมพ์นับเป็นคุณสมบัติพิเศษอีกประการหนึ่งในการช่วยพิจารณาพระแท้ที่จะกล่าวในลำดับต่อไป

ในครั้งแรก พระที่นำออกจากแม่พิมพ์ใหม่ๆ จะมีความชื้น และสดของผิวมวลสาร จำเป็นต้องนำไปตากแดด หรือผึ่ง ให้แห้ง ถ้าเป็นสมัยใหม่ ก็จะนำไปอบให้แห้ง ก็ถือว่าเสร็จกระบวนการผลิตพระเนื้อผง หากแต่คนในสมัยโบราณยังถือว่าเป็นพระที่ยังไม่ครบ ต้องทำการบวชเสียก่อน

5. การปลุกเสกพระ เมื่อผลิตพระผงเสร็จสิ้น องค์ประกอบที่สำคัญประการสุดท้าย คือ พระที่สร้างต้องผ่านการปลุกเสก อันเสมือนการเชิญพลังพระรัตนตรัยมาประจุ (บรรจุหรือรวมตัว) ประสิทธิ์ ประสาท ยังพระเครื่องที่สร้าง การปลุกเสกนั้น แบ่งเป็น

❂5.1) การปลุกเสกหมู่ หมายถึง การนิมนต์พระจำนวนมากกว่า 1 รูป มาร่วมกันบริกรรมพระคาถา เจริญภาวนา อธิษฐานจิตปลุกเสกร่วมกัน กระทำเต็มรูปแบบศาสนพิธีการ
❂5.2) การปลุกเสกเดี่ยว หมายถึง พระเครื่องที่ผ่านการบริกรรมพระคาถา เจริญภาวนา อธิษฐานจิตเพียงองค์เดียว เป็นศาสนพิธีกรรม
❂5.3) การอธิษฐานจิต หมายถึง พระเครื่องที่ไม่ได้ผ่านพิธีกรรมอันเป็นศาสนพิธีเหมือนกับ 2 ประเภทแรก หากแต่เป็นการใช้พลังอำนาจจิตประจุพระพุทธานุภาพ สำหรับพระภิกษุผู้มีฌาณปฏิบัติที่แก่กล้า และสำเร็จมรรคผลพระธรรมขั้นสูง ท่านสามารถอธิษฐานจิตได้ และมีพลานุภาพทำให้พระเครื่องที่ผ่านการอธิษฐานจิตเปี่ยมด้วยพระพุทธคุณได้เช่นกัน

พระเนื้อผงที่ผ่านขั้นตอนพิธีการต่างๆที่กล่าวมา จึงถือว่าเป็นพระเครื่องที่สมบูรณ์การสร้างพระผงยังคงมีให้พบเห็น และศึกษากันอยู่ในปัจจุบัน แต่จะเคร่งครัดประการใดอย่างไร ก็ขอให้ผู้ศึกษาโปรดใช้วิจารณญาณในการพิจารณา

4. การสร้างพระเนื้อโลหะ ประเภทพระหล่อ พระปั๊ม พระฉีด

การสร้างพระเนื้อโลหะนี้จะประกอบด้วยการสร้าง 3 ประเภท คือ พระหล่อ พระปั๊ม และ พระฉีด โดยก่อนอื่นผู้เขียนขอทำความเข้าใจแก่ผู้สนใจศึกษา ระหว่างพระเครื่องเนื้อชิน และพระเครื่องโลหะประเภทอื่นๆ ก่อนว่าเหตุใดจึงแยกพระทั้งสองประเภทนี้ออกจากหมวดเดียวกัน

พระเครื่องเนื้อชิน ถือเป็นพระเนื้อโลหะประเภทหนึ่ง แต่สาเหตุที่บูรพาจารย์ที่เป็นนักสะสมยุคแรกๆ ไม่นำมารวมอยู่ในพระเนื้อโลหะอื่นๆ เพราะเนื่องจากเหตุผลสำคัญดังนี้

1.) พระเครื่องเนื้อชิน ล้วนเป็นพระกรุ พระเก่า ที่มีอายุการสร้างนานเป็นร้อยๆปีขึ้นไปอันถือเป็นพระเครื่องยุคโบราณปัจจุบันไม่นิยมสร้างพระเครื่องเนื้อนี้อีกแล้ว
2.) ส่วนผสมหลักของพระเครื่องเนื้อชินคือ ดีบุกและตะกั่ว มากน้อยตามแต่ผู้สร้างมีความประสงค์ ซึ่งปัจจุบันผู้สร้างได้ค้นพบโลหะอื่นๆที่มีคุณสมบัติที่ดีกว่า สะดวกกว่า และคงทนกว่า มาใช้ในการสร้างพระเครื่องแทนพระเครื่องเนื้อชิน
3.) ผู้ที่นิยมมีความคิดว่าพระเครื่องประเภทเนื้อชินจะต้องเป็นพระยุคเก่า เท่านั้น จึงได้รับความนิยมในการสะสม หากเป็นพระยุคหลังที่สร้างขึ้นใหม่ จะแลดูขาดธรรมชาติ ไม่เป็นที่สนใจของประชาชน เพราะขึ้นชื่อว่าเป็นพระเครื่องเนื้อชินต้องแลดูเก่ามีธรรมชาติคราบไข ถ้าดูใหม่จะคาดคะเนให้เป็นพระปลอมก่อนเลยเป็นอันดับแรก

พระเครื่องเนื้อโลหะต่างๆที่ปรากฎอยู่ในวงการพระ ประกอบด้วย

1. พระเนื้อทองคำ
2. พระเนื้อเงิน
3. พระเนื้อทองแดง
4. พระโลหะผสม

สำหรับพระ 3 ประเภทแรกนั้น ผู้สนใจศึกษาคงทราบและเข้าใจอย่างชัดเจนถึงส่วนผสมหลัก หรือส่วนผสมนำ ในพระเครื่องนั้นๆ คือทองคำ เงิน และทองแดง ส่วนพระโลหะผสมนั้น มีมากมายหลายเนื้อมวลสาร ซึ่งบางประเภทมีสูตรจากตำราชี้เฉพาะปริมาณของส่วนผสม และบางประเภทก็ไม่ชี้ชัดเพียงใส่มวลแร่ธาตุเดิมให้ครบตามจำนวนธาตุที่ต้องการผสมเท่านั้น จึบเป็นที่มาของความไม่แน่นอน ในโลหะผสมของแต่ละเบ้า แต่ละครั้งในการหลอมละลาย โลหะผสมที่ได้รับความนิยมในการสร้างพระเครื่องได้แก่

✨1) นวโลหะ หมายถึง การนำแร่ธาตุต่างๆ 9 ชนิด มาหลอมรวมกัน นวโลหะที่มีตำราชี้เฉพาะปริมาณของส่วนผสมได้แก่ พระในกลุ่ม พระกริ่ง-พระชัยวัฒน์ ที่มีสมเด็จพระสังฆราช(แพ) วัดสุทัศน์ กรุงเทพมหานคร เป็นองค์ปฐมการสร้าง สืบตำราต้นแบบที่บังคับในการสร้างพระกริ่งเนื้อนวโลหะสายวัดสุทัศน์ ประกอบไปด้วย

ชิน น้ำหนัก 1 บาท (1บาท = 15.2 กรัม)
จ้าวน้ำเงิน น้ำหนัก 2 บาท (แร่ชนิดหนึ่ง สีเขียวปนน้ำเงิน)
เหล็กละลายตัว น้ำหนัก 3 บาท
บริสุทธิ์ น้ำหนัก 4 บาท (ทองแดงบริสุทธิ์)
ปรอท น้ำหนัก 5 บาท
สังกะสี น้ำหนัก 6 บาท
ทองแดง น้ำหนัก 7 บาท
เงิน น้ำหนัก 8 บาท
ทองคำ น้ำหนัก 9 บาท
นำโลหะทั้ง 9 นี้ มาหลอมรวมกัน ได้เนื้อนวโลหะที่งดงามยิ่ง

✨2) สัตตะโลหะ หมายถึง โลหะผสม 7 ชนิด อันประกอบด้วย เหล็ก, ปรอท, ทองแดง, เงิน, ทองคำ, จ้าวน้ำเงิน, บริสุทธิ์ ตามอัตราส่วนของแต่ละตำรา และวัสดุที่ทำขึ้นมาเพื่อใช้ประโยชน์ เช่น อาวุธที่เป็นเนื้อสัตตะโลหะก็จะมีปริมาณของแร่เหล็กมากกว่าแร่ชนิดอื่นๆ เป็นต้น

✨3) เบญจโลหะ หมายถึงโลหะผสม 5 ชนิด อันประกอบด้วย เหล็ก, ปรอท, ทองแดง, เงิน, และทองคำ อัตราส่วนตามความเหมาะสมของวัตถุที่สร้าง แต่โลหะหนักส่วนมากก็จะเป็นเหล็ก

✨4) ทองเหลือง นับเป็นโลหะผสมที่นิยมใช้กันมากในยุคหลังๆซึ่งเนโลหะผสมระหว่างทองแดงกับสังกะสี และอาจจะมีธาตุอื่นปะปนอยู่บ้างเล็กน้อย เช่น ตะกั่ว ดีบุก อลูมิเนียม เหล็ก แมงกานีส นิเกิล เป็นต้น

✨5) บรอนซ์ เป็นชื่อดั้งเดิมของโลหะผสมระหว่างดีบุกกับทองแดง ปัจจุบันหมายถึงโลหะผสมระหว่างทองแดงกับโลหะอื่น โดยยกเว้นโลหะผสมระหว่างทองแดงกับสังกะสี ซึ่งจะเป็นทองเหลืองไม่ใช่บรอนซ์

✨6) เมฆพัด เป็นโลหะผสมที่เกิดจากการนำแร่โลหะต่างๆหลายชนิด อาทิเช่น เหล็ก ทองแดง ดีบุก ตะกั่ว เงิน ทองคำ เป็นต้น จะเป็นปริมาณเท่าใด หรือใช้กี่ประเภทขึ้นอยู่กับความต้องการของผู้สร้าง ระหว่างหุงแร่จะซัดด้วยกำมะถัน จนเกิดเป็นสีดมันวาว ออกเหลือบสีน้ำเงิน

✨7) เมษสิทธิ์ นับเป็นโลหะผสมที่มีความคล้ายคลึง และเป็นคู่แฝดกับเมฆพัด กรรมวิธีการสร้างก็คล้ายคลึงกัน ถ้าเป็นคนรุ่นเก่าจะเรียกการสร้างโลหะผสม เมฆสิทธิ์ และเมฆพัดว่า “การเล่นแร่แปรธาตุ” นับเป็นโลหะที่เชื่อว่ามีความศักดิ์สิทธิ์ในตัว เพราะขณะที่ทำการหลอมรวมจะต้องบริกรรมพระคาถาต่างๆไปด้วย สำหรับโลหะผสมเมฆสิทธิ์ประกอบด้วยแร่ธาตุ 4 ชนิดคือ เงิน สังกะสี ทองแดง และปรอท

✨8) สัมฤทธิ์ เป็นโลหะผสมที่นิยมทำพระบูชา และรูปหล่อขนาดใหญ่ นับเป็นโลหะผสมยุคแรกๆ ที่มีการสร้างขึ้นมาแต่โบราณ บางคนเรียกว่า ทองสัมฤทธิ์ หรือทองบรอนซ์ ส่วนประกอบของโลหะผสมสัมฤทธิ์คือ ทองแดง ดีบุก เงิน และทองคำ

✨9) ขันลงหิน เป็นเนื้อโลหะที่รู้จักกันมาแต่โบราณ และเป็นประเภทหนึ่งของโลหะผสมที่เรียกกันว่า “บรอนซ์” แต่โลหะผสมเนื้อขันลงหินจะเจาะจงเฉพาะโลหะผสมระหว่างทองแดงกับดีบุกเท่านั้น ส่วนบรอนซ์จะรวมถึงโลหะทุกประเภทที่ผสมกับทองแดง ยกเว้นสังกะสี ดังนั้นสีบรอนซ์จึงมีหลายสี เช่น บรอนซ์เงิน บรอนซ์ทอง บรอนซ์ออกสีนาก เป็นต้น

โลหะผสมที่กล่าวมาทั้งหมดนี้ เป็นโลหะผสมที่นิยมนำมาสร้างพระบูชา และพระเครื่อง อาจจะมีนอกเหนือจากนี้บ้างตามความสะดวกและความเชื่อในการสร้าง แต่ไม่เป็นที่รู้จักนิยมแพร่หลายเช่นที่กล่าวมา

นอกจากนี้ก็จะมีพระที่สร้างจากเนื้อโลหะหลักที่มีส่วนผสมอื่นเจือปนอยู่บบ้างแต่เป็นส่วนน้อย เพื่อความสะดวกในการขึ้นรูป ทำให้สวยงาม และคงทนยิ่งขึ้น เช่น ทองคำ เงิน ตะกั่ว เป็นต้น วิธีการสร้างพระ

เมื่อทราบถึงส่วนผสมของโลหะเจือ (โลหะผสม) ต่างๆ พอสังเขปแล้ว ต่อไปจะเป็นขั้นตอนการสร้างพระหล่อ-พระปั๊ม-และพระฉีด การสร้างพระที่กล่าวมานี้ นับเป็นการสร้างตั้งแต่ยุคกลางๆคือประมาณร้อยกว่าปี แล้ววิวัฒนาการมาจนถึงปัจจุบัน โดยเราจะแบ่งวิธีการสร้างออกเป็น การหล่อแบบโบราณและการหล่อแบบสมัยใหม่ ซึ่งแต่ละแบบมีรายละเอียดพอสังเขปดังนี้

การหล่อแบบโบราณ

เป็นวิธีการที่ใช้ในการสร้างรูปหล่อ และเหรียญหล่อโบราณ มากมายในพระเครื่องต่างๆ ที่ล้วนแล้วแต่เป็นพระยอดนิยมอันดับต้นๆของประเทศ เช่น รูปหล่อ-เหรียญหล่อ หลวงพ่อเงิน วัดบางคลาน จังหวัดพิจิตา รุ่นแรก, รูปหล่อหลวงพ่อเดิม เป็นต้น

ขั้นตอนการหล่อแบบโบราณ ประกอบด้วยขั้นตอนต่างๆดังนี้

❋ 1) การขึ้นดินหุ่น คือการแกะหุ่นดินตามรูปพรรณสัณฐานที่ต้องการ จากนั้นจึงนำมาหล่อเป็นองค์พระต้องการ พระที่ได้ครั้งแรกนี้เรียกว่า “แกนหุ่นดิน”

❋2) เข้ารูปขี้ผึ้ง เมื่อได้แกนหุ่นที่หล่อเรียบร้อยแล้ว จะนำขี้ผึ้งมาพอกองค์พระ แกะตกแต่งรายละเอียดด้วยเสนียด (ไม้ทองเหลืองปลายแบน) จนเป็นที่พอใจก็จะได้รูปขี้ผึ้งองค์พระที่ต้องการจะให้เป็นในลักษณะอากัปกิริยาต่างๆ ตลอดจนลวดลายตามความประสงค์ของผู้แกะแบบ

❋3) พอกดินขี้วัว เมื่อได้รูปขี้ผึ้งแล้วก็นำดินขี้วัว (นำขี้วัวมาคั้นน้ำผสมกับดินเหนียวและทรายให้ข้นจับตัวกันเหนี่ยวแน่น) พอกให้ทั่วองค์พระหุ่นขี้ผึ้ง แล้วเจาะรูตรงปลายเพื่อให้ขี้ผึ้งไหลออกมาเมื่อถูกความร้อนสูง

❋4) เทสารละลาย นำโลหะผสมที่หลอมละลายรวมกันเข้าที่แล้ว เทลงในเบ้าแม่พิมพ์ ความร้อนจะทำให้ขี้ผึ้งละลายออกมาจากรูที่เจาะไว้เรียกว่า “การสำรอกขี้ผึ้ง” โลหะผสมจะเข้าแทนที่ขี้ผึ้งได้รูปองค์พระที่ต้องการ

❋5) การทุบเบ้าทิ้ง เมื่อกระบวนการต่างๆที่ผ่านมาสำเร็จด้วยดีแล้ว พอโลหะจับกันแข็งตัวและเย็นดีแล้ว ก็จะมีการทุบเบ้าดินที่หุ้มองค์พระไว้ออกให้หมด ดังนั้น จึงมีการเรียกพระหล่อโบราณว่า “พระพิมพ์เบ้าทุบ”

พระหล่อโบราณที่ได้ ส่วนมากจะขาดความละเอียดของเส้นรูปพรรณเค้าหน้า และร่างกายเนื่องด้วยเครื่องมือแบบภูมิปัญญาชาวบ้านโบราณ ขาดศักยภาพกระทำการ อีกทั้งโลหะผสมขาดการชั่งตวงวัด และควบคุม รวมถึงความร้อนที่สม่ำเสมอทั่วถึง ทำให้องค์พระขาดความคมชัด หากแต่ธรรมชาติของดินพอกหุ่นและความไม่พอดีของอัตราส่วนโลหะผสม ก็นับเป็นเสน่ห์อย่างหนึ่งของพระหล่อโบราณ ที่ยากแก่การปลอมแปลง ดินขี้เบ้าที่ติดอยู่กับเนื้อโลหะเมื่อได้รับความร้อน เกิดการหลอมรวมกินตัว ผสมผสานเป็นส่วนหนึ่งของวรรณะตามซอกองค์พระ ก็ถือเป็นไม้ตายในการพิจารณาพระเก่า ให้ต่างจากพระใหม่ได้อีกประการหนึ่ง

การหล่อแบบสมัยใหม่

นับเป็นวิวัฒนาการต่อเนื่อง โดยมีเครื่องอำนวยความสะดวก และสามารถสร้างพระได้ปริมาณมากๆในเวลาเดียว ซึ่งหักการของขั้นตอนก็จะคล้ายคลึงกับการหล่อโบราณคือ

❃1) แกะแม่พิมพ์ด้วยขี้ผึ้ง ใช้ปูนปาสเตอร์พอกหุ่นแทนดินขี้วัว แล้วจึงสำรอกขี้ผึ้งออกต่อจากขั้นตอนนี้ เดิมทีจะต้องกระทำต่อเนื่องกันในขณะที่แม่พิมพ์ยังร้อนอยู่ แต่ในสมัยใหม่จะเป็นการ “เทพิมพ์เย็น” หมายถึงให้พิมพ์ที่ผ่านการหลอมและสำรอกขี้ผึ้งออกแล้วปล่อยให้เย็นตัวก่อน แล้วจึงเทโลหะผสมลงไป ซึ่งวิธีการนี้สามารถสร้างพระได้เป็นช่อทีละหลายองค์ในครั้งเดียว

❃2) การฉีดพระ นับเป็นเทคนิคใหม่ที่ทำให้พระออกมาสวยมีรายละเอียดคมชัดทุกสัดส่วน ตามความปรารถนา อันเกิดจากการเหวี่ยงโลหะอย่างเร็วและแรงหลายรอบ ให้กินรายละเอียดของแม่พิมพ์ได้ทุกอณู สำหรับขั้นตอนการฉีดพระประกอบด้วย การแกะแม่พิมพ์ด้วยขี้ผึ้ง ถอดพิมพ์ด้วยยางทำฟัน ซึ่งมีคุณสมบัติที่ดีมากในการเก็บรายละเอียดต่างๆได้อย่างครบถ้วน จากนั้นจึงใช้ปูนทำฟันฉีดเข้าพิมพ์ยาง แล้วนำใส่เข้ากระบอกเหวี่ยงเพื่อไล่โลหะให้เข้าไปตามกระบอกโดยผ่านท่อ แรงเหวี่ยงจะอัดมวลสารไปยังทุกส่วนของแม่พิมพ์ จะได้พระที่งดงามตามปรารถนาเป็นช่อๆละหลายองค์

❃3) การปั๊มพระ นับเป็นกรรมวิธีแบบใหม่ในการสร้างพระที่มีขั้นตอนคล้ายการฉีด หากแต่ในขั้นตอนการแกะแม่พิมพ์ จะมี 2 ด้านประกบกัน เรียกว่า “แม่พิมพ์ตัวผู้ และแม่พิมพ์ตัวเมีย” นอกจากนี้ จะต้องทำตัวตัดขึ้นอีกตัว (ในกรณีทำเหรียญ) ซึ่งจะมีขนาดพอเหมาะกับแม่พิมพ์

การสร้างแม่พิมพ์ในพระปั๊มนี้สามารถ “ถอดพิมพ์ใหม่” เกิดเป็นบล็อคแม่พิมพ์ได้จำนวนมากมายตามความต้องการ ด้วยยางทำฟัน ซึ่งทำให้แม่พิมพ์ที่ถอดขึ้นมา ไม่ผิดเพี้ยนจากแม่พิมพ์ตัวแรกเลย จึงได้รับความนิยมเป็นอย่างมากกับการสร้างพระในปัจจุบันที่มีปริมาณการสร้างคราวละมากๆ

ส่วนโลหะผสม ก่อนที่จะมาทำการปั๊มพระ จะเป็นโลหะผสมที่เย็นตัวแล้ว นำเข้าเครื่องปั๊มพระ ออกมาได้เหรียญ หรือรูปหล่อปั๊ม ตามความต้องการ และมีความเหมือนกันทุกองค์

5. การสร้างพระเนื้อว่าน

นับแต่โบราณมาชนชาติไทยมีความรู้ และผูกพันกับพรรณไม้ตระกูลว่าน ด้วยเห็นคุณค่าทั้งในการใช้ทำยา หรือเชื่อกันว่าทำให้อยู่ยงคงกระพัน ทั้งให้ความเป็นสิริมงคล ดังนั้น เมื่อจะมีการสร้างสิ่งมงคลในรูปพระเครื่อง เครื่องว่านเกสรดอกไม้อันมีสรรพคุณ คุณวิเศษต่างๆเฉพาะตัว จึงเป็นหนึ่งในทัพสัมภาระที่ผู้สร้างพระให้ความสำคัญนำมาเป็นส่วนผสมประเภทหนึ่งที่ขาดไม่ได้จึงกล่าวได้ว่า “ว่าน” เป็นส่วนผสมในการสร้างพระเนื้อดินและเนื้อผง มาแต่โบราณ ดังคำแปลจากจารึกในแผ่นลานทองที่พบในกรุวัดพระศรีรัตนมหาธาตุ จังหวัดสุพรรณบุรี ที่เกี่ยวกับการนำว่านมาผสมสร้างพระดังนี้

“ศุภมัสดุ 1265 สิทธิการิยะ แสดงบอกไว้ให้รู้ มีฤๅษีทั้งสี่ตน พระฤๅษีพิมพิลาไลย์ เป็นประธาน เราจะทำด้วยฤทธี ทำด้วยเครื่องประดิษฐ์มีวุวรรณ เป็นต้น คือบรมกษัตริย์พระยาศรีธรรมโศกราชเป็นผู้ศรัทธาพระฤๅษีทั้งสี่ตน จึงพร้อมกันนำเอาแต่ว่านทั้งหลาย ฤๅษีจึงอัญเชิญเทพยดามาช่วยกันทำพิธี ทำเป็นพระพิมพ์ไว้...”

จากการพิจารณาพระเครื่องจะพบชิ้นส่วนของ “ว่าน” ผสมผสานอยู่ในเนื้อมวลสารของพระหลักๆมากมาย นับจากพระรอดมหาวัน พระกรุทุ่งเศรษฐี พระผงสุพรรณ พระนางพญา พระสมเด็จวัดระฆัง เป็นต้น หากแต่การนำว่านมาผสมนั้น เป็นเพียงส่วนหนึ่งในบรรดาทัพสัมภาระอื่นๆ และ ว่าน ก็มิใช่ส่วนผสมหลัก แม้จะขาดไม่ได้จึงไม่อาจเรียกพระที่มีว่านเป็นส่วนผสมอยู่บ้าง เป็น “พระเนื้อว่าน”

แต่มีพระบางประเภทที่มีการนำว่านวิเศษ มาเป็นส่วนผสมสำคัญ จนเป็นหัวใจของเนื้อหามวลสาร ทั้งเห็นชัดเจน ไม่แทรกซึมปะปนกับมวลสารอื่น เช่น พระเนื้อว่านหลวงปู่ทวดวัดช้างให้ จังหวัดปัตตานี ที่มีการนำดินกากยายักษ์มาบดเป็นส่วนผสมสำคัญ เป็นเนื้อนำประกอบอยู่ในองค์พระ นอกจากนี้ยังพบในพระเครื่องของหลวงปู่บุญ วัดกลางบางแก้ว จังหวัดนครปฐม ซึ่งเป็นพระเนื้อผงผสมว่าน ที่เรียกกันว่า “พระเนื้อผงวาสนาจินดามณี”

กรรมวิธีการสร้างพระเนื้อว่านในสมัยโบราณ

เริ่มจากการนำว่านวิเศษต่างๆมาบดให้ละเอียด โดยจะใช้ครกหินตำให้ละเอียด หากเป็นการสร้างพระหลวงปูทวดเนื้อว่าน ปี พ.ศ.2497 ได้ระบุการสร้างพระไว้ดังนี้

“พิธีกดพิมพ์พระเนื้อว่านมีขึ้น ณ วัดช้างให้ โดยมีชาวบ้านและพระภิกษุช่วยกันตำว่านด้วยมือโดยใช้ครกตำ ขณะตำว่านจะต้องท่องคาถาที่พระอาจารย์ทิมระบุไว้ด้วย (ซึ่งในแต่ละวันพระอาจารย์ทิมจะให้ท่องพระคาถาไม่เหมอืนกัน) สำหรับแม่พิมพ์หลวงพ่อทวดที่ได้จัดทำขึ้นจากยางครั่งสีดำนั้น จากข้อมูลหลักฐานต่างๆ กล่าวกันว่าน่าจะมีเบ้าพิมพ์มากกว่า 16 เบ้าพิมพ์ แต่ก็ไม่ทราบจำนวนที่แน่นอน เหตุที่พระอาจารย์ทิมให้ช่างจัดทำแม่พิมพ์ขึ้นอีกจำนวนหนึ่งนั้นเพราะต้องการที่จะพิมพ์จำนวนพระให้ได้ 84,000 องค์ แต่ไม่สามารถกดพิมพ์พระได้จำนวนที่ตั้งใจไว้ โดยได้เพียงประมาณ 64,000 องค์ เนื่องจากระยะเวลามีจำกัด พิธีปลุกเสกในครั้งนั้นมีขึ้นเมื่อวันที่ 17 เมษายน พ.ศ.2497 ซึ่งตรงกับวันอาทิตย์ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 5 เวลา 12.00 น. เมื่อทำพิธีปลุกเสกเสร็จเรียบร้อยแล้ว จึงได้ใส่ไว้ในบาตรพระให้ประชาชนเช่าบูชาโดยไม่กำหนดจำนวนเงิน สุดแล้วแต่ความศรัทธาของประชาชน

สำหรับส่วนผสมของพระเนื้อว่าน มีส่วนผสมต่างๆ เช่น

1. ว่าน 108 ชนิด
2. ปูนขาว
3. กล้วยป่า
4. ผงขี้ธูป
5. คราบไคลสถูปเก่าที่บรรจุอัฐิหลวงพ่อทวด
6. แร่
7. ดินกากยายักษ์
8. ดอกไม้แห้ง
9. น้ำพระพุทธมนต์ ฯลฯ

การโขลกตำส่วนผสมของเนื้อพระใช้ครกหินหลายใบ โดยตำเนื้อว่านกับดินดำก่อน เมื่อละเอียดแล้วจึงใส่ปูนขาวลงไปเล็กน้อยกับกล้วยป่าทั้งเนื้อทั้งเม็ดตำให้เหนียว แล้วจึงใส่ผงธูป ดอกไม้แห้ง แร่และอย่างอื่นผสมลงไป ระยะแรกๆ จะตำเนื้อละเอียด ต่อมาได้เร่งตำเพื่อให้ทันฤกษ์พิธี ปลุกเสกจึงตำออกมาเนื้อหยาบ ส่วนผสมและสีของเนื้อพระจะไม่เป็นมาตรฐานเดียวกัน บางองค์มีสีดำจัดเพราะใส่ดินกากยายักษ์มาก บางองค์มีสีเทาค่อนข้างขาวเพราะใส่ปูนขาวลงไปมาก และเนื้อพิเศษขั้นทดลองพิมพ์มีจำนวนน้อยมาก

การพิมพ์พระ บางองค์ร่อนจึงแกะออกจาแม่พิมได้ง่าย แต่ส่วนใหญ่ต้องใช้ไม้เสียบใต้ฐานองค์พระ เพื่องัดองค์พระออกมาจากแม่พิมพ์ แล้วจึงนำผงแร่มาแปะที่ด้านหลังขององค์พระทุกองค์

มวลสารในเนื้อพระ มักพบมีเม็ดแร่สีขาวขุ่น, สีดำ, สีขาวอมเหลือง, สีน้ำตาล, เม็ดทรายสีขาวหรือผงวิเศษปรากฏอยู่ทั่วไป โดยพบมากที่ด้านหลังขององค์พระ”

จากกรรมวิธีการสร้างที่ยกตัวอย่างมา ผู้ที่ศึกษาคงมองออกถึงขั้นตอนต่างๆที่เกิดขึ้น ปัจจุบันการสร้างพระเนื้อว่านยังมีอยู่ หากแต่พบน้อยมาก เนื่องจากความยากลำบากในการเสาะหาว่านมงคลต่างๆ ที่ต้องใช้ในปริมาณมาก เพื่อเป็นมวลสารหลักในการสร้างพระ แต่อย่างไรก็ตาม กรรมวิธีนี้ก็ถือเป็นอีกหนึ่งในวิธีการสร้างพระ ซึ่งคงเหลือเด่นชัดในพระไม่กี่ประเภท

6.การสร้างเครื่องราง

เครื่องราง นับเป็นความเชื่อและศรัทธาสากล เนื่องจากทุกอารยธรรมทั่วโลกล้วนมีเครื่องรางเป็นสิ่งมัดใจ ให้กำลังใจ ทั้งโน้มน้าวจิตใจมาแต่ยุคดึกดำบรรพ์ ในรูปลักษณ์ที่แตกต่างกันออกไป

สำหรับประเทศไทย มีการพบเครื่องรางของขลังมาแต่ยุคสุโขทัย หากแต่มาเฟื่องฟูในสมัยกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี และเริ่มดับมอดลงเมื่อคราวกรุงแตก แต่กระนั้นเครื่องรางของขลังก็ยังอยู่ในใจผู้คนมาโดยตลอด มิเคยถูกลบเลือน

พระคณาจารย์โบราณ ผู้มากด้วยพระเวทย์วิทยาคม จะนิยมสร้างเครื่องรางของขลังไว้ให้เฉพาะแก่ผู้ใกล้ชิด ดังนั้นการสร้างเครื่องรางของขลัง จึงเป็นงานสร้างเฉพาะตัว โดยมีรูปแบบเป็นเอกลักษณ์พิเศษ ในแต่ละองค์คณาจารย์ เหมือนลักษณะของลายมือหรือฝีมืองานช่างเครื่องรางของขลังจึงเป็นวัตถุมงคลที่ไม่ตายตัว แต่มีเอกลักษณ์ คือ ไม่มีพิมพ์ ไม่จำกัดรูปร่าง แต่เค้าโครงแนวทางการสร้างกำเนิดมาจากผู้สร้างผู้ใด ก็จะคงความเป็นตัวตน มีลักษณะพิเศษเฉพาะตัวที่บ่งบอกว่า ฝืมือใคร ใครสร้าง สร้างจากวัสดุที่มีความเกี่ยวเนื่องกับผู้สร้าง

วัสดุทุกชนิด สามารถนำมาเป็นเครื่องรางของขลังได้ ขอเพียงได้ผ่านการอธิษฐานจิต ลงพระคาถาอาคมพระเวทย์จากผู้สร้างที่เข้มขลังจริง

ดังนั้น การศึกษาเรื่องเครื่องรางของขลัง จึงเป็นเรื่องที่ละเอียดอ่อนมาก แต่เนื่องจากเครื่องรางของขลัง ถือเป็นวัตถุมงคลประเภทหนึ่งที่ได้รับความนิยมศรัทธากันมาก ทั้งมีมูลค่าทางการสะสมสูงในบางพระคณาจารย์ จึงสมควรที่จะกล่าวถึงให้ทราบพอสังเขป

พระเครื่อง คืออะไร? เช่าพระเครื่อง-บูชาพระเครื่อง เป็นเรื่องงมงายหรือไม่?

พระเครื่อง หรือ “พระพิมพ์ “ นั้นจริงๆ แล้วเกิด ขึ้นมา ประมาณ 1000 กว่าปี ร่วม 2000 ปีแล้ว พระเครื่ององค์แรกๆ นั้น จะเป็น “พระกริ่ง” หรือ พระไภสัชยคุรุ หรือ พระพุทธเจ้าหมอ นั้นเองแต่ในประเทศไทยนั้นเริ่มนิยม พระเครื่องกัน ในสมัยรัชกาลที่ 5 โดยมีการนำพระเครื่องมาแขวนคอ หรือห้อยคอ พกติดตัวกันแล้ว ในปัจจุบัน คนไทย นิยมพระเครื่องกันมาก และสร้างพระเครื่องกันมากเช่นกัน สำหรับผม มองว่าพระเครื่อง ไม่ใช่เรื่องงมงาย ไร้สาระ เช่าพระเครื่อง- บูชาพระเครื่อง เพราะอะไรนั้น จะได้กล่าวดังต่อไปนี้


การสร้างและมี(สะสม)พระเครื่อง เพื่อประโยชน์ เพื่อความสุข ดังต่อไปนี้

✹1. สร้างพระเครื่องเพื่อเป็นที่ ระลึก ในกับผู้บริจาคทรัพย์ หรือ สมทบทุนฯ ในโอกาสต่าง เช่น สร้างโบสถ์ สร้างวิหาร สร้างสิ่งก่อสร้างที่เป็น สาธารณูปโภค ต่างๆ ช่วยเหลือผู้ประสพภัยต่างเป็นต้น ทั้งนี้และทั้งนั้น เพื่อให้ผู้บริจาคฯ สามารถจับต้อง และระลึก ถึง ผลบุญ ที่ทำในครั้งนั้นได้

✹2. สร้างพระเครื่องเพื่อให้เป็นขวัญ และกำลังใจ ในการทำงาน ในการประกอบอาชีพที่สุจริต เช่น ตำรวจ ทหาร อาชีพที่ต้องเสี่ยงภัยต่างๆ ไม่เว้น แม้การเสี่ยงขาดทุน จากการลงทุนในธุรกิจต่างๆ **** จาก ทั้ง 2 ข้อ จะเห็นว่า พระเครื่องมีไว้ ยึดเหนี่ยวจิตใจ จริงๆ

✹3. สร้างพระเครื่อง ไว้เพื่อสืบทอด พระพุทธศาสนา การสร้างพระเครื่องในลัษณะนี้ มีมานานมากร่วม 1000 ปี ก่อนหน้านี้แล้ว โดยการสร้างพระเครื่องจำนวนหนึ่ง(ส่วนใหญ่เป็น เลขมงคล) เช่น 84000 องค์ แล้วนำพระเครื่องหรือ พระพิมพ์ นั้นไปบรรจุไว้ ในเจดีย์ หรือ ใต้ฐานพระพุทธรูปบูชาองค์ใหญ่ หรือ ใต้หลังคาอุโบสถ แล้วปล่อยไว้อย่างนั้น เมื่อระยะเวลาผ่านไป นานๆ หลายสิบปี หรือ หลายร้อยปี แล้วเกิดเหตุ ให้เจดีย์แตก (กรุแตก) หรือ มีการเคลื่อนย้ายพระพุทธรูปบูชาองค์ใหญ่ หรือ โบสถ์เก่าชำรุดทรุดโทรมเสียหาย เมื่อมีผู้คนมาพบเจอ พระเครื่อง ที่เก็บไว้นั้น อย่างน้อยๆ ก็ต้องนำไปศึกษา หาที่มาที่ไป และเห็น คุณค่า ว่าเป็นของเก่า ของโบราณ ทำให้ผู้นั้นต้องรู้พระศาสนาต่อไปอีก

จากผล ของทั้ง 3 ข้อ นั้นทำให้ปัจจุบัน มีการ เสาะแสวงหาพระเครื่องเก่า และพระเครื่องที่มีเจตนาการสร้างที่ดี มาครอบครองกัน ทำไม!!! ต้องหามาครอบครองกันด้วย ทั้งๆ ที่พระเครื่องบางองค์ แพงมาก ราคาเช่าหาบูชาระดับ 10 ล้านบาทหรือมากกว่า ในความคิดของผมสาเหตุที่เป็นเช่นนั้นก็เพราะว่า

✹1. พระเกจิอาจารย์ ผู้สร้างพระเครื่องนั้นๆ ท่านเก่ง เป็นพระผู้ปฏิบัติดี ปฏิบัติชอบ ท่านได้มรณะภาพ(เสียชีวิต)ไป กว่า 100-600 ปี แล้ว และพระเครื่องคือส่วนหนึ่งเพื่อให้ ระลึกถึงท่าน

✹2. การสร้างโบสถ์ สร้างวิหาร สร้างสิ่งก่อสร้างที่เป็น สาธารณูปโภค ต่างๆ รวมทั้งช่วยเหลือผู้ประสพภัยต่างๆ นั้น ใช่ว่าจะทำหรือเกิดขึ้นกันได้ บ่อยๆ ครับ โบสถ์ วิหาร และสร้างสิ่งก่อสร้างต่างๆ ในแต่ละวัดแต่ละที่ ใช่ว่าจะพังทรุดโทรมกัน ง่ายๆ อย่างน้อยๆ ก็กินเวลา 80-200 ปี กันเลยที่เดียว

✹3. ถ้ารักชอบ พระเกจิอาจารย์ ท่านใด ก็เก็บของที่ท่านสร้างไว้เป็นที่ระลึก เมื่อท่านมรณะภาพ ไปแล้ว ของที่ระลึกนั้นๆ ก็เป็นตัวแทนท่าน (จะไม่ยอมให้ซื้อ-ขาย หรือเช่าบูชา กันในราคาถูกๆ เป็นแน่ ) หากหายหรือไม่มีแล้ว ก็เหมือนลืมท่าน (เป็นลูกศิษย์ ซะเปล่า! สมบัติชิ้นล็กๆ ที่พระอาจารย์ให้ไว้ยังรักษาไม่ได้ ว่างั้น!!!!)

สรุปก็คือ พระเครื่องมีไว้เพื่อความ ความสบายใจ เพื่อระลึกถึงสิ่งดีๆ ของตนที่ได้กระทำไว้ นั้นเอง ไม่เห็นว่าการ เช่าพระเครื่อง หรือ บูชาพระเครื่อง จะเป็นเรื่องงมงาย หรือ ไร้สาระเลย

ที่มา:http://www.itti-patihan.com

ลำดับการศึกษาพระเครื่องที่ถูกต้อง การสะสมพระเครื่องและแนวทางในการศึกษาพระเครื่อง

ลำดับการศึกษาเรียนรู้เรื่องพระพิมพ์หรือพระเครื่อง ไม่ว่าจะเป็นการศึกษาตามวิธีเก่าแบบพื้นบ้าน ไม่ว่าจะเป็นการศึกษาตามวิธีเก่าแบบพื้นบ้าน หรือการศึกษาแบบผสมผสานในปัจจุบัน ล้วนมีโครงสร้างทางการศึกษาที่เป็นขั้นตอนเดียวกัน

เมื่อท่านได้รับพระมา หรือมีพระในครอบครอง สิ่งแรกที่ต้องการรู้ คือ พระอะไร สร้างจากอะไร ดีอย่างไร และเป็นที่นิยมหรือไม่ คำถามทั้ง 4 ข้อนี้ นับเป็นหลักที่ผู้คนใคร่รู้ก่อนที่จะยอมรับทราบว่าพระองค์นั้น แท้หรือไม่ด้วยซ้ำไป

การศึกษาเรียนรู้เรื่องพระ ก็เกิดจากคำถามทั้ง 4 ข้อดังกล่าว ซึ่งสามารถอธิบายได้ดังนี้
✨1. เพราะอะไร คำว่าพระอะไร ในที่นี้มีความหมายได้ 2 ประการคือ
✸1.1 พระชื่ออะไร สร้างที่วัดไหน กรุใด เป็นต้น ซึ่งเป็นการกล่าวถึงต้นเนิดพระ
✸1.2 ใครเป็นผู้สร้าง การทราบว่าใครสร้าง สามารถบ่งยอกได้ถึงสกุลช่างศิลปะ เช่น ผู้สร้างหากเป็นชั้นราชาคณะ ช่างผู้แกะพิมพ์พระจะเป็นช่างหลวง หากผู้สร้างเป็นพระคณาจารย์โดยทั่วไป ช่างผู้แกะแม่พิมพ์จะเป็นช่างพื้นบ้าน เป็นต้น เหล่านี้ล้วนเป็นข้อมูลนำร่องในการพิจารณาสภาวการณ์หรือสาเหตุของการสร้างได้ ซึ่งสิ่งเหล่านี้ล้วนส่งผลโดยตรงกับเอกลักษณ์เฉพาะตัวขององค์พระได้ประการหนึ่ง

✨2. สร้างจากอะไร การรู้ถึงวัตถุดิบในการสร้างพระ นับเป็นปัจจัยขั้นพื้นฐานต่อการพิจารณามวลสารของพระ ซึ่งสิ่งเหล่านี้จะมีคุณสมบัติทางกายวิภาคทางตรงที่ชัดเจนของพระเมื่อประกอบกับอายุความเก่า ธรรมชาติภายนอก ที่ส่งผลกระทบกับองค์พระ จะหล่อหลอมรวมเป็นปรากฏการณ์ทางวิทยาศาสตร์ที่สามารถอธิบายถึงสาเหตุที่เกิดขึ้น จนกลายมาเป็นองค์พระที่เห็นอยู่ในปัจจุบัน

✨3. ดีอย่างไร ในที่นี้หมายถึง พุทธานุภาพขององค์พระ อันนับเป็นศรัทธาความเชื่อส่วนบุคคล หากแต่เป็นสิ่งที่สามารถชี้นำความสนใจ ไปสู่ความนิยมตลอดจนการค้นคว้าศึกษาต่อไป

✨4. นิยมหรือไม่ ความนิยมเป็นดัชนีที่ชี้ให้เห็นถึงคุณค่าของพระองค์นั้น ๆ ในแง่ของสังคมนับเป็นเรื่องธรรมดาที่คนส่วนใหญ่ต้องการเก็บสะสมสิ่งที่มีคุณค่า ให้กับตนเองและผู้สืบทอด และความนิยมยังเป็นส่วนกระตุ้นการอนุรักษ์พระเครื่องที่ดีประการหนึ่ง เพราะหากขาดความนิยมไปแล้ว พระเครื่องอาจเป็นสิ่งที่ไม่ได้รับความสนใจ ถูกทอดทิ้งละเลยไปอย่างไม่สมคุณค่า ดังนั้น ความนิยมจึงนับเป็นสิ่งจูงใจ ให้เกิดความแพร่หลายในรูปแบบต่าง ๆ ที่ปรากฏอยู่ในพระเครื่องดั่งเช่นปัจจุบัน

นอกจากนี้ อาจจะมีคำถามอีกมากมาย ที่ต้องการคำอธิบายอย่างลึกซึ้งต่อองค์พระที่พบเห็น โดยส่วนมากคำถามที่นอกเหนือจากนี้ จะเกิดแก่ผู้ต้องการศึกษาเรียนรู้อย่างแท้จริงมากกว่าผู้อยากรู้เพียงฉาบฉวย

จากที่กล่าวมาจะเห็นว่า คำถาม คือ สิ่งที่กำหนดการเรียนรู้ ดังนั้นการที่ต้องการความกระจ่างเพื่อตอบคำถามจึงนำมาซึ่ง การค้นคว้าตำราบทเรียน ฯลฯ และลำดับขั้นตอนที่ถูกต้องในการศึกษาจะเอื้อประโยชน์ ต่อการเรียนรู้ ที่มีประสิทธิผลแก่ผู้ศึกษามากที่สุด อันมีลำดับในการศึกษาเรียนรู้ดังต่อไปนี้

🌟 1. การศึกษาประวัติความเป็นมา การที่เรารู้ถึงต้นกำเนิดของพระแต่ละองค์ว่าชื่อพระอะไร สร้างจากที่ใด ใคร สร้าง อายุการสร้างเท่าใด อยู่ในศิลปะยุคใด สกุลช่างอะไร สาเหตุการสร้าง และการเก็บรักษาพระจากอดีตจนถึงปัจจุบัน สิ่งเหล่านี้ล้วนเป็นที่มาของรูปพรรณสัณฐานขององค์พระที่รวมเรียกว่า “พิมพ์ทรง” รวมทั้งกลไกของธรรมชาติ นอกจากนี้ความรู้เรื่องอายุพระ และการเก็บรักษาจะให้คำตอบแก่เราในเรื่องผลกระทบและสภาพพระที่ปรากฏให้เห็น ที่เรียกว่า “ธรรมชาติ” ขององค์พระอีกทั้งการศึกษาประวัติความเป็นมาของพระที่สมบูรณ์นั้น จะต้องทราบว่าพระในตระกูลนี้มีการสร้างด้วยกันทั้งหมดกี่พิมพ์ มีพิมพ์อะไรบ้าง เพื่อเป็นการจัดกลุ่มของพระแต่ละตระกูล มิให้ตกหล่น หลงกระจัดกระจายผิดหมวด ผิดกลุ่มหรือผิดประเภท

ความสำคัญของต้นกำเนิดจึงเป็นพื้นฐานเบื้องต้นมีความสำคัญที่ต้องรู้ และสามารถศึกษาค้นคว้าได้จากตำรา หนังสือต่าง ๆ เพิ่มเติมได้มากมาย

🌟2. การศึกษาโครงสร้างพื้นฐานทางกายวิภาคขององค์พระ หรือการทราบถึงวัตถุดิบในการนำมาสร้างพระ ว่าประกอบด้วยวัสดุหลักอะไร นับเป็นเรื่องจำเป็นขั้นพื้นฐาน ที่ต้องรู้ในศาสตร์แขนงนี้ เพราะวัตถุดิบที่สร้างพระจะเสมือน “รหัสลับ” ขององค์พระ

เอกลักษณ์จากคุณสมบัติของมวลสารที่หลอมรวมเป็นองค์พระก่อให้เกิดโครงสร้างจริงที่สามารถอธิบายได้ในทางวิทยาศาสตร์ ซึ่งเป็นที่เข้าใจตรงกันในระดับสากล การเรียนรู้ว่าพระแต่ละองค์ สร้างจากอะไร มีเนื้อมวลสารแบบไหน จึงเป็นขบวนการศึกษาที่จำเป็นต้องเรียนรู้ สำหรับผู้ที่ต้องการศึกษาศาสตร์แขนงนี้และในเรื่องเหล่านี้ สามารถค้นคว้าเรียนรู้ได้จากตำรา ซึ่งผ่านการค้นคว้าทดลองมาแล้วจะสะดวกดีกว่า ที่จะเรียนรู้ ทดลอง ทดสอบ ทางการปฏิบัติ ด้วยตัวเอง

จากที่กล่าวมา จะทำให้เห็นถึงขบวนการศึกษาเรื่องพระเครื่องที่สามารถเรียนรู้ได้จากตำรา ทั้งยังคงความสำคัญ และให้ความสมบูรณ์ของเนื้อหา ในการช่วยสรุปบทพิสูจน์ด้าน “พิมพ์ทรง” และ “มวลสาร” ขั้นต้นของพระเครื่องได้ แม้จะไม่เคยเห็นพระองค์จริง

เป็นที่ทราบกันดีว่า บทสรุปในการพิจารณาพระแท้นั้นขึ้นอยู่กับปัจจัยหลัก 3 ประการคือ
✸1.พิมพ์ถูกต้อง
✸2. เนื้อมวลสาร มีอายุความเก่า มีธรรมชาติความเก่า มีธรรมชาติของการเก็บรักษา
✸3. ธรรมชาติขององค์พระ ซึ่งพระแต่ละแบบมีธรรมชาติเฉพาะของตนเอง เช่น พระกรุเสน่ห์จันทร์ มีคราบกรุเป็นแป้งบางจับอยู่รอบองค์พระ, เหรียญหลวงปู่ศุข วัดปากคลองมะขามเฒ่า เป็นเหรียญกะไหล่ทองซึ่งก็ไม่มีแบบรมดำ ถ้ามีซึ่งถือว่าผิดธรรมชาติ อาจเลียนแบบ หรือทำในยุคหลัง

ทั้งหมดที่กล่าวมาเป็นที่มาของคำพูดที่ว่า “พิมพ์ใช่ เนื้อใช่ ต้องใช่พระแท้” ดังนั้น บทพิสูจน์ต่อการพิจารณาพระแท้ ที่ผู้สนใจศึกษาสามารถเรียนรู้ได้จากตำราเป็นการนำร่องดังที่กล่าวมา จะเป็นสิ่งที่ช่วยในการเรียนรู้ได้เป็นอย่างดี และสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ในการจัดการเรียนการสอน ที่ปรากฏในเอกสารการศึกษาครั้งนี้

การสะสมพระเครื่อง แนวทางในการศึกษาพระเครื่อง

✦ต้องถามตัวเองก่อนว่าชอบพระเครื่องอะไร เพราะว่าพระเครื่องมีอยู่หลายแบบทั้งเนื้อผง  เนื้อดิน เหรียญ  กริ่ง  รูปหล่อ ฯลฯ รวมทั้งพระกรุ พระเก่า พระเกจิอาจารย์ต่าง ๆ

✦เลือกเก็บสิ่งที่ชอบจะทำให้มีความสุขในการสะสม เลือกเก็บพระที่ดูง่ายเป็นหลัก พระเครื่องอะไรก็ได้ที่ชอบไม่ว่าจะเก่าหรือใหม่ แต่จะต้องเป็นพระแท้ดูง่ายเท่านั้น

✦อย่าโลภ เพราะว่าพระแท้ไม่มีถูก อย่าซื้อพระเครื่องที่ราคาใคร ๆ ก็อยากได้ของดีและถูก ซึ่งในความเป็นจริงอาจจะมีแต่น้อยมาก

✦ถ้ามีกำลังพยายามเก็บพระสวย แต่ถ้าหาไม่ได้พยายามหาพระเครื่องที่สภาพเดิมที่สุดเท่าที่จะทำได้

✦การตรวจเช็คพระต้องเช็คกับคนเป็น อย่าหูเบา การเสนอขายในสนามพระเครื่องเป็นแนวทางการเช็คพระเครื่องที่ดีที่สุด

✦วงการพระเครื่องทุกวันนี้มีมาตรฐานมากขึ้น ทำให้การสะสมง่ายขึ้น ศึกษาคนขายก่อนที่จะทำการเช่าบูชา ให้มีการรับประกันความแท้อย่างชัดเจน พึงระลึกว่าเงินของเราแท้ พระเครื่องที่ได้ก็ต้องแท้ด้วย

✦พระเครื่อง เป็นวัตถุมงคลที่ไว้ยึดเหนี่ยวจิตใจของชาวพุทธ การได้พระเครื่องมาสะสมถือเป็นเรื่องมงคล ถ้าเช่าพระเครื่องแล้วมีปัญหาที่ทำให้ไม่สบายใจ ไม่ว่าจะเรื่องใด ๆ อาทิ เรื่องเงิน , ทะเลาะกับครอบครัว , ไม่สบายใจ ฯลฯ อย่าเช่าโดยเด็ดขาด พึงระลึกเสมอว่าเรากำลังนำสิ่งที่ดีเป็นมงคลเข้าสู่บ้าน

✦เคยมีคนถามผมว่าเก็บพระอะไรดี ราคาจะแพงขึ้นในอนาคต ผมจะตอบทุกท่านว่า ผมเชื่อว่าพระเครื่องทุกชนิดราคาจะขึ้น แต่จะมากหรือน้อยก็แล้วแต่ชนิดของพระ เก็บของที่ชอบและสวย ราคาขึ้นแน่ครับ

✦พระเครื่องถือเป็นทรัพย์สินที่มีสภาพคล่องค่อนข้างสูง การสะสมถือเป็นการลงทุนชนิดนึงครับ 

ที่มา:http://www.itti-patihan.com

มูลเหตุของการสะสมพระ

พระบูชาและพระพิมพ์หรือพระเครื่อง สืบทอดมาให้พบเห็นจนถึงปัจจุบันเกิดจากมูลเหตุสำคัญ 2 ประการ คือ ความศรัทธาและการสะสม
✨1. ความศรัทธา ก่อเกิดแรงจูงใจ มีแรงดลบันดาลใจให้สร้างรูปปฏิมากรรมต่าง ๆ จนกลายมาเป็นโบราณสถาน และโบราณวัตถุในปัจจุบันและศรัทธานั้นเกิดจาก 2 สาเหตุ คือ ความเคารพนับถือยกย่องเชิดชู จึงต้องการสร้างวัตถุที่ทรงคุณค่ามาทำการสักการบูชาจนแสดงออกมาเป็นปฏิมากรรมต่าง ๆ รวมถึงความศรัทธาความเชื่อในกุศลผลบุญที่จะได้รับจากการได้สร้าง ได้ดำรงไว้ และสืบทอดพระศาสนาในรูปแบบของการสร้างพระพุทธปฏิมาเก็บไว้ตามกรุต่าง ๆ ก็เป็นผลมาจากความศรัทธาในพระศาสนาทั้งสิ้น
✨2. การสะสม เจตนารมณ์ที่สำคัญซึ่งบรรดานักสะสมพระพิมพ์หรือพระเครื่องที่เป็นชาวพุทธ หรือนับถือศาสนาอื่น สนใจสะสมพระพิมพ์หรือพระเครื่องไว้ในครอบครองแบ่งเป็น 4 ประเภท ดังนี้คือ
✷2.1 สะสมไว้เพื่อเป็นเครื่องเตือนให้ระลึกถึง “พระธรรม” ของพระพุทธองค์อยู่ตลอดเวลาการที่มีความรู้สึกสัมผัสกับองค์พระพิมพ์เล็ก ๆ จะเป็นด้วยการห้อยอยู่ที่คอ หรืออยู่ในตลับ ในกระเป๋าเสื้อ หรือกลัดติดอยู่กับเสื้อก็ตาม ขณะใดที่เกิดสัมผัส ย่อมก่อเกิดสติในธรรม หรืออาจจะพูดได้ว่าอยู่ใน ศีล – สมาธิ – ปัญญา ให้ประพฤติดีประพฤติชอบ ถือว่าเป็นชาวพุทธที่แท้จริง ที่จะรักษา กาย วาจา ใจ ตามหลักการของชาวพุทธทางฝ่ายหินยานโดยตรง นับว่ามีประโยชน์มากสำหรับสภาพการณ์ปัจจุบันนี้ ที่ประชาชนส่วนใหญ่ไม่อาจหาเวลาและโอกาสจะเข้าวัดเข้าโบสถ์ ไปฟัง “ธรรม” ด้วยตนเองได้เช่นสมัยก่อน จึงถือว่าผู้ที่บูชาและสะสมพระพิมพ์เหล่านี้ เป็นชาวพุทธตามแบบฝ่ายหินยาน
✷2.2 สะสมไว้เพื่อเตือนให้ระลึกถึง “พระเดช” “พระคุณ” ของพระพุทธเจ้าทางฝ่ายมหายาน องค์ใดก็ตามที่ตนนับถือ ตราบใดก็ตามที่ตนนับถือ ตราบใดที่มีความรู้สึกสัมผัสองค์พระพิมพ์ จะเป็นด้วยห้อยอยู่ที่คอ กลัดอยู่กับเสื้อ หรืออยู่ในตลับในกระเป๋าเสื้อ เช่นเดียวกับประเภทที่ 2.1 ก็ตาม ความน้อมรำลึกถึง “พระเดช” “พระคุณ” ของพระพุทธเจ้ามหายาน ที่ตนเชื่อว่าจะช่วยให้เกิด “พลังอำนาจ” ของพระพุทธเจ้าองค์นั้น ๆ ปรากฏเป็นอานุภาพต่าง ๆ ขึ้นได้ แล้วแต่ครูอาจารย์ผู้สร้างปลุกเสกพุทธานุภาพบรรจุลงในพระพิมพ์หรือพระเครื่องนั้น ๆ

ในระยะแรกเริ่มของการสร้างพระพิมพ์นั้น เริ่มสร้างโดยจำลองพระพุทธเจ้าฝ่ายมหายาน มีการสร้างเป็นชุด ๆ ละ 5 พระองค์ ซึ่งประจำทิศสำคัญ ๆ ทั้ง 4 ทิศ รวมทิศเบื้องบนหรือกลางอีกเป็น 5 พระองค์ คือ
✨พระไวโรจนะ ประจำทิศเบื้องบนหรือกลาง ซึ่งเป็นองค์ปฐมและองค์สำคัญที่สุด เป็นองค์กำเนิดของพระพุทธเจ้ามหายานองค์อื่น ๆ และพระโพธิสัตว์ผู้รักษาพระศาสนาขององค์อื่น ๆ ด้วย
 ✨ทิศตะวันออก คือ พระอักโษภยะ
 ✨ทิศตะวันตก คือ พระอมิตาภะ
 ✨ทิศเหนือ คือ พระอโฆษสิทธิ ทิศใต้ คือ พระรัตนสัมภาวะ

ต่อมาจึงแยกออกเป็น 8 พระองค์ 16 พระองค์ 24 พระองค์ ฯลฯ จนระยะหลัง ๆ นี้ ปรากฏว่า มีพระพุทธเจ้ามหายาน พร้อมด้วยพระโพธิสัตว์อีกจำนวนนับไม่ถ้วน

เจตนาในการสะสมพระพิมพ์และมีไว้ประจำตัวของฝ่ายมหายานมีกำเนิดมานานแล้วโดยถือว่า พระพุทธเจ้า มหายานองศ์ที่ตนนับถือมาเป็นสื่อกลางให้ตนได้รับ “พระเดช” “พระคุณ” เพื่อการไปสู่พุทธภูมิได้ สมัยแรกที่เกิดนิกายโพธิสัตว์ขึ้นอย่างจริงจังและแพร่หลายเมื่อประมาณ พ.ศ. 600 จากการที่พระเจ้ากนิษกะ กษัตริย์องค์สำคัญที่สุดแห่งแคว้นคันธาระ ที่ได้ทรงอุปถัมภ์ทำสังคายนา พระศาสนาครั้งที่ 4 ขึ้นที่เมืองเปชวาร์ นิกายมหายานในสมัยนั้นเกิดขึ้นมาก แต่ที่แพร่หลายและนับถือกันมากที่สุดมีเพียง 3 นิกาย คือ นิกายโพธิสัตว์ นิกายสุขาวดี และนิกายตรีกาย นับเป็นนิกายที่เด่นชัดที่สุดในสมัยนั้น

ฝ่ายมหายานถือว่า การบรรลุไปสู่ “พุทธภูมิ” ซึ่งมีพระพุทธเจ้ามหายานองค์สำคัญเป็นประธานอยู่นั้น จะช่วยได้ด้วยอำนาจของ “พระเดช” และ “พระคุณ” ที่จะดลบันดาลให้ผู้เลื่อมใสระลึกถึงธรรม สามารถให้เกิด “พลังอำนาจจิต” ที่พระพุทธเจ้าพระองค์นั้นได้ยอม อุทิศกายอุทิศใจช่วยปัดเป่าทุกข์บำรุงสุขต่อมนุษย์และสรรพสัตว์ เป็นพระโพธิสัตว์ในโลกปัจจุบันได้ ลำพัง “พลังอำนาจจิต” ของตนเองย่อมไม่กล้าแข็งพอจึงต้องพึ่งอำนาจภายนอกคืออำนาจ “พระเดช” “พระคุณ” ของพระพุทธเจ้ามหายานองค์ที่ตนศรัทธาเลื่อมใสเป็นสื่อกลาง นอกเสียจากบุคคลซึ่งได้สร้างสมกุศลกรรม มาในอดีตชาติเท่านั้น จึงจะมีพลังอำนาจจิตกล้าแข็ง พร้อมที่จะช่วยปัดเป่าทุกข์บำรุงสุขแก่สัตว์โลกได้ทุกขณะ เช่น พระพุทธองค์ ดังปรากฏในทศชาติชาดก (ฝ่ายมหายานถือว่าพระสมณโคดม เป็นพระพุทธเจ้ามหายานองค์ที่ 4 ของโลกปัจจุบัน) และโดยความเชื่อของฝ่ายมหายาน เชื่อว่ามนุษย์เราทุกคนสามารถจะเป็นพระโพธิสัตว์ได้ ส่วนจะเป็นขั้นต่ำขั้นสูงก็แล้วแต่การบำเพ็ญโพธิญาณ (พระปัญญาที่ทำให้ตรัสรูเป็นพระพุทธเจ้า) ด้วยเหตุนี้การสะสมพระพิมพ์ของฝ่ายมหายานจังเกิดความคิดและความเชื่อดังที่กล่าวมา

ในระยะต่อมา ราวประมาณ พ.ศ. 1300 เมื่อราชวงศ์ปาละแห่งอินเดียวเหนือมีอำนาจขึ้นในอินเดีย นิกายมหายานสำคัญอีกนิกายหนึ่งที่พัฒนาจากฮินดูตันตระมาเป็นพุทธตันตระ ซึ่งประชาชนนิยมเลื่อมใสมาก มีการใช้เวทมนต์คาถากำกับการปฏิบัติธรรมให้เกิดพลังอำนาจหนักไปทางอาถรรพณ์ เริ่มด้วยอาถรรพ์จากพระเวทย์ทั้ง 4 คือ เมตตามหานิยม แคล้วคลาด ลาภสักการ ปราบศัตรู ทั้งได้มีการศึกษาเล่าเรียนกันในมหาวิทยาลัยสำคัญที่สุดของอินเดียสมัยนั้น คือ มหาวิทยาลัยนาลันทา และมหาวิทยาลัยวิกรมศิลา ตลอดจนมหาวิทยาลัยอื่น ๆ ด้วย ทำให้เห็นว่าเรื่องการศึกษาพระเวทย์วิทยาคมเป็นสิ่งที่มีมาแต่โบราณอย่างเป็นเรื่องเป็นราว

การสร้างพระพิมพ์ นับแต่ประมาณ พ.ศ. 1300 เป็นต้นมา จึงมีพระพิมพ์จำนวนมากที่สร้างด้วยการปลุกเสกบรรจุพลังอำนาจทางอาถรรพณ์จากพระเวทย์ทั้ง 4 ขึ้นมามากมาย รวมทั้งในแถบสุวรรณภูมิด้วย จนกระทั่งทุกวันนี้ก็ยังมีการสร้างพระพิมพ์แบบนี้อยู่อีก ฉะนั้นการสะสมพระพิมพ์หรือการมีพระพิมพ์ไว้ติดตัวในระยะหลัง ๆ ของผู้เลื่อมใสนิกายมหายานนี้ จึงมุ่งไปทางพุทธานุภาพดังกล่าวซึ่งมีกำเนิดสืบสานมานานแล้ว

✸2.3 สะสมไว้เพื่อการศึกษาทางโบราณคดีและสกุลศิลปะ การสะสมพระพิมพ์ของบุคคลกลุ่มนี้ มุ่งสืบสาวเรื่องราวเบื้องหลังของการสร้างพระพิมพ์ ที่ไม่ปรากฏว่ามีการบันทึกการสร้างไว้เป็นลายลักษณ์อักษรให้คนรุ่นหลังได้ทราบความเป็นมาของพระพิมพ์ที่ค้นพบ คนกลุ่มนี้จึงต้องใช้วิชาความรู้จากหลายสาขามาศึกษา – วิจัยค้นคว้าหาเหตุผลเอง โดยใช้หลักวิชาความรู้ที่ตนศึกษามา ใครมีความรู้และประสบการณ์มามากน้อยเพียงใด ก็จะเกิดผลต่อส่วนตัวและส่วนรวม ที่จะทำให้ทราบความจริงเบื้องหลังของพระพิมพ์ได้อย่างถูกต้องตรงตามความเป็นจริงในอดีต ดังที่ปรากฏเป็นหลักฐานเอกสารอธิบายสรุปผลให้ทราบกันในปัจจุบัน

นักสะสมเพื่อการศึกษาทางโบราณคดีและทางสกุลศิลปะนี้มีทั้งนักศึกษา นักวิชาการ ทั้งในและต่างประเทศหลายชาติ ได้ศึกษาค้นคว้าและวิจัยกันเป็นจำนวนมาก แต่ที่ปรากฏแพร่หลายในเชิงวิชาการและมีคุณค่าทางการศึกษา (Educational values) ที่แท้จริงได้แก่ “ตำนานพระพิมพ์” ของศาสตราจารย์ ยอร์ซ เซเดซ์ ซี่งได้เขียนและเรียบเรียงขึ้นไว้เป็นเวลาหลายปีมาแล้ว

ผลของการศึกษาค้นคว้าและวิจัยของนักสะสมพระพิมพ์เพื่อการศึกษาทางโบราณคดี และสกุลศิลปะนี้ ได้ให้ประโยชน์ต่อคุณค่าทางการศึกษา (Educational values) ทางโบราณคดี (Archaeological evidence) ที่ดำเนินการสอดคล้องกับความเป็นจริงได้ตามหลักการของวิทยาศาสตร์

✥จากแหล่ง “ตลาดพระ” ที่สำคัญ ๆ ตามจังหวัดต่าง ๆ ถือว่าเป็นแหล่งสำคัญในการค้นหาหลักฐานทางโบราณคดี ถึงแม้พระพิมพ์บางองค์ ผู้ขายปกปิดไม่ยอมเปิดเผยแหล่งที่ขุดพบมา เนื่องจากเป็นการผิดกฎหมาย แต่อย่างไรก็ตามสำหรับผู้มีความรู้ผู้ศึกษาค้นคว้าประเภทที่กล่าวมานี้ จะสามารถทราบเรื่องราวทางโบราณคดีและประวัติศาสตร์ได้ ทั้งยังสามารถคาดคะเนอายุ (Dating) แม้กระทั่งทราบว่าเป็นสกุลศิลปะใด อาทิเช่น ศิลปะการสร้างแบบอินเดีย (Indian Art School) หรือสกุลศิลปะพื้นเมือง ซึ่งส่งผลให้มีอิทธิพลในรูปแบบการสร้างพระพิมพ์ได้จากการอ่านศิลปะทางประติมากรรมนั้น ๆ และความรู้ที่ได้รับนี้ ย่อมเป็นประโยชน์ต่อการศึกษาส่วนรวมอย่างมหาศาล

✷2.4 สะสมไว้เพื่อการธุรกิจ นักการค้าผู้สะสมแลกเปลี่ยนและซื้อหา เพื่อนำพระพิมพ์มาแลกเปลี่ยนให้เช่าบูชาเป็นธุรกิจ ปัจจุบันนี้แพร่หลายมากในร้านค้าของเก่า และ “ตลาดพระ” ศูนย์พระเครื่องทั่วไปอย่างแพร่หลาย หรือแม้แต่พิพิธภัณฑ์ส่วนบุคคล (Private Collections)

การประกอบธุรกิจพระพิมพ์นี้มีทั้งคุณและโทษ ในแง่ของประโยชนาการให้คุณค่า พระพิมพ์ส่งผลต่อความสนใจทำนุบำรุงรักษาไว้ ทั้งยังช่วยเผยแพร่ให้ประชาชนโดยทั่วไปมีโอกาสจะได้พระพิมพ์ไว้กราบไหว้บูชา (ทั้งฝ่ายพุทธหินยานและมหายาน) ลำพังผู้ที่สนใจต้องการได้พระพิมพ์มาบูชา ไม่สามารถจะหามาได้ด้วยตนเอง จึงต้องเช่าบูชา (ซื้อหา) มาจากผู้ที่สะสมไว้เพื่อธุรกิจ พระพิมพ์ที่มีผู้นิยม ทั้งที่มีศิลปะการสร้างสวยงาม รวมทั้งที่มีอาถรรพณ์จากพระเวทย์วิทยาคาถาจากพระคณาจารย์ผู้เข้มขลังทั้งหลายที่ได้ทำพิธีปลุกเสกไว้แล้วปรากฏผล นับเป็นเรื่องมีมาช้านานและได้รับการเก็บบำรุงรักษาไว้ เพราะเห็นคุณค่าจากกลุ่มผู้สะสมทางธุรกิจนี้ชี้นำ อันเป็นที่มาของการช่วยอนุรักษ์ในรูปแบบหนึ่งโดยมีมูลค่าทางสังคมเป็นปัจจัยกระตุ้น

พระพิมพ์ที่สร้างขึ้นในสมัยที่นิกายมนตรยานแพร่หลายไปทั่วช่วงระยะหลัง ๆ ราวประมาณตั้งแต่ พ.ศ. 1600 เป็นต้นมา ถึงประมาณ พ.ศ. 1800 ซึ่งเป็นระยะที่นิกายมนตรยาน มุ่งในการบรรจุสรรพอาถรรพณ์วิชาทั้งหลายที่ผู้เรืองพระเวทย์วิทยาคมปลุกเสกบรรจุลงในพระพิมพ์ต่าง ๆ เหล่านี้ มีเกิดขึ้นทั่วทุกภาคในดินแดนสุวรรณภูมิ ทั้งยังเป็นที่นิยมในการเก็บสะสมแลกเปลี่ยนกันแพร่หลายนับแต่อดีตเจริญรุ่งเรือง กระทั่งมีการรวมตัวกันเป็นสังคมวงการพระจนถึงปัจจุบัน นับว่าเป็นการดีสำหรับผู้ที่สนใจสะสมพระพิมพ์กลุ่มนี้ไม่ว่าเพื่อบูชาติดตัวหรือเป็นทรัพย์สมบัติอันทรงคุณค่าต่อไป ล้วนเป็นส่วนหนึ่งของการดำรงรักษาไว้ในอีกวิถีทางหนึ่งเช่นกัน

ส่วนการสร้างสรรค์พระพุทธรูปในแถบดินแดนสุวรรณภูมิ เริ่มต้นด้วยคลื่นพุทธศาสนาที่ 2 ประมาณ พ.ศ. 600 เป็นต้นมา ทุกคลื่นที่เกิดการเคลื่อนไหวในนิกายสำคัญของพุทธศาสนามหายานจากอินเดีย ได้ส่งผลต่อการสร้างพระพิมพ์ที่สอดคล้องกับสกุลศิลปะอินเดีย ในแต่ละสกุลศิลปะ จนกระทั่งจบสิ้นสกุลศิลปะอินเดียลงด้วยการสูญเสียอิสรภาพแก่พวกอิสลามที่แคว้นวิชัยนคร เมื่อ พ.ศ. 2108 แล้ว คลื่นพุทธศาสนาจากอินเดียและสกุลศิลปะของอินเดียจึงยุติลงในแถบดินแดนสุวรรณภูมิเฉพาะพื้นที่ในส่วนประเทศไทย ต่อจากนั้นก็เป็นช่วงของพระคณาจารย์โบราณของไทยซึ่งรวมถึงชาติอื่น ๆ อีก ที่ได้หนภัยสงครามมาอยู่ร่วมกันในพื้นที่ภูมิ ประเทศไทยก็ได้ทำการสร้างพระพิมพ์ต่าง ๆ ตกทอดกันมาจนถึงทุกวันนี้

ฉะนั้นการศึกษาเรื่องราวทางโบราณคดี ประวัติเบื้องหลังของพระพิมพ์ สามารถศึกษาหาดูหลักฐานได้จากผู้ที่สะสมไว้ หรือจากการเช่าบูชาโดยทางส่วนตัว อันถือเป็นการรักษาคุณค่าที่สำคัญแก่โบราณวัตถุทางพุทธศาสนา ให้มีผู้หวงแหน สืบทอด ไม่ปล่อยทิ้งละเลย เสื่อมสลาย สูญหายไปกับธรรมชาติ หรือจากความเจริญของบ้านเมืองที่คาดไม่ถึง ดังนั้นการสะสมเพื่อการธุรกิจมีข้อดี คือเป็นวิธีสงวนรักษา และสืบทอดพระพิมพ์หรือพระเครื่องประการหนึ่ง ได้ตกทอดมีมาให้ได้เห็น เรียนรู้และศึกษากันจนถึงทุกวันนี้

✥ส่วนข้อเสียนั้นที่เห็นชัดเจนก็คือการทำลายเจดีย์และพระพุทธรูปขนาดใหญ่ที่บรรจุพระพุทธรูปขนาดใหญ่ที่บรรจุพระพิมพ์ไว้ภายในองค์พระ และในกรุใต้ฐานพระ ตลอดจนเจดีย์ โบสถ์ วิหาร แม้แต่กำแพงแก้วของโบสถ์วิหาร ล้วนแต่ถูกขุดทำลายเพื่อจะได้พระพิมพ์ออกมา ถือว่าเป็นการทำลายหลักฐานประวัติศาสตร์ของคลื่นพุทธศาสนา ทำลาย ปูชนียสถานอันเก่าแก่ ซึ่งเรื่องนี้หากได้รับการควบคุมดูแลที่ดีและถูกต้องตามหลักวิชาการก็จะไม่ก่อเกิดความเสียหาย ดังที่เป็นมาในอดีต

✨ส่วนมูลเหตุปัจจัยของการสร้างพระพิมพ์หรือพระเครื่อง สืบเนื่องมาจาก 3 สาเหตุคือ
✸1. เพื่อการสืบทอดพระพุทธศาสนา ด้วยความศรัทธา ซึ่งจะมีรูปแบบหรือพุทธลักษณะตามพุทธประวัติ
✸2. เพื่ออุทิศส่วนกุศล ด้วยความเชื่อที่ว่ามนุษย์เมื่อตายไป จะต้องเดินทางไปสู่ภพภูมิอื่นที่มิเหมือนกับที่ซึ่งเคยอยู่มา การมีพระติดตัวไปย่อมนำมาซึ่งความเป็นสิริมงคล ทั้งช่วยปกป้องคุ้มครองภยันตรายต่าง ๆ ดังนั้นจงมักปรากฏพบโครงกระดูกอยู่รวมกับพระตามกรุต่าง ๆ และด้วยความเชื่อนี้เองที่นำมาซึ่งประเพณีที่ให้พระภิกษุเดินนำหน้าผู้ตาย เวลาต้องการเคลื่อนย้าย
✸3. เพื่ออาราธนาคุณพระพุทธานุภาพให้บังเกิดผลกับตัว หรือที่เรียกกันให้เข้าใจง่าย ๆ ว่า “สร้างเพื่อไว้ใช้” การสร้างพระตามคตินี้จะมีการปลุกเสก ลงพระเวทย์วิทยาคม ให้บรรจุลงในพระพิมพ์หรือพระเครื่อง นับเป็นเรื่องที่มีมาแต่โบราณ ดั่งเช่นจารึกซึ่งปรากฏอยู่ในแผ่นลานเงินลานทอง ที่พบในกรุวัดพระศรีรัตนมหาธาตุ จังหวัดสุพรรณบุรี ได้บอกถึงกรรมวิธีการสร้างพระและอานุภาพของพระพิมพ์หรือพระเครื่องนั้นเอาไว้อย่างชัดเจน เป็นต้น พระพิมพ์หรือพระเครื่องที่สร้างขึ้นตามวัตถุประสงค์ที่กล่าวมานี้ ได้แก่ พระขุนแผนเคลือบ พระสมเด็จวัดระฆัง ฯลฯ

การสร้างพระโดยมากจะมีเป้าหมายของจำนวนการสร้างที่ 84,000 องค์ เท่าพระธรรมขันธ์ หากแต่ละสร้างได้ครบหรือไม่นั้น เป็นเรื่องที่มิอาจกำหนดได้

ในปัจจุบันได้มีมูลเหตุของการสร้างพระขึ้นมาอีกในรูปแบบเพื่อหารายได้จากการบูชาไปก่อเกิดสาธารณประโยชน์มากมายทั้งในพระศาสนาและกิจกรรมต่าง ๆ ของสังคม โดยรวมเอามูลเหตุของการสร้างกุสล การสืบพระศาสนา และทำการปลุกเสกบรรจุพระพุทธนุภาพเพื่อไว้ใช้ติดตัว ซึ่งมูลเหตุการสร้างนี้กำลังได้รับความนิยมและแผ่ขยายเป็นอย่างยิ่งในปัจจุบัน

ที่มา:http://www.itti-patihan.com